กรุงเทพฯ--26 ก.ย.--โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์
การจัดเตรียมและการจัดการโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ในรูปแบบอัตโนมัติรุ่นใหม่นี้จะช่วยให้ลูกค้าของคอมม์วอลท์ สามารถนำทั้งระบบคลาวด์แบบส่วนตัว แบบไฮบริด และแบบสาธารณะมาใช้ได้อย่างรวดเร็วขึ้น
ซิมพานา® โซลูชั่น เซต (Simpana® Solution Sets) โซลูชั่นการทำงานชุดใหม่นี้นำเสนอทางเลือกในเรื่องของราคาและโปรแกรมในแพ็คเกจที่ทำให้ดูง่ายขึ้น ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้ทำงานร่วมกับระบบการจัดการเครื่องเสมือนจริง (virtual machine management) การกู้คืนแอพพลิเคชั่น (application recovery) ระบบการป้องกันข้อมูลปลายทาง (endpoint data protection) และการจัดเก็บคลังอาร์ไคฟ์ของอีเมลล์ (email archives)
โซลูชั่นดังกล่าวได้นำเสนอวิธีที่ง่ายในการจัดการข้อมูลที่ครอบคลุมโดยใช้โครงสร้างแบบแพลตฟอร์มเดี่ยวที่ผ่านการทดสอบแล้วของคอมม์วอลท์
คอมม์วอลท์มีบริการที่รองรับการใช้งานรูปแบบคลาวด์มากกว่าผู้ให้บริการซอฟต์แวร์รายอื่นๆ ซึ่งช่วยให้ลูกค้าสามารถจัดการข้อมูลผ่านระบบคลาวด์ (Cloud) แพลตฟอร์มไฮเปอร์ไวเซอร์ (Hypervisor) และแพลตฟอร์มจัดเก็บข้อมูล (storage platforms) ได้อย่างต่อเนื่องและลงตัว ทั้งนี้ยังรวมไปถึงความสามารถใหม่ในการรองรับบริการต่างๆของ อเมซอนเว็บเซอร์วิส (Amazon Web Services) ไมโครซอฟท์อะซัว (Microsoft Azure) ไมโครซอฟท์ไฮเปอร์-วี (Microsoft Hyper-V) วีเอ็มแวร์ วีสเฟียร์ (VMware vSphere) ซิทริกซ์เซ็นเซิร์ฟเวอร์ (Citrix XenServer) เอชดีเอส (HDS) และระบบเน็ทแอพ (NetApp)
คอมม์วอลท์ (NASDAQ: CVLT) ได้ประกาศเปิดตัวซอฟต์แวร์ซิมพานารูปแบบใหม่ (Simpana®) ที่สามารถทำงานกับระบบคลาวด์ และซิมพานา โซลูชั่น เซต ซึ่งได้ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อเปลี่ยนแปลงวิธีการในการป้องกัน บริหารจัดการ และเพิ่มมูลค่าของข้อมูลทางธุรกิจสำหรับองค์กรทุกขนาดท่ามกลางปริมาณของข้อมูลและข้อกำหนดต่างๆ ที่เพิ่มมากขึ้น
“การจัดการข้อมูลได้กลายเป็นความท้าทายสำหรับทุกองค์กรในประเทศไทย ความซับซ้อนของการจัดการข้อมูลในปัจจุบันนี้ โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีคลาวด์มาใช้นั้นเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ประกอบการไทยหลายๆ เจ้าเริ่มมองหาวิธีการที่รวดเร็วและง่ายสำหรับการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมต่างๆ ของบริษัทให้ดูทันสมัย??