กรุงเทพฯ--29 ก.ย.--ชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน
รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล รองประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in Community Happiness Association, TRICHA) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เรื่อง ผลการจัดอันดับกระทรวงที่พึ่งด้านต่างๆ ของแกนนำชุมชนและช่องทางการเคลื่อนไหวเพื่อความสงบสุขของบ้านเมืองอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาตัวอย่างแกนนำชุมชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 600 ชุมชน ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 25 – 27 กันยายน 2557 ที่ผ่านมา ผลการสำรวจพบว่า
ผลการจัดอันดับกระทรวงที่พึ่งด้านการแก้ปัญหาปากท้องค่าครองชีพ พบว่า แกนนำชุมชนให้กระทรวงที่พึ่งด้านการแก้ปัญหาปากท้องค่าครองชีพอันดับที่ 1 ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร้อยละ 34.6 อันดับที่ 2 ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ ได้ร้อยละ 24.8 อันดับที่ 3 ได้แก่ กระทรวงแรงงาน ได้ร้อยละ 12.9 รองๆ ลงไปคือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงการคลัง เป็นต้น
ในขณะที่ เมื่อจัดอันดับกระทรวงที่พึ่งด้านการพัฒนาอาชีพของประชาชนโดยแกนนำชุมชน พบว่า อันดับที่ 1 ได้แก่ กระทรวงแรงงาน ได้ร้อยละ 36.2 อันดับที่ 2 ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร้อยละ 26.3 อันดับที่ 3 ได้แก่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ร้อยละ15.4 รองๆ ลงไปคือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการคลัง เป็นต้น
เมื่อถามถึงกระทรวงที่พึ่งด้านการแก้ปัญหาค้ามนุษย์ พบว่า อันดับที่ 1 ได้แก่ กระทรวงแรงงาน ได้ร้อยละ 34.3 อันดับที่ 2 ได้แก่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ร้อยละ 22.5 อันดับที่ 3 ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย ได้ร้อยละ 20.6 และรองๆ ลงไปคือ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงกลาโหม และกระทรวงการต่างประเทศ เป็นต้น
สำหรับกระทรวงที่แกนนำชุมชนจัดอันดับให้เป็นที่พึ่งด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อันดับที่ 1 ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย ได้ร้อยละ 55.2 อันดับที่ 2 ได้แก่ กระทรวงกลาโหม ได้ร้อยละ 15.8 อันดับที่ 3 ได้แก่ กระทรวงยุติธรรม ได้ร้อยละ 8.4 และรองๆ ลงไปคือ กระทรวงการคลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นต้น
เมื่อจัดอันดับกระทรวงที่พึ่งด้านการบริหารจัดการน้ำของแกนนำชุมชน พบว่า อันดับที่ 1 ได้แก่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ร้อยละ 58.5 อันดับที่ 2 ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร้อยละ 28.4 อันดับที่ 3 ได้แก่ กระทรวงคมนาคม ได้ร้อยละ 4.8 รองๆ ลงไปคือ กระทรวงพลังงาน กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นต้น
ที่น่าพิจารณาคือ กระทรวงที่แกนนำชุมชนจัดอันดับให้เป็นที่พึ่งด้านการทวงที่ดินคืนจากผู้บุกรุกผืนป่า พบว่า อันดับที่ 1 ได้แก่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ร้อยละ 79.0 อันดับที่ 2 ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร้อยละ 12.8 อันดับที่ 3 ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย ได้ร้อยละ 3.5 และรองๆ ลงไปได้แก่ กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นต้น
เมื่อถามถึงความเห็นต่อการใช้เสรีภาพทางวิชาการในการเคลื่อนไหวทางการเมืองตามทรรศนะของแกนนำชุมชน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.8 ระบุ ควรใช้อย่างมีขอบเขตและมีเงื่อนไข ในขณะที่ร้อยละ 9.2 ระบุไม่ควรมีขอบเขต ไม่ต้องมีเงื่อนไข อย่างไรก็ตาม สิ่งที่อยากให้นักวิชาการใช้เสรีภาพทางวิชาการเพื่อทำให้เกิดการปฏิรูปประเทศไทยด้านต่างๆ พบว่า แกนนนำชุมชน ร้อยละ 27.0 อยากให้นักวิชาการใช้เสรีภาพทางวิชาการเพื่อกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม มากที่สุด รองลงมาคือร้อยละ 21.8 ระบุการปฏิรูปการเมือง ร้อยละ 19.1 ระบุ ด้านเศรษฐกิจ และรองๆ ลงไปคือ ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน การปกครองท้องถิ่น การศึกษา ด้านสังคม ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ด้านสื่อมวลชน ด้านพลังงาน และด้านอื่นๆ ตามลำดับ
ที่น่าสนใจคือ ช่องทางของการเคลื่อนไหวทางวิชการในทรรศนะของแกนนำชุมชน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.6 ระบุ สภาปฏิรูปแห่งชาติทั้ง 11 ด้านควรเป็นช่องทางการเคลื่อนไหวทางวิชาการมากที่สุด รองลงมาคือ ร้อยละ 9.5 ระบุการจัดเวทีทางวิชาการ ในขณะที่ร้อยละ 8.2 ระบุการยื่นหนังสือที่ศูนย์ดำรงธรรม และร้อยละ 6.5 ระบุการใช้สื่อมวลชนเป็นช่องทาง ร้อยละ 3.7 ระบุใช้การแสดงออกเชิงสัญญลักษณ์ เช่น ปิ๊ปคลุมหัว ชูมือ ชูนิ้ว เป็นต้น
โปรดพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้
ตารางที่1 แสดงผลการจัดอันดับกระทรวงที่พึ่งด้านการแก้ปัญหา ปากท้อง ค่าครองชีพ
ลำดับที่ กระทรวงที่พึ่งด้านการแก้ปัญหา ปากท้อง ค่าครองชีพ ค่าร้อยละ
1 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 34.6
2 กระทรวงพาณิชย์ 24.8
3 กระทรวงแรงงาน 12.9
4 กระทรวงมหาดไทย 11.7
5 กระทรวงการพัฒนาสังคมและมั่นคงของมนุษย์ 8.0
6 อื่น ๆ อาทิกระทรวงการคลังกระทรวงกลาโหม เป็นต้น 8.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่2 แสดงผลการจัดอันดับกระทรวงที่พึ่งด้านการพัฒนาอาชีพของประชาชน
ลำดับที่ กระทรวงที่พึ่งด้านการช่วยพัฒนาอาชีพของประชาชน ค่าร้อยละ
1 กระทรวงแรงงาน 36.2
2 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 26.3
3 กระทรวงการพัฒนาสังคมและมั่นคงของมนุษย์ 15.4
4 กระทรวงมหาดไทย 9.1
5 กระทรวงพาณิชย์ 5.7
6 อื่น ๆ อาทิกระทรวงการคลังกระทรวงกลาโหม กระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น 7.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่3 แสดงผลการจัดอันดับกระทรวงที่พึ่งด้านการแก้ปัญหาค้ามนุษย์
ลำดับที่ กระทรวงที่พึ่งด้านการแก้ปัญหาค้ามนุษย์ ค่าร้อยละ
1 กระทรวงแรงงาน 34.3
2 กระทรวงการพัฒนาสังคมและมั่นคงของมนุษย์ 22.5
3 กระทรวงมหาดไทย 20.6
4 กระทรวงยุติธรรม 11.6
5 กระทรวงกลาโหม 3.3
6 อื่น ๆ อาทิกระทรวงการต่างประเทศกระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน เป็นต้น 7.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่4 แสดงผลการจัดอันดับกระทรวงที่พึ่งด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ลำดับที่ กระทรวงที่พึ่งด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ค่าร้อยละ
1 กระทรวงมหาดไทย 55.2
2 กระทรวงกลาโหม 15.8
3 กระทรวงยุติธรรม 8.4
4 กระทรวงการคลัง 5.2
5 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3.8
6 กระทรวงพาณิชย์ 3.6
7 อื่นๆ อาทิกระทรวงการพัฒนาสังคมและมั่นคงของมนุษย์กระทรวงแรงงาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นต้น 8.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่5 แสดงผลการจัดอันดับกระทรวงที่พึ่งด้านการบริหารจัดการน้ำ
ลำดับที่ กระทรวงที่พึ่งด้านการบริหารจัดการน้ำ ค่าร้อยละ
1 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 58.5
2 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 28.4
3 กระทรวงคมนาคม 4.8
4 กระทรวงพลังงาน 2.0
5 อื่น ๆ อาทิกระทรวงสาธารณสุขกระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นต้น 6.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่6 แสดงผลการจัดอันดับกระทรวงที่พึ่งด้านการ ทวงที่ดินคืนจากผู้บุกรุกผืนป่า
ลำดับที่ กระทรวงที่พึ่งด้านการทวงที่ดินคืนจากผู้บุกรุกผืนป่า ค่าร้อยละ
1 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 79.0
2 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 12.8
3 กระทรวงมหาดไทย 3.5
4 กระทรวงกลาโหม 1.0
5 อื่น ๆ อาทิกระทรวงการคลังกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นของมนุษย์ เป็นต้น 3.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่7 แสดงค่าร้อยละของแกนนำชุมชนที่ระบุ ความเห็นต่อการใช้เสรีภาพทางวิชาการในการเคลื่อนไหวทางการเมือง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรใช้อย่างมีขอบเขต และมีเงื่อนไข 90.8
2 ไม่ควรมีขอบเขต ไม่ต้องมีเงื่อนไข 9.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างแกนนำชุมชนระบุ สิ่งที่อยากให้นักวิชการใช้เสรีภาพทางวิชาการเพื่อทำให้เกิดการปฏิรูปประเทศไทยด้านต่างๆ มากที่สุด
ลำดับที่ การใช้เสรีภาพเพื่อการปฏิรูปด้านต่างๆ ค่าร้อยละ
1 กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม 27.0
2 การเมือง 21.8
3 เศรษฐกิจ 19.1
4 การบริหารราชการแผ่นดิน 9.6
5 การปกครองท้องถิ่น 6.7
6 การศึกษา 6.2
7 ด้านสังคม 5.9
8 สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม 1.2
9 สื่อสารมวลชน 0.8
10 ด้านพลังงาน 0.8
11 ด้านอื่นๆ 0.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างแกนนำชุมชนที่ระบุ ช่องทางของการเคลื่อนไหวทางวิชาการที่อยากเห็นเพื่อความสงบสุขของบ้านเมืองอย่างยั่งยืน
ลำดับที่ ช่องทางของการเคลื่อนไหวทางวิชาการเพื่อความสงบสุขของบ้านเมือง ค่าร้อยละ
1 สภาปฏิรูปแห่งชาติทั้ง11 ด้าน 70.6
2 การจัดเวทีทางวิชาการ 9.5
3 การยื่นหนังสือที่ศูนย์ดำรงธรรม 8.2
4 การใช้สื่อมวลชนเป็นช่องทาง 6.5
5 การออกมาแสดงออกเชิงสัญญลักษณ์เช่น ปี๊ปคลุมหัว ชูมือ ชูนิ้ว เป็นต้น 3.7
6 อื่นๆ เช่นการออกมาชุมนุมการพูดคุยในกลุ่ม เป็นต้น 1.5
รวมทั้งสิ้น 100.0