“การตั้งจังหวัดบัวใหญ่”

ข่าวทั่วไป Monday September 22, 2014 08:39 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--22 ก.ย.--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “การตั้งจังหวัดบัวใหญ่” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 18 – 19 กันยายน 2557 กรณีศึกษาจากประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา กระจายทุกอำเภอ ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,228 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการเสนอแยก 8 อำเภอ ในจังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย 1. อ.บัวใหญ่ 2. อ.บ้านเหลื่อม 3. อ.ประทาย 4. อ.คง 5. อ.โนนแดง 6. อ.แก้งสนามนาง 7. อ.บัวลาย และ 8. อ.สีดา ออกเป็น จังหวัดบัวใหญ่ อาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยความน่าจะเป็นด้วยวิธีแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4 จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการแยก 8 อำเภอ ใน จังหวัดนครราชสีมา ออกมาเป็น จังหวัดบัวใหญ่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 46.26 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ ต้องการให้เป็นจังหวัดเดียวกัน ถือว่าทุกคนเป็นลูกหลานย่าโมด้วยกันทั้งสิ้น ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของคนในพื้นที่ เหตุผลที่ต้องการแยกยังไม่มีน้ำหนักพอว่าจะแยกไปเพราะด้วยเหตุใดหรือมีความ จำเป็นมากน้อยเพียงใด ไม่ใช่ทางออกที่ถูกต้อง ควรแก้ไขด้วยการพัฒนาสร้างความเจริญในพื้นที่ เช่น การสร้างเส้นทางการคมนาคม ระหว่างอำเภอ จังหวัด รองลงมา ร้อยละ 38.84 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะเป็นการเพิ่มความสะดวกในการเดินทางมาติดต่อราชการสำหรับคนที่อยู่ห่างจากอำเภอเมือง เนื่องจากจังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่ขนาดใหญ่ และง่ายต่อการบริหารจัดการ การจัดสรรงบประมาณ ประชาชนบางส่วนต้องการให้มีการพัฒนาในพื้นที่ เป็นการกระจายอำนาจและความเจริญไปยังพื้นที่ห่างไกล ขณะที่ ร้อยละ 13.03 ระบุว่า ยังไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ และ ร้อยละ 1.87 ระบุว่า เฉย ๆ ไม่สนใจ อย่างไรก็ได้ ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการทำประชามติกับประชาชนในพื้นที่ กรณีการจัดตั้งหวัดใหม่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 88.76 ระบุว่า ควรทำประชามติ เพราะ เป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และต้องคำนึงถึงเสียง ส่วนใหญ่ เป็นการให้ข้อมูลข่าวสาร และทราบถึงความต้องการของประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง มีเพียง ร้อยละ 2.52 ที่ ระบุว่า ไม่ควรทำประชามติ เพราะ เป็นการสิ้นเปลืองบประมาณ และทางการน่าจะมีการพิจารณาถึงข้อดี ข้อเสีย หรือความจำเป็นมาก่อนหน้าแล้ว ก็ลงมติความเห็นชอบไปเลยว่าจะจัดตั้งจังหวัดใหม่หรือไม่ และใช้เหตุผลในการชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจกับประชาชน อีกทั้งยังเกรงว่าเสียง ส่วนใหญ่ของการทำประชามติ จะเป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามกับแนวคิดของตนเอง ขณะที่ ระบุว่า 6.52 ไม่แน่ใจ และ ร้อยละ 2.20 ระบุว่า เฉย ๆ ไม่สนใจ อย่างไรก็ได้ เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 50.24 เป็นเพศชาย และ ร้อยละ 49.59 เป็นเพศหญิง และ ร้อยละ 0.16 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่างร้อยละ 5.74 มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ร้อยละ 32.32 มีอายุ 25 – 39 ปี ร้อยละ 48.32 มีอายุ 40 – 59 ปี และ ร้อยละ 13.62 มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 99.43 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 0.08 นับถือศาสนาอิสลาม และ ร้อยละ 0.49 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ ตัวอย่างร้อยละ 22.31 สถานภาพโสด ร้อยละ 74.65 สถานภาพสมรสแล้ว และร้อยละ 3.04 สถานภาพหม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 34.57 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 31.69 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 9.88 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 19.51 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.36 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตัวอย่าง ร้อยละ 12.36 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 12.93 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.91ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 16.89 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 19.03 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 15.16 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และ ร้อยละ 1.73 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ตัวอย่าง ร้อยละ 12.62 ระบุว่าไม่มีรายได้ ร้อยละ 26.22 มีรายได้ต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 29.15 มีรายได้ต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 10.10 มีรายได้ต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 4.32 มีรายได้ต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 5.54 มีรายได้ต่อเดือน มากกว่า 40,001 บาท ขึ้นไป และ ร้อยละ 12.05 ไม่ระบุรายได้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