มากยิ่งขึ้น?? โซลูชั่นการทำงานชุดใหม่ของคอมม์วอลท์ได้พร้อมให้บริการแก่ลูกค้าของเราในประเทศไทยมาตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา และเราก็ได้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ใหม่ของเราได้รับความสนใจจากองค์กรไทยหลายองค์กรเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์กรที่มีการใช้ชุดซอร์ฟแวร์แบบเครื่องเสมือน (virtualization set)” คุณสมุจจ์ ถนัดสร้าง ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท คอมม์วอลท์ ซิสเต็มส์ จำกัด กล่าว “ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีการทำงานแบบแยกส่วนของคอมม์วอลท์จะช่วยให้ลูกค้าสามารถระบุปัญหาเฉพาะจุดได้ พร้อมทั้งความยืดหยุ่นในการอัพเกรดไปเป็นชุดซอฟต์แวร์ซิมพานาแบบเต็มรูปแบบในคราวต่อไปได้”
มุ่งหน้าสู่ระบบคลาวด์
มีผู้ประกอบการไทยจำนวนมากขึ้นกำลังเชื่อมโยงรวมโครงสร้างพื้นฐานไอทีเข้ากับระบบคลาวด์แบบใช้งานภายในองค์กรและยังได้เริ่มต้นใช้งานคลาวด์แบบสาธารณะสำหรับ ในบางกรณีเช่น การพัฒนา การทดสอบ และการจัดเก็บแบบอาร์ไคฟ์ ในขณะเดียวกัน บริษัทที่มีขนาดเล็กกว่าก็ได้ทำการย้ายข้อมูลไปเก็บยังคลาวด์เพื่อป้องกันข้อมูล และเพื่อกู้ข้อมูลคืนจากความเสียหาย[1]
การทำงานแบบคลาวด์กำลังเข้ามาปรับเปลี่ยนวิธีการทุกอย่างในด้านคอมพิวเตอร์และไอทีเป็นอย่างสำคัญ ในรูปแบบของการนำส่งการบริการ (service delivery models) บริษัท การ์ทเนอร์ (Gartner) ได้มีการคาดการณ์ถึงการใช้บริการคลาวด์สาธารณะว่าจะเติบโตไปถึง 137 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ด้วยอัตราการเติบโตประจำปี (CAGR) ถึงร้อยละ 16.9 ภายในปี 2560 ในขณะที่พื้นที่ความจุของระบบคลาวด์แบบส่วนตัวถูกคาดหวังว่าจะแซงหน้าความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลทั่วโลกถึง 1.5 เท่า (ร้อยละ 60 ถึงร้อยละ 40) อย่างไรก็ตาม การนำระบบคลาวด์มาใช้ในปัจจุบันนี้ได้ถูกจำกัดจากค่าใช้จ่ายและความซับซ้อนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการฮาร์ดแวร์และทรัพยากรบุคคลที่จะสามารถควบคุมปริมาณข้อมูลที่ถาโถมมาพร้อมกันอย่างมหาศาลได้ ซึ่งเกินกว่าที่ โครงสร้างพื้นฐานเดิมจะรองรับได้
เผยศักยภาพการทำงานของระบบแบบเสมือนจริง
เมื่อหลายปีที่ผ่านมา บริษัทต่างๆ เริ่มมีการนำการทำงานเซิร์ฟเวอร์แบบเสมือนจริงมาใช้เพื่อที่จะรวมโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีและการใช้งานต่างๆ เข้าด้วยกัน แต่ในปัจจุบันนี้ เครื่องเดสก์ท็อปเสมือนจริง (desktop virtualization) ผนวกกับแนวโน้มของเทคโนโลยี เช่น ลักษณะการทำงานและความต้องการของผู้ใช้งานที่มีอุปกรณ์ไอทีต่างๆ มากกว่าหนึ่งตัวและต้องการนำเอาอุปกรณ์เหล่านั้นเข้ามาใช้งานในองค์กร (consumerization of IT) ได้เพิ่มความซับซ้อนให้กับวิธีจัดการทางไอที การควบคุม และปกป้องข้อมูลที่สำคัญขององค์กรไว้ นอกจากนี้ จำนวนที่เพิ่มขึ้นของทรัพยากรที่จำเป็นที่เกิดจากการขยายตัวของคอมพิวเตอร์เสมือนจริง (VM) ที่หลายบริษัทโดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ต้องเผชิญอยู่ และรูปแบบธุรกิจที่มีต้องมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลา (always-on business model) ทำให้เป็นการยากขึ้นสำหรับการที่บริษัทจะจัดการกับข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลได้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดค่าใช้จ่าย
”การขยายตัวเพิ่มขึ้นจนล้นและถูกละทิ้งจากการดูแลบำรุงรักษาของคอมพิวเตอร์เสมือนจริง (VM) สามารถทำให้ระบบคอมพิวเตอร์หยุดทำงานชั่วคราวซึ่งก่อให้เกิดความไม่ต่อเนื่องในการใช้งาน และยังทำให้ระยะเวลาที่ใช้ในการสำรองข้อมูล และการเก็บรักษาอีเมลล์ในเอฟเอสไอ (FSI) นานขึ้นกว่าเดิม โซลูชั่นซิมพานาเซตชุดใหม่นี้จะช่วยบ่งชี้แต่ละจุดแบบองค์รวมเพื่อสามารถให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้ อีกทั้งยังช่วยลดความซับซ้อนในการบริหารจัดการ รวมทั้งเรื่องค่าใช้จ่ายให้กับองค์กรไทย” คุณสมุจจ์ ถนัดสร้าง ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท คอมม์วอลท์ ซิสเต็มส์ จำกัด อธิบายเพิ่มเติม
ในขณะที่ผู้ประกอบการหลายเจ้าได้นำระบบคลาวด์ทั้งแบบส่วนตัวและแบบไฮบริดมาใช้งานเพื่อเพิ่มความคล่องตัวทางธุรกิจ โซลูชั่นซิมพานาเซตชุดใหม่จึงได้ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มความเร็วในการใช้ระบบคลาวด์ พร้อมด้วยการทำศูนย์ข้อมูลให้ทันสมัยขึ้น??โดยการนำนวัตกรรมของซอฟต์แวร์เจเนอเรชั่นใหม่มาใช้ เพื่อเป็นการรองรับความสามารถในการใช้งานเมื่ออยู่ที่ไหนก็ได้และปรับปรุงการเข้าถึงบริการด้วยตนเองที่ดีขึ้น โซลูชั่นซิมพานาเซตชุดใหม่นี้จะช่วยให้ลูกค้าลดทั้งค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงด้วยการจัดการข้อมูลและสารสนเทศสำหรับระบบชั้นนำต่างๆ เช่น คลาวด์ ไฮเปอร์ไวเซอร์ (hypervisor) และแพลตฟอร์มการจัดเก็บต่างๆ เป็นต้น
