“การยกเลิกการประกาศใช้กฎอัยการศึก”

ข่าวทั่วไป Monday September 8, 2014 09:59 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--8 ก.ย.--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “การยกเลิกการประกาศใช้กฎอัยการศึก” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 3 – 5 กันยายน 2557 จากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการได้รับผลกระทบและการยกเลิกการประกาศใช้กฎอัยการศึกของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยความน่าจะเป็นแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งภูมิภาคออกเป็น 5 ภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภาคสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4 จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการได้รับความเดือดร้อนในการดำเนินชีวิตประจำวันจากการประกาศใช้กฎอัยการศึกของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ พบว่า ประชาชน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 87.68 ระบุว่า ไม่ได้รับความเดือดร้อน เพราะ ยังใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ รู้สึกว่าใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างสบายใจและมีความปลอดภัยมากขึ้น เพราะมีทหารเข้ามาดูแล และ ตัวประชาชนเองมิได้กระทำการใด ๆ ที่ขัดต่อกฎอัยการศึกอยู่แล้ว ขณะที่ ร้อยละ 11.84 ระบุว่า ได้รับความเดือดร้อน เพราะ ส่งผลกระทบต่อการเดินทางในช่วงกลางคืน การติดต่อ เจรจาประสานงาน การเข้าถึงสื่อข้อมูลข่าวสาร ขาดอิสระในการแสดงออกความเห็นต่างทางการเมือง เศรษฐกิจแย่ลง ผู้ประกอบการบางรายสูญเสียรายได้ลดลง จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง และ ร้อยละ 0.48 ไม่ระบุ/ไม่แสดงความคิดเห็น ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อข้อเสนอของตัวแทนภาคธุรกิจเอกชน ที่ต้องการให้ คสช. ยกเลิกการประกาศใช้ กฎอัยการศึก พบว่า ประชาชน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 43.28 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ เป็นการสร้างภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นของประเทศต่อ นักลงทุน และเป็นการกระตุ้นให้เศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ดีขึ้น และการใช้ชีวิตประจำวัน การเดินทาง การทำงาน กลับมาเหมือนเดิม อีกทั้งสถานการณ์โดยรวมถือว่าดีขึ้นมากแล้ว รองลงมา ร้อยละ 40.64 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะการประกาศใช้กฎอัยการศึก ทำให้รู้สึกสบายใจ และต้องการเห็นความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองเช่นนี้ต่อไปอีกสักระยะ จนกว่าจะมั่นใจได้ว่าจะไม่มีความขัดแย้งหรือเห็นการเปลี่ยนแปลงประเทศไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งการเดินทางมีความคล่องตัวมากขึ้น ไม่มีกลุ่มผู้ชุมนุมหรือประท้วงใด ๆ และในขณะนี้ถึงแม้ว่าภายนอกสถานการณ์จะดูสงบดี แต่อาจมีคลื่นใต้น้ำที่รอจังหวะเพื่อสร้างสถานการณ์ความวุ่นวายอีกครั้ง ร้อยละ 11.44 ระบุว่า ไม่แน่ใจ เพราะยังมีบางพื้นที่ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย หากจะยกเลิกควรมีการพิจารณาเป็นรายจังหวัดหรือรายพื้นที่ และ ร้อยละ 4.64 ไม่ระบุ/เฉย ๆ เพราะไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด จะยกเลิกหรือไม่อย่างไรก็ได้ ขึ้นอยู่กับ คสช. เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 20.00 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ร้อยละ 20.16 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 18.24 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 21.68 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ร้อยละ 19.92 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ร้อยละ 54.08 เป็นเพศชาย และ ร้อยละ 45.76 เป็นเพศหญิง และ ร้อยละ 0.16 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่างร้อยละ 7.49 มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ร้อยละ 30.22 มีอายุ 25 – 39 ปี ร้อยละ 51.09 มีอายุ 40 – 59 ปี และ ร้อยละ 11.20 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 94.44 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 4.60 นับถือศาสนาอิสลาม และ ร้อยละ 0.97 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ ตัวอย่างร้อยละ 25.10 สถานภาพโสด ร้อยละ 72.24 สถานภาพสมรสแล้ว และร้อยละ 2.66 สถานภาพหม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 26.46 ระบุว่าจบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 28.96 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 9.55 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 29.61 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 5.42 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตัวอย่าง ร้อยละ 16.36 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 15.14 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 25.75 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 14.82 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 12.87 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 11.01 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และ ร้อยละ 4.05 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ตัวอย่าง ร้อยละ 12.64 ระบุว่าไม่มีรายได้ ร้อยละ 23.84 มีรายได้ต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 28.00 มีรายได้ต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 11.52 มีรายได้ต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 7.04 มีรายได้ต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 8.48 มีรายได้ต่อเดือน มากกว่า 40,001 บาท ขึ้นไป และร้อยละ 8.48 ไม่ระบุ 1.