กรุงเทพฯ--11 ก.ย.--เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ร่วมกับ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน เร่งแก้ปัญหาต้นทางการเกษตรกรรม รุกเปิดตัวกังหันลมพร้อมระหัดวิดน้ำ ยุค AEC โดยใช้พลังงานลมที่มีประสิทธิภาพในการจัดการน้ำดีกว่าแบบที่ใช้ปัจจุบันกว่า 2 เท่า ในราคาเพียงครึ่งหนึ่งจากราคาเครื่องที่เกษตรกรใช้ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ของระหัดวิดน้ำที่เกษตรกรใช้ในปัจจุบัน ระหัดวิดน้ำใช้เพื่อการบริหารจัดการน้ำจากแม่น้ำผันเข้าสู่การทำการเกษตร การเพาะปลูกในหลากหลายประเภท อาทิ การทำนาข้าว การทำสวน การทำนาเกลือ ฯลฯ ซึ่งระหัดวิดน้ำที่ใช้โดยแพร่หลายในปัจจุบันต้องใช้พลังงานจากน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งประสบปัญหาการสูญหาย ค่าใช้การบำรุงรักษา ค่าใช้จ่ายด้านราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น ซึ่งนวัตกรรมดังกล่าวจะสามารถขจัดปัญหา ทั้งนี้ นวัตกรรมดังกล่าวมีแนวคิดในการผนวกองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาของเกษตรกรในด้านต่างๆ โดยการดำเนินงานดังกล่าวล้วนสอดคล้องกับแนวคิด“รากฐานนวัตกรรมสร้างชาติ” ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบังที่การเป็นสถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศไทยเพื่อประชาชนชาวไทยในทุกระดับ
สำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไปที่สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ หมายเลขโทรศัพท์ 077-506-410
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปัญญา แดงวิไลลักษณ์ ประธานสาขาวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ กล่าวว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวเป็นอันดับห้าของโลกเป็นรองประเทศอินเดีย สาธารณรัฐประชาชนจีน อินโดนีเซีย และ บังกลาเทศ มีพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 67 ล้านไร่ต่อปี ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ชลประทานประมาณ 15 ล้านไร่ต่อปี มีอัตราการใช้น้ำประมาณ 1,000 ลบ.ม.ต่อไร่ โดยระบบคลองชลประทานมี 2 รูปแบบคือคลองลอย สามารถปล่อยน้ำไหลเข้าคลองได้เลย และคลองจม จะต้องใช้ระบบสูบน้ำ โดยปัจจุบันจะใช้ระหัดวิดน้ำประเภทท่อสูบน้ำ หรือที่เรียกทั่วไปว่าท่อพญานาค โดยใช้เครื่องยนต์ดีเชลหรือเครื่องยนต์เบนซิน ซึ่งเกษตรกรประสบปัญหาด้านต้นทุนของท่อพญานาค อันประกอบไปด้วยเครื่องยนต์กลไกที่มีราคาสูงกว่าตัวละ 150,000 บาท รวมถึงค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมันในใช้งานตลอดจนที่ผ่านมามีปัญหาการขโมยเครื่องยนต์ดังกล่าว ซึ่งสิ่งเหล่านั้นล้วนส่งผลให้เกษตรกรมีต้นทุนในการประกอบเกษตรกรรมสูง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปัญญา กล่าวต่อว่า พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จึงได้ร่วมกับ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน พัฒนาระหัดวิดน้ำชนิดใหม่ โดยการศึกษา ปรับปรุง รูปแบบ และ วัสดุให้เหมาะสมกับการใช้งานในสภาพปัจจุบัน โดยมีการดำเนินงานรวบรวมข้อมูลทางเทคนิคของระหัดวิดน้ำ ที่มีการใช้งานในสภาพปัจจุบัน ตลอดจนกำหนดแนวทางการปรับปรุง รูปแบบ และ วัสดุให้เหมาะสมกับการใช้งานในสภาพปัจจุบัน รวมถึงแนวทางการส่งเสริม การสนับสนุน และการสร้างเพิ่มกลยุทธ์ เพื่อให้มีการใช้งานระหัดวิดน้ำด้วยพลังงานลมชนิดใหม่อย่างแพร่หลาย โดยสถาบัน มุ่งหวังให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนการสูบน้ำเข้านาจากเครื่องสูบน้ำประเภทท่อสูบ
