กรุงเทพ--20 มี.ค.--ทางด่วนกรุงเทพ
BECL ระดมหน่วยกู้ภัยและจัดการจราจรบนทางด่วนขั้นที่ 2 ติวเข้มช่วย เหลือผู้ใช้ทาง แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบชัดเจน พร้อมบริการช่วยเหลือทันทีที่เกิด เหตุ เพื่อความสะดวกและปลอดภัยต่อผู้ใช้ทาง
บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BECL ในฐานะผู้รับ ผิดชอบงานกู้ภัยและจัดการจราจรบนทางด่วนขั้นที่ 2 ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ ส่วนเอ จากถนนรัชดาภิเษก-ถนนพระราม 9, ส่วนบี คือ โรงกรองน้ำสามเสน- บางโคล่, ส่วนซี คือ ถนนแจ้งวัฒนะ-ถนนรัชดาภิเษก เปิดเผยว่า ปัจจุบัน BECL ได้จัดทีมปฏิบัติงานของแผนกกู้ภัยและจัดการจราจร เตรียมพร้อมเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ ทางบนทางด่วนขั้นที่ 2 สำหรับผู้ได้รับอุบัติเหตุจากการใช้ทางและหรือรถเสียบน ทางด่วนจนไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ ไว้คอยบริการเพื่อความสะดวกและปลอดภัย อีก ทั้งยังมีการประสานงานกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานภายนอกในการดำเนินการช่วยเหลือ กรณีร้ายแรง
ทั้งนี้เพื่อให้บริการผู้ใช้ทางด่วนเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และมีความ คล่องตัว จึงกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานกู้ภัยแต่ละหน่วยไว้ชัดเจน คือ พนักงานกู้ภัยของ BECL 1 นายจะปฏิบัติงานร่วมกับพนักงานกู้ภัยทางการทางพิเศษฯ อีก 1 นาย ซึ่งนอกจากนี้จะมีหัวหน้าชุดกู้ภัย คอยกำกับดูแลจุดปฏิบัติงานที่มีการแบ่ง พื้นที่การทำงานอย่างชัดเจน พร้อมทั้งวิธีการทำงาน โดยมีพนักงานสื่อสารประจำ ศูนย์ควบคุม มีหน้าที่สื่อสารข้อมูลการปฏิบัติงาน คอยประสานงานด้วยอีกทางหนึ่ง
ดังนั้นการเตรียมความพร้อมของงานกู้ภัยบนทางด่วนเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ที่พนักงานกู้ภัยจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดก่อนการออกปฏิบัติงานตามพื้นที่ทุกครั้ง นั่นคือ การตรวจสอบความพร้อมของรถและอุปกรณ์ สภาพรถต้องใช้การได้ดี เครื่องมือ อุปกรณ์ที่จะใช้ช่วยเหลือผู้ใช้ทางต้องครบครัน และที่สำคัญคือน้ำมันเชื้อเพลิง และน้ำ สำหรับเติมหม้อน้ำ ที่สามารถบริการผู้ใช้ทางด่วนได้อย่างทันที ในกรณีน้ำมันหมด หรือหม้อน้ำของผู้ใช้ทางเกิดแห้ง ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้ ทาง BECL ได้กำหนดกระบวน การทำงานของไว้อย่างละเอียดให้พนักงานกู้ภัยทำรายการแจ้งหัวหน้าชุดทราบทุกครั้ง โดยแบ่งเป็นแบบฟอร์ม "การบริการผู้ใช้ทาง" และ "บันทึกการให้บริการ"
คำแนะนำสำหรับผู้ใช้ทางด่วนกรณีที่เกิดเหตุขัดข้อง คือ จะต้องเปิดไฟ สัญญาณไฟฉุกเฉินกระพริบสีเหลืองทันที และโทรเรียกพนักงานกู้ภัยได้ตามตู้โทรศัพท์ ฉุกเฉิน ซี่งติดตั้งอยู่บนทางด่วนทุก ๆ 1 กิโลเมตร พนักงานกู้ภัยจะใช้เวลาเดินทาง มาถึงสถานที่เกิดเหตุภายใน 10 นาที ช้าสุดไม่เกิน 15 นาที หากขัดข้องเพียงเล็ก น้อยและสามารถซ่อมได้ภายใน 10 นาที เมื่อได้รับความยินยอมเจ้าของรถ พนักงาน กู้ภัยจะจัดการแก้ปัญหาให้ทันที แต่หากพนักงานกู้ภัยพิจารณาแล้วว่ารถเสียหายค่อนข้าง รุนแรง จะดำเนินการเคลื่อนย้ายรถลงจากทางด่วนในทางออกที่ใกล้และปลอดภัย ที่สุดในทันที
สำหรับในกรณีจะต้องเคลื่อนย้ายรถ ผู้ใช้รถต้องเปิดสวิทซ์เครื่องยนต์ ในที่ "ON" และเปิดสัญญาณไฟฉุกเฉินกระพริบสีเหลือง เพื่อการมองเห็นและเป็น การเตือนรถผู้ใช้ทางคันอื่นให้ระมัดระวัง ปลดเกียร์ว่าง และหลังจากนั้นพนักงานกู้ ภัยจะดำเนินการตามขั้นตอนที่ถูกต้องและปลอดภัย
และสำหรับกรณีอื่น ๆ อาทิ การเติมลมยาง การเปลี่ยนยาง การเติม น้ำมัน ไฟไหม้ หรืออุบัติเหตุอื่น ทาง BECL ก็ได้วางแผนการให้บริการไว้อย่างรัดกุม เช่นกัน ทั้งด้านอุปกรณ์และทีมงานที่ผ่านการผึกอบรมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง อาทิ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การดับเพลิง เป็นต้น รวมทั้งการติดต่อสื่อสารข้อมูล กับฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติการช่วยเหลือให้ทันท่วงที
จากการบริการงานกู้ภัยและจัดการทางจราจร ผู้ใช้ทางด่วนจะมี ความสะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ซึ่งนอกจากจะมีพนักงานปฏิบัติหน้าที่ชับรถตรวจ สอบการจราจรตามเส้นทางที่รับผิดชอบประจำวันอย่างต่อเนื่องแล้ว หากเกิดเหตุ ฉุกเฉินผู้ใช้ทางสามารถแจ้งไปยังหน่วยงานแจ้งข่าวสารได้ โดยศูนย์ทางด่วน 1 ซึ่ง รับผิดชอบโดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เบอร์ 249-0599, 249-9294 และ ศูนย์ทางด่วน 2 ซึ่งรับผิดชอบงานโดย BECL สามารถให้บริการผู้ใช้อย่างทันท่วงที คือ เบอร์ 641-4649 ตลอด 24 ชั่วโมง--จบ--