กรุงเทพฯ--29 ก.ย.--สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
เกาะหมากเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับสามในท้องทะเลตราด รองลงมาจากเกาะช้างและเกาะกูด พื้นที่บนเกาะหมากส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีสวนมะพร้าว สวนยาง โดยรอบมีอ่าวและชายหาดที่สวยงามมากมาย มีน้ำทะเลสีฟ้าใส เช่น บริเวณอ่าวตานิด อ่าวไผ่ อ่าวโปร่ง อ่าวผาด อ่าวลอม อ่าวตาโล่ง อ่าวแดง อ่าวขาว อ่าวพระ อ่าวสวนใหญ่ แหลมตุ๊กตา แหลมสน
นักท่องเที่ยวสามารถเพลิดเพลินกับการท่องเที่ยวทางน้ำในบริเวณหมู่เกาะหมาก ซึ่งประกอบด้วย เกาะหมาก เกาะกระดาด เกาะระยั้งใน เกาะระยั้งนอก เกาะผี เกาะขาม เกาะนก เกาะนอก เกาะใน บริเวณชายฝั่งรอบเกาะและเกาะใกล้เคียงมีแนวปะการังที่สมบูรณ์ และสวยงาม มีปลาที่สีสันสวยงาม ฤดูกาลท่องเที่ยวเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม-พฤษภาคม
มากกว่าความสวยงาม คือ เรื่องราวของเกาะหมากที่มีความเป็นมากว่า 100 ปีชุมชนดั้งเดิมบนเกาะหมากส่วนใหญ่เป็นเขมรเชื้อชาติไทยที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเมื่อครั้งเมืองประจันตคีรีเขตร หรือเกาะกงเป็นของฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2447 โดยมีหลวงพรหมภักดี ต้นตระกูลตะเวทิกุลเป็นผู้ควบคุมคนจีนบนเกาะกง คนบนเกาะส่วนใหญ่เป็นเครือญาติกัน มีอาชีพเกษตรกรรมทำสวนยางพารา และสวนมะพร้าว จนเกาะหมากได้ชื่อว่าเป็นแหล่งปลูกมะพร้าวที่สำคัญของจังหวัดตราด ต่อมา จึงได้ขยายมาทำธุรกิจด้านการท่องเที่ยว
ทำไม อพท. จึงพัฒนาในแนวทาง Low Carbon
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) หรือ (DASTA) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2546 เพื่อมุ่งประสาน ส่งเสริมและสนับสนุน ภาคีต่างๆ ในชุมชนและท้องถิ่นเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ภายใต้นโยบายขับเคลื่อนการปฏิบัติงานในกรอบนโยบายหลัก การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ Low Carbon Tourism โดยอพท. ได้พัฒนาชุมชน บนเกาะหมากให้มีการรวมกลุ่มกันเป็น Low Carbon Family ที่มีทั้งภาคธุรกิจ ภาคราชการและประชาชน จำนวน 45 ราย เพื่อลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ ใน 4 ประเด็น คือ
(1) การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและการใช้พลังงานทางเลือก
(2) การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
(3) การบริหารจัดการขยะ
(4) รักษาวิถีชีวิตชุมชน
รวมทั้ง ยังได้รับความร่วมมือและความเข้มแข็งของท้องถิ่นในเกาะหมากเองก็มีการลงนามปฏิญญาเกาะหมาก Low Carbon Destination เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2555 ในการร่วมกันดูแลให้เกาะหมากการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ Low Carbon Tourism
ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวแบบ Low Carbon Destination
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) หรือ (DASTA) ร่วมกับ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) ภาคีเครือข่าย ธุรกิจการท่องเที่ยว ชุมชนเกาะหมาก ร่วมกันสร้างแบรนด์อิมเมจ หรือภาพลักษณ์โลว์คาร์บอนเดสติเนชั่น ดึงนักท่องเที่ยวคุณภาพด้วย แบรนด์ Low Carbon Destination @ Koh Mak เพื่อนำไปสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เพื่อให้เกิดความสมดุลทั้งเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม
เพื่อสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ Low Carbon Tourism ไปสู่นักท่องเที่ยวจึงพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ อาทิ การขี่จักรยานไปเยี่ยมชมจุดชมวิวต่างๆและเส้นทางชมธรรมชาติต่างๆ การล่องเรือใบไปตามเกาะต่างๆ ฯลฯ
กิจกรรมการท่องเที่ยว อาทิ
1. การสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวแบบ Low Carbon
2. การร่วมกิจกรรมรณรงค์….การเป็นนักท่องเที่ยวโลว์คาร์บอน Low Carbon Tourist
แคมเปญ “Let’s keep Koh Mak : Counting to 10,000 trees ” รณรงค์ปลูกต้นไม้ 10,000 ต้น
เพื่อการมีส่วนร่วมระหว่างนักท่องเที่ยวและชุมชนท้องถิ่น
พันตรีหญิงจรัสพิมพ์ ธีรลักษณ์ รณรงค์แคมเปญ นับหนึ่ง..สู่หมื่นต้นโดยปลูกต้นหมากต้นแรกเพื่อเป็นสัญลักษณ์การร่วมกันปลูกต้นไม้ สร้างอากาศที่บริสุทธิ์และความสวยงาม ร่มเย็น สดชื่นให้แก่ชุมชน
แคมเปญ “Eat It Fresh” รณรงค์กินอาหารที่หาได้ในท้องถิ่น ลดการนำอาหารที่มาจากนอกพื้นที่ เพื่อลดการขนส่งจากนอกพื้นที่
3. การร่วมสัมผัสบรรยากาศ…การร่วมมือ ร่วมใจของชุมชนเป็นเจ้าบ้านต้อนรับ..แขกผู้มาเยือน
งานเกาะหมาก...สำราญบานใจ เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2557 ณ ท่าเรืออ่าวตานิด เกาะหมาก
การประกวดภาพจำ เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยว
สร้างประสบการณ์การรับรู้แบรนด์ Brand Experience ผ่านภาพ 3 D
อพท. เป็นสักขีพยานการเป็น Low Carbon Destination ของเจ้าบ้าน…เกาะหมาก
การนำเสนอคลิปสั้นๆ นำเสนอเรื่องราวความน่ารัก…ของชุมชนคนเกาะหมาก เพื่อสื่อสาร สร้างการรับรู้ภายนอกหรือกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศ
กิจกรรม Famtrip ต้อนรับนายกสมาคมและผู้แทนสมาคม TEATA และคณะสื่อมวลชน ร่วมเปิดสัมผัสประสบการณ์ กิจกรรมการท่องเที่ยว…สไตล์โลว์คาร์บอน
รับ Welcome Drink และชมพิพิธภัณฑ์เกาะหมาก
กิจกรรมล่องเรือใบท่องเที่ยวเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวหมู่เกาะช้าง รวมทั้งเปิดตลาดใหม่ๆกลุ่มเรือยอร์ชที่มาจากแถวพัทยา โอเชี่ยนมารีน่า โดยมีเป้าหมายเชื่อมโยงไปเกาะกง ประเทศกัมพูชา
การเที่ยวชมหมู่เกาะข้างเคียงต่างๆ เกาะกระดาด เกาะขาม
