สะท้อนมุมมอง ความคิดจากประเทศสมาชิก เดินหน้าสู่ความมั่นคงด้านวัคซีนของอาเซียน

ข่าวทั่วไป Thursday October 16, 2014 13:42 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--16 ต.ค.--โพร์พี.แอดส์ ปัจจุบันแม้หลายประเทศในอาเซียนจะมีศักยภาพในการวิจัยพัฒนาและสามารถผลิตวัคซีนได้เอง แต่ก็ยังมีข้อจำกัดที่แตกต่างกันยังไม่มีประเทศไหนในอาเซียนที่สามารถผลิตวัคซีนได้ครบทุกชนิด และจากสะท้อนมุมมองความคิดของประเทศสมาชิกในการประชุมเชิงปฏิบัติการหัวข้อ“โอกาสของการสร้างความมั่นคงด้านวัคซีนในอาเซียน” ซึ่งจัดขึ้นที่จังหวัดภูเก็ตได้ตอกย้ำอย่างชัดเจนว่าเป้าหมายของเหล่าประเทศสมาชิกยังคงเห็นไปในทิศทางเดียวกัน นั่นคือทุกประเทศต้องหันหน้ามาร่วมมือกันเพื่อดูแลสุขภาพของประชากรอาเซียนด้วยการสร้างความมั่นคงด้านวัคซีนให้เกิดขึ้นในภูมิภาค โดยDr. Kyaw Kan Kaung Project Manager Expanded Programme on Immunization ,Department of Health,Epidemiology Unit Myanmarผู้แทนจากหน่วยระบาดวิทยากรมอนามัยประเทศพม่าบอกว่าโรคที่เป็นปัญหาของประเทศพม่าคือปัญหา HIV โรคมาลาเรีย โรคในเด็ก โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจและโรคอุจาระร่วง ซึ่งปัจจุบันทางพม่ามีแผนงานควบคุมโรคที่ดี ความชุกของ HIVลดลงไม่เป็นปัญหาและภาระโรคของประเทศอีกต่อไป ในขณะที่ปัจจุบันพบว่าประชาชนพม่ากำลังประสบกับปัญหาเรื่องโรคไม่ติดต่อ ซึ่งเป็นโรคที่ทางพม่าให้ความสนใจป้องกัน เช่นโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน ฯลฯ ส่วนโรคมาลาเรีย และวัณโรคซึ่งอยู่ในแผนงานควบคุมป้องกันโรคขณะนี้สามารถควบคุมให้อยู่ในระดับต่ำได้แล้ว สำหรับศักยภาพด้านวัคซีนของพม่าทางDr. Kyaw Kan Kaungบอกว่าวัคซีนที่สามารถผลิตได้ตอนนี้คือวัคซีนป้องกันตับอักเสบบีโดยจะใช้กับผู้ใหญ่และที่กำลังพัฒนาคือวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและได้ Pentavalent Vaccine ได้แก่ โรคคอตีบ diphtheria, บาดทะยัก tetanus, ไอกรน whooping cough, ไวรัสตับอักเสบ บี hepatitis B ,ไข้หวัดใหญ่ ชนิด บี Haemophilus influenza type b ส่วนวัคซีนที่ใช้ในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและวัคซีนชนิด 1 เข็ม ป้องกันโรค 5 โรคในเด็กได้จากยูนิเซฟ และได้จาก Global Alliance for Vaccines and Immunizations - GAVI หน่วยงานบริจาควัคซีน “การประชุมครั้งนี้ทำให้ได้เรียนรู้ใน 4 ด้านคือ การวิจัยพัฒนา การผลิต การบริหารจัดการ การควบคุมคุณภาพ ขอบคุณที่สถาบันวัคซีนแห่งชาติฯจัดการประชุมขึ้น ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในการพัฒนางานด้านวัคซีนทั้ง 4 ด้านโดยจะนำข้อสรุปที่ได้จากการประชุมไปรายงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมดำเนินการต่อไป ทั้งนี้มองว่าการจะผลักดันให้ความมั่นคงด้านวัคซีนของอาเซียนเดินหน้าสู่ความสำเร็จ ได้นั้น หัวใจสำคัญขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้เกี่ยวข้องระดับนโยบายและผู้บริหารระดับสูงของแต่ละประเทศ และการสนับสนุนจากองค์กรระหว่างประเทศ อย่าง องค์การอนามัยโลก เพราะการพัฒนาวัคซีนนั้นต้องใช้เวลาที่ยาวนานกว่าจะเข้าถึงจุดหมายปลายทาง” ส่วนผู้แทนจากประเทศอินโดนีเซียอย่างMoriana Hutabarat National Agency of Drug and Food Controlบอกว่าปัญหาโรคที่พบในประเทศคือวัณโรคดื้อยา และยังมีโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคความดัน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ส่วนศักยภาพทางด้านวัคซีนของอินโดนีเซียนั้นปัจจุบันมีโรงงานผลิตวัคขนาดใหญ่อยู่ 1 แห่งคือไบโอฟาร์มา ซึ่งสามารถผลิตวัคซีนเพียงพอใช้ในประเทศและสามารถส่งขายให้กับองค์การอนามัยโลกด้วย และยังมีวัคซีน