ท่านคิดว่า กฎอัยการศึกที่ คสช. ประกาศใช้อยู่ในขณะนี้ทำให้ท่านเดือดร้อนในการดำเนินชีวิตประจำวันหรือไม่ ความคิดเห็นของประชาชนต่อการได้รับความเดือดร้อนในการดำเนินชีวิตประจำวัน ร้อยละ จากการประกาศใช้กฎอัยการศึกของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ไม่ได้รับความเดือดร้อนเพราะ ยังใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ รู้สึกว่าใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างสบายใจ และมีความปลอดภัย 87.68 มากขึ้น เพราะมีทหารเข้ามาดูแลและตัวประชาชนเองมิได้กระทำการใด ๆ ที่ขัดต่อกฎอัยการศึกอยู่แล้ว ได้รับความเดือดร้อนเพราะ ส่งผลกระทบต่อการเดินทางในช่วงกลางคืน การติดต่อ เจรจาประสานงาน การเข้าถึง 11.84 ข้อมูลข่าวสาร ขาดอิสระในการแสดงออกความเห็นต่างทางการเมือง เศรษฐกิจแย่ลง ผู้ประกอบการบางรายสูญเสียรายได้ลดลง จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง ไม่ระบุ/ไม่แสดงความคิดเห็น 0.48 รวม 100.00 2.ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับข้อเสนอของตัวแทนภาคธุรกิจเอกชนที่ต้องการให้ คสช. ยกเลิกการประกาศใช้กฎอัยการศึก ความคิดเห็นของประชาชนต่อข้อเสนอของตัวแทนภาคธุรกิจเอกชน ร้อยละ ที่ต้องการให้ คสช. ยกเลิกการประกาศใช้กฎอัยการศึก เห็นด้วย เพราะ เป็นการสร้างภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นของประเทศ ต่อผู้ลงทุน และเป็นการกระตุ้น เศรษฐกิจ 43.28 ในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ให้กลับมาดีขึ้น และการใช้ชีวิตประจำวัน การเดินทาง การทำงาน กลับมา เหมือนเดิม อีกทั้งสถานการณ์โดยรวมถือว่าดีขึ้นมากแล้ว ไม่เห็นด้วย เพราะการประกาศใช้กฎอัยการศึกทำให้รู้สึกสบายใจ และต้องการเห็นความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองเช่นนี้ 40.64 ต่อไปอีกสักระยะ จนกว่าจะมั่นใจได้ว่าจะไม่มีความขัดแย้งหรือเห็นการเปลี่ยนแปลงประเทศไปในทิศทางที่ดี ขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมอีกทั้งการเดินทางมีความคล่องตัวมากขึ้น ไม่มีกลุ่มผู้ชุมนุมหรือประท้วงใดๆ และในขณะนี้ ถึงแม้ว่าภายนอกสถานการณ์จะดูสงบดี แต่อาจมีคลื่นใต้น้ำที่รอจังหวะเพื่อสร้างสถานการณ์ความวุ่นวายอีกครั้ง ไม่แน่ใจ เพราะ ยังมีบางพื้นที่ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย หากจะยกเลิกควรมีการพิจารณาเป็นรายจังหวัดหรือรายพื้นที่ 11.44 ไม่ระบุ/เฉย ๆ เพราะ ไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด จะยกเลิกหรือไม่อย่างไรก็ได้ ขึ้นอยู่กับ คสช. 4.64 รวม 100.00 ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง 1. ตารางที่ 1 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามภูมิภาค ภูมิภาค จำนวน ร้อยละ กรุงเทพฯ และปริมณฑล 250 20.00 ภาคกลาง 252 20.16 ภาคเหนือ 228 18.24 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 271 21.68 ภาคใต้ 249 19.92 รวม 1250 100.00 2. ตารางที่ 2 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามเพศ เพศ จำนวน ร้อยละ ชาย 676 54.08 หญิง 572 45.76 เพศทางเลือก 2 0.16 รวม 1250 100.00 3. ตารางที่ 3 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอายุ อายุ จำนวน ร้อยละ ต่ำกว่า 25 ปี 93 7.49 25– 39 ปี 375 30.22 40 – 59 ปี 634 51.09 60 ปีขึ้นไป 139 11.20 รวม 1241 100.0 4. ตารางที่ 4 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามศาสนา ศาสนา จำนวน ร้อยละ พุทธ 1171 94.44 อิสลาม 57 4.60 คริสต์ และอื่น ๆ 12 0.97 รวม 1240 100.0 5. ตารางที่ 5 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามสถานภาพการสมรส สถานภาพการสมรส จำนวน ร้อยละ โสด 311 25.10 สมรส 895 72.24 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ 33 2.66 รวม 1239 100.0 ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง (ต่อ) 6. ตารางที่ 6 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามระดับการศึกษา ระดับการศึกษา จำนวน ร้อยละ ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 327 26.46 มัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า 358 28.96 อนุปริญญาหรือเทียบเท่า 118 9.55 ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 366 29.61 สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 67 5.42 รวม 1236 100.0 7. ตารางที่ 7 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอาชีพหลัก อาชีพหลัก จำนวน ร้อยละ ข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 202 16.36 พนักงานเอกชน 187 15.14 เจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ 318 25.75 เกษตรกร/ประมง 183 14.82 รับจ้างทั่วไป 159 12.87 พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน 136 11.01 นักเรียน/นักศึกษา 50 4.05 รวม 1235 100.0 8. ตารางที่ 8 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามรายได้เฉลี่ยต่อเดือน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน จำนวน ร้อยละ ไม่มีรายได้ 158 12.64 ไม่เกิน10,000 298 23.84 10,001 – 20,000 350 28.00 20,001 – 30,000 144 11.52 30,001 – 40,000 88 7.04 มากกว่า 40,001 ขึ้นไป 106 8.48 ไม่ระบุ 106 8.48 รวม 1250 100.00
แท็ก อัยการ   นิด้า  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