กรุงเทพฯ--18 ก.ย.--เวเบอร์ แชนวิค
ในยุคที่ภูมิภาคเอเซียแปซิฟิกเป็นตลาดที่สำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เนื่องจากเป็นภูมิภาคที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดด ซึ่งสิ่งที่มาพร้อมกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจก็คือ ความต้องการด้านระบบโครงสร้างไอที ความสามารถในการบริหารจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ และมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงความต้องการในการเชื่อมต่อกับดาต้า เซ็นเตอร์ในภูมิภาคนี้ก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่อัตราค่าบริการอินเตอร์เน็ตแบบบรอดแบนด์ในภูมิภาคนี้ก็มีราคาถูกลง
การที่ประเทศในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อที่จะได้จัดการกับข้อมูลจำนวนมหาศาลที่เกิดขึ้นในภาคธุรกิจ ส่งผลให้ภูมิภาคเอเซียแปซิฟิกมีความพร้อมต่อการพัฒนาระบบคลาวด์ที่ดียิ่งขึ้น จากข้อมูลล่าสุดของสมาคมคลาวด์คอมพิวติ้งในเอเชียแปซิฟิก (Asia Cloud Computing Association – ACCA) เกี่ยวกับความพร้อมในการใช้งานคลาวด์ (Cloud Readiness Index) ในภูมิภาคนี้ พบว่า ความพร้อมของการใช้งานคลาวด์ในภูมิภาคนี้ แบ่งออกได้เป็นสามระดับ ได้แก่ กลุ่มที่มีความพร้อมสมบูรณ์ เช่น ประเทศญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย สิคโปร์ ฮ่องกง และเกาหลีใต้ กลุ่มที่มีการพัฒนาคงที่ เช่น ประเทศจีน อินโดนีเซีย อินเดีย และเวียตนาม ขณะที่ในประเทศไทยนั้น ถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่กำลังให้ความสำคัญต่อการพัฒนาการใช้งานคลาวด์อย่างมาก โดยมีเพื่อนร่วมกลุ่มอย่าง ไต้หวัน มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ เป็นต้น
โดย ACCA ยังได้จัดให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญด้านการพัฒนาเป็นอันดับต้นๆ ของเอเซีย ร่วมกับนิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย ที่ต่างก็ไต่อันดับสูงขึ้นจากผลสำรวจด้านความพร้อมในการใช้งานคลาวด์เมื่อปีก่อนถึงสี่อันดับ โดยประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 9 ของเอเชีย ขยับขึ้นมาถึง อันดับ 4
สถานภาพความพร้อมของประเทศไทยในการใช้งานคลาวด์ในการบริหารจัดเก็บข้อมูลมีการพัฒนาขึ้นอย่างมาก จากที่มักจะพูดกันแต่การใช้งาน public cloud และ private cloud ปัจจุบัน องค์กรต่างๆ ในประเทศไทย เริ่มหันมาใช้งานคลาวด์แบบใหม่ที่เรียกว่า hybrid cloud ซึ่งเป็นการหลอมรวมการใช้งานของทั้งสองระบบเข้าด้วยกัน และองค์กรต่างๆ ก็ตื่นตัวเรื่องตำแหน่งของการเก็บข้อมูลกันอย่างมาก เนื่องจากข้อมูลขององค์กรเป็นสิ่งสำคัญ การดูแลและปกป้องข้อมูลก็เป็นสิ่งสำคัญยิ่งกว่า การเคลื่อนย้ายข้อมูลเป็นสิ่งที่มักต้องใช้เวลา และต้องทำให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อธุรกิจน้อยที่สุด ทำให้ผู้ใช้ให้ความสำคัญต่อตำแหน่งการประมวลผลน้อยลง แต่จะให้ความสำคัญว่าข้อมูลถูกเก็บอยู่ที่ไหนมากขึ้น
และเนื่องจากลูกค้าองค์กรบางราย ยังมีความจำเป็นต้องรู้ว่าข้อมูลของตัวเองถูกเก็บอยู่ที่ไหนบนคลาวด์ และต้องการบริหารจัดการระบบความปลอดภัย (security) ของตนเอง ส่งผลให้เกิดแนวคิด “cloud on premise” ซึ่งเป็นการใช้คลาวด์แบบผสมผสาน โดยผู้ให้บริการคลาวด์จะยกระบบของมาตั้งที่ศูนย์ข้อมูลของลูกค้าโดยตรง เพื่อที่จะช่วยบริหารจัดการระบบข้อมูลให้ทั้งหมด และหมดปัญหาเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล
นอกจากความตื่นตัวด้านการใช้งานคลาวด์ขององค์กรเอกชนในประเทศไทยแล้ว ในปีนี้ เรายังได้เห็นนโยบายจากภาครัฐเกี่ยวกับ G-Cloud ภายใต้โครงการบริการคลาวด์ภาครัฐ (EGA) ที่กำลังเร่งดำเนินการปรับปรุงระบบคลาวด์ และดูแลด้านความเสี่ยงทางด้านความปลอดภัยมากขึ้น
ส่วนบทบาทของเน็ตแอพในคลาวด์ในประเทศไทยนั้น คือการทำหน้าที่เป็น cloud enablement ช่วยสนับสนุนผู้ให้บริการคลาวด์ในประเทศไทยในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการบริหารการจัดเก็บข้อมูลให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และช่วยลดต้นทุนให้แก่ลูกค้าองค์กรได้ โดยเน็ตแอพมีโครงการ NetApp Cloud Service Provider ซึ่งเป็นโคงการความร่วมมือกับผู้ให้บริการคลาวด์ทั้งในด้านเทคโนโลยี การติดตั้ง รวมถึงความร่วมมือทางธุรกิจกับผู้ให้บริการคลาวด์ และกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่ในประเทศไทย
ซึ่งหากองค์กรในประเทศไทย ทั้งภาครัฐและเอกชน สามารถพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีได้อย่างนี้แล้ว ในปีหน้าระดับความพร้อมใช้งานระบบคลาวด์ของไทยจะต้องเป็นไปในทางที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน