กรุงเทพฯ--4 ก.ย.--แมนูไลฟ์
ความเชื่อมั่นนักลงทุนในจีนร่วงต่ำสุด ตกแรงสุดในกลุ่มตราสารทุนและอสังหาริมทรัพย์
นักลงทุนเห็นต่างเศรษฐกิจญี่ปุ่น มองเอเชียอาคเนย์แง่บวก มองจีน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวันแง่ลบ
ความเชื่อมั่นสูงขึ้นในสิงคโปร์และอินโดนีเซียช่วยรั้งดัชนีเอเชียโดยรวมให้คงที่
ทิศทางหุ้นไทยยังคงเป็นบวก
ผลวิจัยใหม่จากแมนูไลฟ์เผยว่า ความเชื่อมั่นนักลงทุนในจีนร่วงลงในไตรมาสที่ 2 ของปี 2557 สู่ระดับต่ำสุดตั้งแต่ต้นปี 2556 ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจและผลตอบแทนจากการลงทุนที่ตกต่ำ
ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนแมนูไลฟ์* สำหรับตลาดจีนตกลง 12 จุดระหว่างไตรมาสจาก 23 จุดมาอยู่ที่ 11 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดสำหรับจีนแผ่นดินใหญ่นับแต่เริ่มจัดทำดัชนีเมื่อต้นปี 2556 แต่ตัวเลขที่ร่วงลงแรงในจีนถูกทดแทนโดยความเชื่อมั่นที่สูงขึ้นในตลาดอื่น ๆ ในภูมิภาค ทำให้ดัชนีภูมิภาคเอเชียโดยรวมอยู่ที่ 24 จุด เหนือดัชนีสหรัฐ 1 จุด โดยดัชนีสหรัฐไม่ขยับจากไตรมาสที่แล้ว [1]
ความเชื่อมั่นนักลงทุนในจีนตกทุกด้าน ความเชื่อมั่นในสินทรัพย์ทั้ง 6 ประเภทที่ใช้คำนวณดัชนีตกต่ำอย่างมาก โดยลดลงมากที่สุดในกลุ่มหุ้น (ตกลง 19 จุดมาอยู่ที่ –40 จุด) และกองทุนรวม (ตกลง 22 จุดมาอยู่ที่ 15 จุด) ความเชื่อมั่นในอสังหาริมทรัพย์ยังลดลงต่อไป (ตกลง 5 จุดมาอยู่ที่ –8 จุด) ส่วนความเชื่อมั่นในบ้านพักอาศัยนักลงทุนเอง แม้ยังอยู่ในแดนบวกเล็กน้อย แต่ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดเช่นกัน มาอยู่ที่ 8 จุด (ตกลง 6 จุด)
ตัวเลขข้างต้นนั้นแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับความเชื่อมั่นนักลงทุนในเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกอย่างสหรัฐ ซึ่งตัวเลขความเชื่อมั่นสูงขึ้นมากในกลุ่มกองทุนรวม (49 จุด) หุ้น (46 จุด) และอสังหาริมทรัพย์ (บ้านตนเอง 58จุด และอสังหาริมทรัพย์ลงทุน 49 จุด) แต่เนื่องจากความเชื่อมั่นต่ำมากในกลุ่มเงินสด (-52 จุด) และตราสารหนี้ (-15 จุด) จึงส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนอเมริกัน (23 จุด) ใกล้เคียงกับดัชนีเอเชีย
“การสำรวจครั้งนี้ทำขึ้นภายหลังจากเกิดภาวะใกล้ผิดนัดชำระหนี้หลายครั้งในจีน ซึ่งทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับโอกาสที่อาจเกิดวิกฤตสินเชื่อในภาคธนาคาร (“shadow banking”) เราเชื่อว่า ปัจจัยนี้ ประกอบกับการลดค่าลงของสกุลเงินหยวนในช่วง 5 เดือนแรกของปี การชะลอตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ และดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจที่น่าเป็นห่วง รวมทั้งตัวเลข PMI ภาคการผลิตที่อ่อนแอมา 5 เดือน[2] ยังส่งผลให้ความเชื่อมั่นลดลงในกลุ่มนักลงทุนในจีน” นายเอนเดร พีเดอร์เซน กรรมการผู้จัดการอาวุโสฝ่ายตราสารหนี้ Manulife Asset Management กล่าว
ความเชื่อมั่นนักลงทุนในภูมิภาคเกี่ยวกับแนวโน้มเติบโตจีนยังสูงมาก