น้ำ หรือที่เรียกทั่วไปว่าท่อพญานาค ซึ่งมีการใช้กันในชายทะเล นาเกลือ นาข้าว ฯลฯ ในหลายจังหวัดมาใช้ระหัดวิดน้ำชนิดใหม่ จะทำให้เกษตรสามารถลดต้นทุนในการเพาะปลูก 3- 5 % จากค่าใช้จ่ายด้านพลังงานแต่การบำรุงรักษา ตลอดจนเป็นการรองรับแนวโน้มค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงที่จะมีราคาสูงขึ้นอีกในอนาคต
สำหรับ ลักษณะการทำงานของนวัตกรรมระหัดวิดน้ำชนิดใหม่นี้ มีรายละเอียดโดยกังหันลมทำหน้าที่ในการรับพลังงานลมและแปลงเป็นพลังงานกลในรูปของแรงบิดจากการหมุนของเพลากังหัน แรงบิดจากการหมุนจะถูกส่งผ่านล้อส่งกำลัง และส่งผ่านโซ่หรือสายพานส่งกำลังเพื่อไปขับวงล้อของใบระหัด ทำให้ใบระหัดเกิดการเคลื่อนที่ไปตามรางและกวาดน้ำลำเลียงไปตามรางเพื่อส่งต่อไปยังพื้นที่ที่ต้องการ โดยความพิเศษนั้นใช้ตลับลูกปืนมาเป็นตัวเชื่อมเพื่อถ่ายทอดแรงที่เกิดขึ้นจากเพลาลงไปสู่ชิ้นส่วนอื่นๆ และลดแรงเสียดทานระหว่างผิวสัมผัส ทำให้ช่วยเพิ่มสมรรถนะการทำงานของชิ้นส่วนที่มีการเคลื่อนที่ ลดการสึกหรอ ตลับลูกปืนมักจะผลิตโดยใช้วัสดุที่มีคุณภาพสูง เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทำงานและประโยชน์สูงสุด สามารถใช้งานได้ยืดยาวนาน ทนทานต่อความร้อนและแรงเสียดทานได้ดี ไม่แตกหรือเสีย อีกทั้งระหัดวิดน้ำยังเป็นหนึ่งในภูมิปัญญาไทยที่นักวิจัยจากหลายประเทศเข้ามาศึกษาดูงาน ระหัดวิดน้ำโฉมใหม่นี้ มีต้นทุนถูกลงแต่เพิ่มประสิทธิภาพในการวิดน้ำได้สะดวกรวดเร็ว ตลอดจนผสมการทำงานเป็น 3 ระบบ ได้แก่ พลังงานไฟฟ้า พลังงานนำมันเชื้อเพลิง และพลังงานลม ซึ่งมีต้นทุนการผลิตต่อเครื่องเพียง 60,000 บาท หรือถูกกว่าครึ่งหนึ่งของราคาในท้องตลาด อีกทั้งถ้าเกษตรกรนำไปติดตั้งในบริเวณที่เหมาะสมสามารถใช้เพียงพลังงานลมเพื่อใช้งาน
อย่างไรก็ตาม อยากให้เกษตรกรหันกลับมาใช้พลังงานลม เพื่อช่วยลดต้นทุนในการผลิต ดีกว่าการใช้เครื่องยนต์ ซึ่งจะต้องเสียค่าน้ำมันไม่น้อยกว่า 700 บาทต่อครั้ง ยังไม่รวมค่าซ่อมบำรุงรักษาเครื่องยนต์อีกที่ค่อนข้างสิ้นเปลืองแต่พลังงานลมนั้นได้มาฟรีไม่มีสิ้นสุด และข้อดีของการใช้ระหัดวิดน้ำในนาเกลือ คือ เกลือจะมีสีขาว สะอาด ไม่ขม เพราะน้ำทะเลที่ไหลเข้ามาจะผสมกับน้ำจืดในพื้นที่ และผลผลิตที่ได้ก็สามารถขายได้ในราคาดีอีกด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปัญญา กล่าวสรุป
ด้าน นายสุรพล เทศปัญ อดีตกำนันและเกษตรกรนาเกลือตำบลนาโคก จ.สมุทรสาคร กล่าวว่า ปัจจุบันนาเกลือในตำบล ใช้ระหัดวิดน้ำกว่า 30 ตัว ผันน้ำทะเลเข้านาเกลือ ซึ่งทั้งหมดทำด้วยไม้ มีความแข็งแรง ทนทาน และประหยัดต้นทุน แต่เมื่อสภาพสังคมเริ่มเปลี่ยนแปลงไป มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาในชีวิต ผู้คนบางส่วนชอบความสะดวกสบาย หันมาใช้การดำน้ำเข้านาเกลือโดยเครื่องท่อสูบน้ำ ท่อพญานาค ที่ไม่มีข้อจำกัดในการทำงาน จนลืมความเป็นอยู่เดิมๆที่บรรพบุรุษสร้างการใช้ระหัดวิดน้ำแบบธรรมชาติ ที่มีพลังงานลมเป็นต้นทุน ทุกวันนี้ที่ตำบลนาโคกใน 6 หมู่ จะมีรูปกังหันลมคียงคู่กับนาเกลือ ที่ไหนมีนาเกลือที่นั้นต้องมีกังหันลม เพราะอาชีพการทำนาเกลือคืออาชีพที่อยู่คู่สมุทรสาครมาเนิ่นนาน นอกจากว่าจะหายไปเพราะมีเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาแทนที่
สำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไปที่สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ หมายเลขโทรศัพท์ 077-506-410