ด้วยความเป็นผู้นำที่ให้บริการด้านแพลตฟอร์มสำหรับการจัดเก็บแบบระบบคลาวด์ส่วนใหญ่แล้ว ในขณะเดียวกันคอมม์วอลท์ได้มีการเพิ่มความสามารถต่างๆ เพื่อรองรับการทำงานร่วมกับอเมซอน เว็บ เซอร์วิส (Amazon Web Services) และไมโครซอฟท์อะซัว (Microsoft Azure) ซึ่งรวมการรายงานคลาวด์ (cloud reporting) ที่สมบูรณ์ รวมถึงการจัดเตรียมบริการแบบบริการด้วยตนเองสำหรับผู้ใช้งาน (end user self-service provisioning) การกู้คืนข้อมูล (recovery) ซอร์ฟแวร์ สแนปชอต (software snapshots) และการจัดการทรัพยากรของเครื่องเสมือนจริง
แนะนำโซลูชั่นการทำงานใหม่ล่าสุดจากคอมม์วอลท์
โซลูชั่นซิมพานาชุดใหม่นี้สามารถใช้งานได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นสำหรับแต่ละกรณี หรือจะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการปกป้องข้อมูลและของโซลูชั่นการจัดการข้อมูลที่ครอบคลุมก็ได้
ซิมพานาสำหรับการสำรองข้อมูลของคอมพิวเตอร์เสมือนจริง (VM Backup) การกู้คืนข้อมูล (Recovery) และการจัดการระบบคลาวด์ (Cloud Management) ช่วยให้ผู้ดูแลจัดการเครื่องเสมือนจริง รวมทั้งผู้ใช้งานสามารถสร้าง ป้องกัน และเพิ่มประสิทธิภาพของโครงสร้างพื้นฐานเสมือนจริงและคลาวด์ได้เอง
ซอฟท์แวร์ซิมพานานี้มีความแตกต่างจากโซลูชั่นทั่วไปที่เพียงช่วยแก้ปัญหาเฉพาะจุดในการสำรองข้อมูลของวีเอ็ม ซึ่งช่วยให้เจ้าของและผู้ถือครองสามารถจัดการดำเนินงานต่างๆ ของคอมพิวเตอร์เสมือน (VM) ไม่ว่าจะเป็นการจัดเตรียม การบริหารจัดการ การสำรองข้อมูล การกู้คืน การปลดข้อมูลที่หมดอายุ และการจัดเก็บในคลัง โดยผ่านอินเตอร์เฟซเดียวจากหลายๆ แพลตฟอร์ม ซึ่งรวมไปถึงอเมซอนเว็บเซอร์วิส (Amazon Web Services) ไมโครซอฟท์อะซัว (Microsoft Azure) ไมโครซอฟท์ไฮเปอร์-วี (Microsoft Hyper-V) วีเอ็มแวร์ (VMware) และซิทริกซ์เซ็นเซิร์ฟเวอร์ (Citrix XenServer)
ราคาของผลิตภัณฑ์จะขึ้นอยู่กับชนิดไลเซนส์ต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ จะคิดราคาต่อซ็อกเก็ตหรือต่อ 10 วีเอ็มแพ็ค ผลิตภัณฑ์ชุดโซลูชั่นซิมพานาวีเอ็ม (Simpana VM) ประกอบด้วยตัวชี้วัดการรายงาน (Metrics reporting) ระบบขจัดข้อมูลซ้ำซ้อนทั่วโลก (global deduplication) และการจำลองของระบบขจัดข้อมูลซ้ำซ้อน (deduplication-aware replication) การกู้คืนวีเอ็มแบบทันที (instant VM recovery) และการบำรุงรักษาเป็นเวลา 1 ปี ซึ่งแตกต่างจากข้อเสนอของผู้ให้บริการอื่นๆที่มีอยู่ในขณะนี้
ซิมพานา อินเทลลิสแนป รีคัพเวอรี (Simpana IntelliSnap® Recovery) ได้รวบรวมและเพิ่มความคล่องตัวในด้านต่างๆ เช่น ฮาร์ดแวร์สแน็ปช็อตที่คำนึงถึงแอพพลิเคชั่นเป็นหลัก (application-aware hardware snapshot) การจำลองแบบ และการกู้คืนเพื่อให้สินทรัพย์ข้อมูลพร้อมใช้อย่างเต็มที่อย่างเต็มที่ในขณะที่ขนาดและความซับซ้อนมีมากขึ้น