ขณะที่ความเชื่อมั่นนักลงทุนจีนในตลาดจีนเองลดลง แต่ความกังวลดังกล่าวกลับไม่ปรากฏในกลุ่มนักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาดอื่น ในกลุ่มนักลงทุนบุคคลธรรมดาตลาดจีนเป็นตลาดที่โดดเด่นที่สุดสำหรับนักลงทุน โดยนักลงทุนทั้งในอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ และมาเลเซียต่างให้คะแนนจีนสูงในแง่การเป็นตลาดที่น่าลงทุน โดยใน 4 ประเทศหลังนั้นต่างให้คะแนนตลาดจีนสูงกว่าตลาดสหรัฐ จะมีเพียงแต่นักลงทุนญี่ปุ่นเท่านั้นที่ให้คะแนนจีนในฐานะสถานที่น่าลงทุนติดลบ
นักลงทุนเกือบ2 ใน 3 ในเอเชีย (คิดเป็นร้อยละ 37) คาดว่าจีนจะก้าวเป็นหนึ่งในสองเศรษฐกิจโตเร็วที่สุดในช่วง 2 ปีต่อจากนี้ ซึ่งสูงกว่าตลาดในลำดับถัดมาที่นักลงทุนเลือกอย่างมาก โดยญี่ปุ่นมีตัวเลขอยู่ที่ร้อยละ 16 ตามด้วยสิงคโปร์ และอินเดีย (ร้อยละ 15) และเกาหลีใต้ (ร้อยละ 9) ทั้งนี้ แม้ในตลาดจีนเอง ทั้งที่ความเชื่อมั่นนักลงทุนลดลง แต่นักลงทุนจีนกลับเป็นกลุ่มนักลงทุนซึ่งมองในแง่บวกที่สุดเกี่ยวกับโอกาสเติบโตของจีนในช่วงสองปีต่อจากนี้
“ขณะที่ตัวเลข GDP จีนยังต่ำกว่าเป้าทั้งปีของรัฐบาลที่ร้อยละ 7.5 เล็กน้อย เราเห็นตรงกับความเชื่อมั่นนักลงทุนทั่วไปว่า จีนจะยังคงเป็นเศรษฐกิจโตเร็วที่สุดเศรษฐกิจหนึ่งในภูมิภาคไปอีกหลายปี” นายพีเดอร์เซนกล่าว “การเติบโต GDP ที่สูงเกินคาดในไตรมาส 2 ปี 2557 เนื่องจากมาตรการกระตุ้นต่าง ๆ รวมทั้งมาตรการผ่อนคลายนโยบายการเงินที่ตั้งเป้าหมายไว้ ยังคงส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ เมื่อพิจารณาปัจจัยรอบด้านแล้ว เราคาดว่าการเติบโต GDP จีนทั้งปีจะใกล้เคียงกับเป้าทางการของรัฐบาลที่ร้อยละ 7.5”
“โดยที่จีนหันมาส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศให้เป็นรากฐานการเติบโตทางเศรษฐกิจที่พึ่งพาตัวเองมากขึ้น การปฏิรูปในด้านต่าง ๆ น่าจะส่งผลทางลบในระยะสั้นต่อเศรษฐกิจระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม พึงสังเกตว่าผลกระทบนั้นในบริบทตลาดจีนแล้ว น่าจะยังหมายถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดดต่อไปเมื่อเทียบกับตลาดพัฒนาแล้ว ขณะเดียวกัน การที่จีนมาในทิศทางนี้คาดว่าตลาดภูมิภาคโดยรวมอาจได้รับอานิสงส์ เนื่องจากอุปสงค์สินค้าอุตสาหกรรมมูลค่าเพิ่มต่ำแต่ใช้เงินทุนสูงจะไหลสู่ตลาดเพื่อนบ้านซึ่งได้เปรียบเรื่องการประหยัดต้นทุน”
ความเชื่อมั่นนักลงทุนเกี่ยวกับตลาดญี่ปุ่นไม่ตรงกัน
เมื่อเทียบกับทัศนะเกี่ยวกับตลาดจีนที่โดยทั่วไปจะเป็นเชิงบวกแล้ว นักลงทุนทั่วเอเชียกลับเห็นต่างกันเกี่ยวกับตลาดญี่ปุ่น โดยนักลงทุนในฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และมาเลเซียให้คะแนนญี่ปุ่นเทียบเท่าหรือสูงกว่าในแง่สถานที่น่าลงทุน ในขณะที่นักลงทุนในจีน ฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวันให้คะแนนโอกาสลงทุนในญี่ปุ่นติดลบ นอกจากนี้ ทัศนะนักลงทุนเกี่ยวกับโอกาสเติบโตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นก็เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ขณะที่นักลงทุนในตลาดเกิดใหม่ในเอเชียอาคเนย์สามตลาดระบุคาดว่าญี่ปุ่นจะเป็นเศรษฐกิจโตเร็วที่สุดอันดับ 2 เป็นอย่างน้อยในช่วง 2 ปีต่อจากนี้ แต่นักลงทุนในจีน ฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวันกลับมองแง่ดีน้อยกว่ามาก โดยให้คะแนนอินเดีย เกาหลีใต้ หรือสิงคโปร์สูงกว่าญี่ปุ่น
“ท่าทีระมัดระวังในส่วนตลาดญี่ปุ่นเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ นักลงทุนบางรายอาจตีความสภาพตลาดหุ้นที่ค่อนข้างเฟื่องฟูในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมานี้ว่าเป็นสิ่งที่พิสูจน์ให้เห็นความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ” นายพีเดอร์เซนอธิบาย “แม้เราจะยอมรับว่า โอกาสเติบโตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นจะดีขึ้นนับแต่เปิดตัวชุดนโยบายอาเบะโนมิกส์ ซึ่งได้แก่โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลนายชินโซะ อาเบะ นายกรัฐมนตรี แต่จากข้อมูลเศรษฐกิจเมื่อเร็ว ๆ นี้กลับสร้างข้อสงสัยเกี่ยวกับความยั่งยืนของผลจากชุดนโยบายดังกล่าว เราจึงเชื่อว่ายังเร็วไปที่จะคาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะเติบโตอย่างรวดเร็วต่อเนื่องในอนาคตอันใกล้”
ความเชื่อมั่นสูงขึ้นในสิงคโปร์และอินโดนีเซียช่วยรั้งดัชนีเอเชียโดยรวมให้คงที่
ความเชื่อมั่นทั้งภูมิภาคโดยรวมคงที่ โดยมีปัจจัยหลักจากการถีบตัวสูงขึ้นอย่างมากในส่วนอื่น ๆ ของภูมิภาค โดยเฉพาะอินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ทั้งนี้ ในอินโดนีเซีย ความเชื่อมั่นพุ่งขึ้น 9 จุดมาอยู่ที่ระดับสูงสุดอันดับสองของตลาดดังกล่าวนับแต่เริ่มจัดทำชุดโครงการสำรวจ โดยเฉพาะความเชื่อมั่นในตราสารหนี้ (เพิ่มขึ้น 19 จุดมาอยู่ที่ 56) และตราสารทุน (เพิ่มขึ้น 13 จุดมาอยู่ที่ 21) ซึ่งสูงขึ้นมาก และในสิงคโปร์ ความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น 5 จุดมาอยู่ที่ 15 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับแต่เริ่มโครงการสำรวจ โดยได้รับแรงผลักดันจากความเชื่อมั่นที่กลับมาในส่วนการลงทุนทั้งในบ้านหลังหลักของนักลงทุนเอง (เพิ่มขึ้น 10 จุดมาอยู่ที่ 23) และอสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ (เพิ่มขึ้น 3 จุดมาอยู่ที่เราเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดไปแล้ว
ในขณะเดียวกัน นางสาวจินตนา เมฆินทรางกูร ผู้อำนวยการฝ่ายตราสารทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด ประเมินทิศทางหุ้นไทยเป็นบวก “เราเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดไปแล้ว พัฒนาการที่ดีขึ้นในส่วนของความเชื่อมั่นในผู้บริโภคและภาคธุรกิจจะผลักดันการบริโภคและการลงทุนให้เพิ่มขึ้นจากรากฐานที่ต่ำ เราคาดว่าหลังจากการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เรียบร้อยแล้ว รัฐบาลจะเดินหน้าโครงการโครงสร้างพื้นฐานตามแผน และจะเป็นแรงสำคัญที่ผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจโดยรวมและกำไรของบริษัทในภาคธุรกิจในระยะยาว” นาวสาวจินตนา กล่าว
[1] ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนจอห์น แฮนค็อก เดือนมิถุนายน 2557
[2] ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (Manufacturing Purchasing Managers’ Index: PMI) ร่วงลงต่ำกว่า 50 จุดในเดือนมกราคม ถึงจุดต่ำสุดในเดือนมีนาคม ก่อนฟื้นตัวมาอยู่ที่ 50.7 จุดในเดือนมิถุนายน (ตัวเลขเกิน 50 หมายถึงขยายตัว) แหล่งข้อมูล: HSBC Emerging Markets PMI, 1 กรกฎาคม 2557