คณะเดินทางไป ณ โรงแรมชินนามอน เพื่อขึ้นเรือเร็วข้ามไปยังเกาะกระดาด โดยความพิเศษของสะพานนี้ คือ การนำพลังงานโซลาเซลมาใช้เป็นกระแสไฟฟ้าเพื่อให้ความสว่างให้แก่สะพานที่ทอดยาวจนสุดตา
คณะเดินทางมาถึงเกาะแรก คือ เกาะกระดาด (Koh Kradad) เป็นเกาะที่ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน UNSEEN THAILAND เหตุที่ได้ชื่อว่าเกาะกระดาดเพราะแต่เดิมมีต้นกระดาดขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก อีกทั้งรูปร่างของเกาะมีลักษณะแบนราบเหมือนแผ่นกระดาษ เกาะกระดาดห่างจากเกาะหมากในบริเวณที่ใกล้ที่สุด คือ แหลมสนโดยมีระยะ ทางห่างประมาณ 1 กิโลเมตร อีกหนึ่งไฮไลท์ประจำเกาะกระดาดก็คือ เจ้ากวางน้อยใหญ่ ที่พร้อมใจกันมาเหลียวหน้า เหลียวหลังอวดโฉมเหล่าอาคันตุกะที่ขึ้นมาเยือนเกาะ
เดิมว่ากันว่า บนเกาะนี้มีกวางเพียง 6 ตัว ซึ่งเจ้าของเกาะนำจากเขาเขียวมาเลี้ยงเอาไว้ จนออกลูกหลาน เหลน โหลน มากมาย ปัจจุบันบนเกาะกระดาดมีกวางหลายร้อยตัว จนได้รับฉายาว่าเป็น “ซาฟารีกลางทะเล”
เกาะต่อมา เกาะขาม
ขึ้นชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งไข่มุกมรกตแห่งทะเลตราด ลักษณะเด่นของ เกาะขาม มีธรรมชาติค่อนข้างสมบูรณ์ หาดทรายขาว(สันทราย)ทอดยาวออกไปในทะเลประมาณ 300 ม. และหมู่หินภูเขาไฟตั้งอยู่เรียงรายกับแนวปะการังหลากชนิดรอบๆเกาะ น้ำทะเลใสตลอดปี
การเยี่ยมชม Energy Park …การจัดการขยะอย่างครบวงจร
แหล่งท่องเที่ยวต่างๆต้องเผชิญกับปัญหาเรื่องขยะที่มาพร้อมกับการท่องเที่ยว ดังนั้น อพท.จึงเข้ามาให้คำแนะนำ ด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและขยะ ศูนย์ Energy Park เพื่อให้มีการจัดการขยะอย่างครบวงจร ตั้งแต่ การใช้เครื่องร่อนคัดแยกขยะที่สามารถนำมาใช้ใหม่ การใช้เทคโนโลยีการผลิตก๊าซเชื้อเพลิงจากขยะชุมชน การใช้เทคโนโลยีการหมักปุ๋ยอินทรีย์ และ การดำเนินการจัดการขยะโดยใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีการแปรรูปขยะ เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง วิธีการ pyrolysis
กิจกรรมพบปะสังสรรค์ กลุ่มผู้ร่วมมือพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวภายใน เกาะหมากให้กลายเป็นการท่องเที่ยวโลวคาร์บอน
เกาะหมากเป็นเกาะที่มีความโดดเด่นเรื่อง การใช้พลังงานทางเลือก โดยเฉพาะการใช้ระบบโซลาร์เซลล์และการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ในการจ่ายไฟฟ้าให้เครื่องทำน้ำอุ่น ทีวี หลอดไฟ ไปจนถึงระบบน้ำหมุนเวียนของสระว่ายน้ำ คณะได้ไปเยี่ยมชมสระว่ายน้ำของเกาะหมารีสอร์ทที่เราได้ไปชมกันถึงระบบ การทำงาน อุปกรณ์ต่างๆอย่างใกล้ชิด
จากนั้น คณะได้แวะมาชมการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ในการจ่ายไฟฟ้าให้เครื่องทำน้ำอุ่น ทีวี หลอดไฟณ โรงแรม Coco Capeคณะของเราจบทริปท่องเที่ยวสไตล์โลว์คาร์บอน….ด้วยความสดใส ด้วยรอยยิ้มและความประทับใจ