ลูกค้าสามารถบริหารจัดการสแน็ปช็อตจากฮาร์ดแวร์ (hardware-based snapshot) สำหรับโครงสร้างพื้นฐานแอพพลิเคชั่นทั้งทางกายภาพและแบบเสมือนจริงที่ใหญ่ที่สุดได้โดยอัตโนมัติ
การบูรณาการซอฟท์แวร์ใหม่ของซิมพานาสำหรับตู้สตอเรจและแอพพลิเคชั่นต่างๆ รวมทั้งระบบเน็ตแอพ (NetApp) เอชดีเอส (HDS) และออราเคิล (Oracle)
ตัวเลือกราคาสำหรับสแน็ปช็อตการป้องกันข้อมูล (data protection snapshot) การจำลองแบบ (replication) และการบริการประมวลผลแบบระยะทางไกล (remote services) ได้แบ่งเป็นสองแบบคือ การวัดจากปริมาณข้อมูลที่ใช้งานจริงหรือตามจำนวนของตู้สตอเรจที่ใช้
ซิมพานาสำหรับการป้องกันข้อมูลปลายทาง (Simpana for Endpoint Data Protection) ช่วยป้องกันและช่วยให้สามารถทำงานเมื่ออยู่ที่ไหนก็ได้ โดยการช่วยสำรองข้อมูลในอุปกรณ์ใช้งานต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพและการจัดหาช่องการเข้าถึงที่ปลอดภัยพร้อมทั้งความสามารถในการค้นหาได้ด้วยตนเอง
ฟีเจอร์ใหม่นี้จะช่วยปกป้องไฟล์งานต่างๆ และโฟลเดอร์ที่ใช้งานร่วมกัน การป้องกันการสูญหายของข้อมูล และรักษาความปลอดภัย รวมถึงทำงานร่วมกันเพื่อปกป้องข้อมูลที่ใช้อุปกรณ์ที่ช่วยในการอัพโหลด
ลดความเสี่ยงและลดค่าใช้จ่ายที่มีต่อการค้นหาข้อมูลอิเล็กทรอนิก (eDiscovery) และกระบวนการเก็บรักษาข้อมูลที่ถือตามกฎหมาย (legal hold) สำหรับการจัดการข้อมูลทั้งหมด
การสำรองข้อมูลปลายทาง การใช้ไฟล์ร่วมกัน และการค้นหาโซลูชั่นต่างๆ จะเป็นการให้ไลเซนส์แบบหนึ่งไลเซนส์ต่อหนึ่งผู้ใช้งาน
ซิมพานาสำหรับอีเมลล์แบบอาร์ไคฟ์ (Simpana for Email Archive) ช่วยเพิ่มผลผลิต ลดความเสี่ยงในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและปรับปรุงข้อมูลเชิงลึกโดยการบูรณาการช่องทางเข้าถึงการบริการค้วยตนเอง การค้นหาข้อมูลอิเล็กทรอนิก (eDiscovery) และกระบวนการรักษาข้อมูลที่ถือตามกฎหมาย ที่มีการปรับเปลี่ยนให้ง่ายขึ้น รวมไปถึงการจัดเก็บระยะยาวที่คุ้มค่าและมีประสิทธิผล
ฟังก์ชั่นการวิเคราะห์แบบบิวท์อินที่เข้ามาช่วยปรับปรุงการวางแผนการจัดเก็บข้อมูลและช่วยตัดสินใจสำหรับนโยบายการจัดเก็บอีเมลล์ในคลัง
โซลูชั่นเซตชุดใหม่นี้สามารถนำไปใช้ได้ทั้งในระบบคลาวด์ของแต่ละองค์กร ส่วนตัว หรือไฮบริด พร้อมทั้งสนับสนุนการทำงานร่วมกับ ออฟฟิศ 365 (Microsoft Office 365) เอาท์ลุค (Microsoft Outlook) และไมโครซอร์ฟ เอ็กซ์เชนจ์ (Microsoft Exchange) และไอบีเอ็ม โลตัส โน๊ต (IBM Lotus Notes)
การจัดเก็บคลังอาร์ไคฟ์มีการคิดไลเซนส์ตามจำนวนเมลล์บ๊อกซ์ ซึ่งรวมถึงการทำอาร์ไคฟ์ การค้นหา และการเลือกปฏิบัติตามข้อกำหนดอีกด้วย