ที่หน่วยงานIRAของอินโดนีเซียสนับสนุนให้ได้มาตรฐานที่ไบโอฟาร์มาสามารถผลิตได้ เช่น วัคซีนป้องกันหัดเยอรมัน วัคซีนไข้หวัดใหญ่(ใช้เฉพาะภายในประเทศ) ซึ่งสิ่งที่ได้จากการประชุมครั้งนี้ทำให้ได้เรียนรู้ว่าการพัฒนาด้านวัคซีนนั้นประเทศใดประเทศหนึ่งไม่สามารถทำได้เพียงลำพัง มิตรประเทศต้องร่วมมือกันจึงจะสามารถตอบโจทย์ในการสร้างความมั่นคงด้านวัคซีนของอาเซียนได้ ด้านNguyen Thuy HuoRepresentผู้แทนจากประเทศเวียดนามบอกว่าโรคที่เป็นปัญหาของประเทศเวียดนามที่พบมากสุดคือโรคอุจจาระร่วงหรือโรต้าไวรัส ซึ่งปัจจุบันเวียดนามสามารถผลิตวัคซีนโรตาได้แล้ว และได้บรรจุในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของประเทศเรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะเริ่มมีการใช้วัคซีนโรตาได้ในปี 2016 ส่วนโรคโปลิโอที่เคยพบว่าเป็นปัญหาของประเทศปัจจุบันสามารถกวาดล้างได้แล้ว และกำลังจะมีการเปลี่ยนแผนการใช้วัคซีนโปลิโอ จาก OPV (แบบหยอด)เป็น IPV (แบบฉีด)และจะบรรจุในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในปี 2016 เช่นกันโดยกำหนดให้ OPV 2 ครั้ง และให้ IPV 1 ครั้ง และในปี 2018 จะกำหนดให้ใช้ IPV เพียงชนิดเดียว ทั้งนี้ยังมีวัคซีนอีกหลายชนิดที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีจากญี่ปุ่นอย่างเช่น วัคซีน MMR วัคซีนหัด – หัดเยอรมันฯลฯ ในขณะที่โรคไข้เลือดออกนั้นตอนนี้พบว่ายังเป็นปัญหาอยู่ “ถึงแม้ปัจจุบันเวียดนามจะสามารถผลิตวัคซีนที่ใช้ในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคได้ทุกชนิด แต่ใช้ได้เฉพาะภายในประเทศเท่านั้นไม่สามารถส่งออกขายได้ เพราะหน่วยงานที่ควบคุมกำกับดูแลNRA ของเวียดนามยังไม่ผ่านการรับรองจากองค์การอนามัยโลก และเวียดนามมีความตั้งใจจะส่งออกวัคซีนโดยกำลังพัฒนาให้หน่วยงาน NRAได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก สำหรับการมาประชุมครั้งนี้ถือว่ามีประโยชน์มาก ช่วยให้ได้ข้อมูล ข่าวสารและได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการที่จะเข้าถึงวัคซีนได้ในราคาถูก ได้เข้าใจว่าความมั่นคงด้านวัคซีนของอาเซียนหมายถึงอะไรและได้ทราบถึงแนวทางที่แต่ละประเทศจะร่วมมือกันเพื่อบรรลุสู่เป้าหมายในการสร้างความมั่นคงด้านวัคซีนให้กับภูมิภาคอาเซียน”ด้าน ในขณะที่ ดร.นพ.จรุง เมืองชนะ ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ(องค์การมหาชน)หรือ “สวช.” จากประเทศไทยกล่าวว่าตอนนี้อาเซียนมีผู้ผลิตวัคซีนได้ 3-4 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ไทย เวียดนาม พม่า ขณะที่อินโดนีเซียเป็นผู้ที่ผลิตได้มากสุดและมีการส่งออกเป็นส่วนใหญ่แต่ก็ยังมีปัญหาการขาดแคลนวัคซีนอยู่ เวียดนามยังมีปัญหาเรื่องการรับรองคุณภาพจากองค์การอนามัยโลกและยังส่งออกไม่ได้ ส่วนไทยผลิตมานานแต่ก็อ่อนแรงไป จึงมีการตั้งสถาบันวัคซีนขึ้นมา เพราะการผลิตวัคซีนต้องใช้ต้นทุนสูงและระยะเวลานาน การที่หลายประเทศในอาเซียนยังมีศักยภาพอยู่และมารวมตัวกันถือเป็นโอกาสที่ดี ดีกว่าจะมาแข่งกันเอง แม้จะผลิตวัคซีนชนิดเดียวกัน แบ่งกันผลิต หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ตั้งแต่ระดับวิจัย ดูแลคุณภาพ หรืออาจมีการซื้อวัคซีนร่วมกันก็สามารถต่อรองราคากับผู้ผลิตวัคซีนทั่วโลกได้ เพราะยังไม่มีประเทศไหนในภูมิภาคนี้ที่สามารถผลิตวัคซีนได้ทุกตัว ซึ่งปัจจุบันทั่วโลกมีโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนประมาณ 26 โรค โดยวัคซีนที่ไทยนำมาใช้มี 11 โรค และมีวัคซีนที่อยู่ในขั้นกำลังพัฒนา เช่น วัคซีนไข้เลือดออก โรคฉี่หนู โรคชิคุนกุนยา โรคมือเท้าปาก ส่วนประเทศไทยวัคซีนที่สนใจจะพัฒนาคือโรคที่เป็นปัญหาประจำถิ่นและปัญหาของภูมิภาค
แท็ก อาเซียน  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