กรุงเทพฯ--22 ต.ค.--BRAINASIA
ฝ่ายุควิกฤติพลังงานและสิ่งแวดล้อมสู่นวัตกรรมยานยนต์เพื่อความยั่งยืน วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์(วสท.) ร่วมกับสมาคมวิศวกรรมยานยนต์ไทย เปิดเวทีกระตุ้นไอเดียคนรุ่นใหม่ ส่งผลงานประชันบนเวทีประกวดออกแบบ สร้างและพัฒนายานยนต์ประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือที่เรียกว่าECO CHALLENGE 2014-15 ในกลุ่มเป้าหมายนิสิตนักศึกษาทั่วประเทศ ลงสนามชิงชัยวันที่ 13-14 พย.2557 ณ. สนามทดสอบไทยบริดจสโตน ถ.พหลโยธิน ชิงรางวัลรวม 105,000 บาท พร้อมถ้วยเกียรติยศ
ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) กล่าวว่า “ประเทศไทยเรานั้นเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์อันดับ 1 ในอาเซียนและส่งออกรถยนตร์ไปทั่วโลก รวมทั้งชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ อีกทั้งเมื่อเร็วๆนี้ รัฐบาลได้ประกาศนโยบายส่งเสริมการลงทุนผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงาน หรือ อีโคคาร์ เฟส 2 ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเป็นผูส่งออกรถยนต์อีโค คาร์ อันดับ 1 และจะเป็นศูนย์กลางอีโค คาร์ ของโลกในอนาคต เราจึงจัดการจัดประกวด ECO CHALLENGE 2014-15 เพื่อเสริมศักยภาพของนักศึกษาคนรุ่นใหม่ของไทยให้สั่งสมประสบการณ์ ทักษะทางวิศวกรรมยานยนต์ของเยาวชนคนรุ่นใหม่ พัฒนาบุคลากรด้านยานยนต์ของไทย ส่งเสริมการออกแบบ การสร้างยานยนต์และการจัดการอย่างครบวงจร ต่อยอดนวัตกรรมด้านยานยนต์ให้ก้าวหน้ามากกว่าการรับจ้างผลิต ส่งเสริมนวัตกรรมยานพาหนะที่ใช้พลังงานทางเลือก โดยฝีมือนิสิต นักศึกษา อันจะนำไปสู่การแข่งขันระดับภูมิภาคอาเซียนและระดับโลก ตลอดจนเพื่อพัฒนาและส่งเสริมทักษะการขับขี่อย่างประหยัดพลังงาน”
ผศ.ดร.วิทิต ปานสุข ประธานจัดงาน และประธานยุววิศวกร วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) กล่าวว่า “การแข่งขัน ECO CHALLENGE 2014-15 แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. ประเภทรถต้นแบบ (Prototype) เป็นรถในอนาคตที่เป็นการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ออกแบบให้ประหยัดพลังงานมี 3 หรือ 4 ล้อก็ได้ 2.ประเภทรถวิ่งในเมือง (Urban Concept) เป็นรถยนต์ 4 ล้อ ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ (Plug-in) 3. ประเภทรถใช้งานจริง (Smart Vehicle)ใช้พลังงานไฟฟ้า (Plug-in) ผู้ส่งผลงานเข้าแข่งขันเป็นนิสิต นักศึกษา จากสถาบันการศึกษาและมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ สำหรับขั้นตอนการจัดการแข่งขัน หลังจากผู้สนใจสมัครแล้ว ทางวสท. ได้จัดปฐมนิเทศและแนะนำกฎกติกาในเดือนกันยายนที่ผ่านมา จากนั้นให้ผู้เข้าแข่งขันส่งแบบทางเทคนิค ภายใน 4 พฤศจิกายน 2557 ผู้สนใจติดต่อ 02-319-2410 -3 Email: chadaporn.eit@gmail.com
คณะกรรมการจะประกาศผลการตรวจสอบจากแบบเทคนิค ภายในสัปดาห์แรกของเดือนพฤศจิกายน 2557 ทีมผู้ที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศจะนำยานยนต์สู่สนามแข่ง เพื่อตรวจสภาพยานยนต์และนำเสนอปากเปล่าแก่คณะกรรมการในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2557 ณ. สนามทดสอบไทยบริดจสโตน ถ.พหลโยธิน อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา
ส่วนในวันแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ECO CHALLENGE 2014-15 กำหนดจัดในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2557 เป็นการนำยานยนต์วิ่งแข่งขันในระยะทางรวม 10 กิโลเมตร โดยวิ่งรอบละ 2 กิโลเมตร จำนวน 5 รอบ แต่ละทีมสามารถวิ่งได้มากที่สุด 3 ครั้ง โดยจะเอาคะแนนที่ดีที่สุดมาพิจารณา ในการวิ่งแต่ละครั้งต้องใช้ความเร็วเฉลี่ยที่กำหนดคือไม่ต่ำกว่า 30 กม.ต่อชั่วโมงสำหรับรถชนิด Prototype และไม่ต่ำกว่า 25 กม.ต่อชั่วโมงสำหรับรถชนิดUrban Conceptและรถชนิด Smart Vehicle”
ประธานยุววิศวกร วสท.และประธานจัดงาน กล่าวเสริมว่า “ในด้านอุปกรณ์ของผู้ขับยานยนต์มีข้อกำหนดสำหรับน้ำหนักของผู้ขับซึ่งอยู่ในชุดแข่งขันและรวมอุปกรณ์สื่อสารทุกชนิดแล้ว จะต้องมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 50 กิโลกรัมสำหรับรถต้นแบบ และไม่น้อยกว่า 70 กิโลกรัมสำหรับรถในเมือง กรณีน้ำหนักไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด ต้องจัดหาน้ำหนักถ่วงเพิ่มตามเกณฑ์ ส่วนคะแนนและการตัดสิน มี 2 ส่วนคือ คะแนนจากการนำเสนอการออกแบบ (13 พ.ย.) 50 คะแนน และคะแนนจากการวิ่งแข่งขัน (14 พ.ย.) 100 คะแนน ทีมใดทำคะแนนได้สูงสุดเป็นผู้ชนะเลิศ สำหรับเงินรางวัล รวมทั้งสิ้น 105,000 บาท แบ่งเป็น รางวัลการแข่งขัน รถต้นแบบ (Prototype) ประเภทรถยนต์ต้นแบบเครื่องยนต์สันดาปภายใน และรถยนต์ต้นแบบไฟฟ้า รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัล 15,000 บาท, รางวัลที่ 2 เงินรางวัล 10,000 บาท และรางวัลที่ 3 เงินรางวัล 5,000 บาท ส่วนรางวัลสำหรับประเภท รถวิ่งในเมือง (Urban Concept) ประเภทพลังงานไฟฟ้า รางวัลที่ 1 เงินรางวัล 20,000 บาท, รางวัลที่ 2 เงินรางวัล 15,000 บาท และรางวัลที่ 3 เงินรางวัล 10,000 บาท
โดยจะมอบให้ในวันที่ 29 พย.บนเวทีในงานวิศวกรรม’ 57 ซึ่งเป็นงานนิทรรศการและผลิตภัณฑ์ด้านวิศวกรรมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ณ ไบเทคบางนา ”
นับเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมดีๆ เพื่อส่งเสริมศักยภาพของเยาวชนคนรุ่นใหม่ของไทยให้กล้าคิด กล้าทำ และสร้างเสริมประสบการณ์การทำงานเป็นทีม ใช้พลังสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ จัดประกวด ECO CHALLENGE ปี 2014-15
เปิดเวทีคนรุ่นใหม่ประชันยานยนต์ประหยัดพลังงาน ลงสนามชิงชัย 13-14 พย.นี้
ฝ่ายุควิกฤติพลังงานและสิ่งแวดล้อมสู่นวัตกรรมยานยนต์เพื่อความยั่งยืน วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์(วสท.) ร่วมกับสมาคมวิศวกรรมยานยนต์ไทย เปิดเวทีกระตุ้นไอเดียคนรุ่นใหม่ ส่งผลงานประชันบนเวทีประกวดออกแบบ สร้างและพัฒนายานยนต์ประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือที่เรียกว่าECO CHALLENGE 2014-15 ในกลุ่มเป้าหมายนิสิตนักศึกษาทั่วประเทศ ลงสนามชิงชัยวันที่ 13-14 พย.2557 ณ. สนามทดสอบไทยบริดจสโตน ถ.พหลโยธิน ชิงรางวัลรวม 105,000 บาท พร้อมถ้วยเกียรติยศ
ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) กล่าวว่า “ประเทศไทยเรานั้นเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์อันดับ 1 ในอาเซียนและส่งออกรถยนตร์ไปทั่วโลก รวมทั้งชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ อีกทั้งเมื่อเร็วๆนี้ รัฐบาลได้ประกาศนโยบายส่งเสริมการลงทุนผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงาน หรือ อีโคคาร์ เฟส 2 ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเป็นผูส่งออกรถยนต์อีโค คาร์ อันดับ 1 และจะเป็นศูนย์กลางอีโค คาร์ ของโลกในอนาคต เราจึงจัดการจัดประกวด ECO CHALLENGE 2014-15 เพื่อเสริมศักยภาพของนักศึกษาคนรุ่นใหม่ของไทยให้สั่งสมประสบการณ์ ทักษะทางวิศวกรรมยานยนต์ของเยาวชนคนรุ่นใหม่ พัฒนาบุคลากรด้านยานยนต์ของไทย ส่งเสริมการออกแบบ การสร้างยานยนต์และการจัดการอย่างครบวงจร ต่อยอดนวัตกรรมด้านยานยนต์ให้ก้าวหน้ามากกว่าการรับจ้างผลิต ส่งเสริมนวัตกรรมยานพาหนะที่ใช้พลังงานทางเลือก โดยฝีมือนิสิต นักศึกษา อันจะนำไปสู่การแข่งขันระดับภูมิภาคอาเซียนและระดับโลก ตลอดจนเพื่อพัฒนาและส่งเสริมทักษะการขับขี่อย่างประหยัดพลังงาน”
ผศ.ดร.วิทิต ปานสุข ประธานจัดงาน และประธานยุววิศวกร วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) กล่าวว่า “การแข่งขัน ECO CHALLENGE 2014-15 แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. ประเภทรถต้นแบบ (Prototype) เป็นรถในอนาคตที่เป็นการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ออกแบบให้ประหยัดพลังงานมี 3 หรือ 4 ล้อก็ได้ 2.ประเภทรถวิ่งในเมือง (Urban Concept) เป็นรถยนต์ 4 ล้อ ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ (Plug-in) 3. ประเภทรถใช้งานจริง (Smart Vehicle)ใช้พลังงานไฟฟ้า (Plug-in) ผู้ส่งผลงานเข้าแข่งขันเป็นนิสิต นักศึกษา จากสถาบันการศึกษาและมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ สำหรับขั้นตอนการจัดการแข่งขัน หลังจากผู้สนใจสมัครแล้ว ทางวสท. ได้จัดปฐมนิเทศและแนะนำกฎกติกาในเดือนกันยายนที่ผ่านมา จากนั้นให้ผู้เข้าแข่งขันส่งแบบทางเทคนิค ภายใน 4 พฤศจิกายน 2557 ผู้สนใจติดต่อ 02-319-2410 -3 Email: chadaporn.eit@gmail.com
คณะกรรมการจะประกาศผลการตรวจสอบจากแบบเทคนิค ภายในสัปดาห์แรกของเดือนพฤศจิกายน 2557 ทีมผู้ที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศจะนำยานยนต์สู่สนามแข่ง เพื่อตรวจสภาพยานยนต์และนำเสนอปากเปล่าแก่คณะกรรมการในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2557 ณ. สนามทดสอบไทยบริดจสโตน ถ.พหลโยธิน อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา
ส่วนในวันแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ECO CHALLENGE 2014-15 กำหนดจัดในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2557 เป็นการนำยานยนต์วิ่งแข่งขันในระยะทางรวม 10 กิโลเมตร โดยวิ่งรอบละ 2 กิโลเมตร จำนวน 5 รอบ แต่ละทีมสามารถวิ่งได้มากที่สุด 3 ครั้ง โดยจะเอาคะแนนที่ดีที่สุดมาพิจารณา ในการวิ่งแต่ละครั้งต้องใช้ความเร็วเฉลี่ยที่กำหนดคือไม่ต่ำกว่า 30 กม.ต่อชั่วโมงสำหรับรถชนิด Prototype และไม่ต่ำกว่า 25 กม.ต่อชั่วโมงสำหรับรถชนิดUrban Conceptและรถชนิด Smart Vehicle”
ประธานยุววิศวกร วสท.และประธานจัดงาน กล่าวเสริมว่า “ในด้านอุปกรณ์ของผู้ขับยานยนต์มีข้อกำหนดสำหรับน้ำหนักของผู้ขับซึ่งอยู่ในชุดแข่งขันและรวมอุปกรณ์สื่อสารทุกชนิดแล้ว จะต้องมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 50 กิโลกรัมสำหรับรถต้นแบบ และไม่น้อยกว่า 70 กิโลกรัมสำหรับรถในเมือง กรณีน้ำหนักไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด ต้องจัดหาน้ำหนักถ่วงเพิ่มตามเกณฑ์ ส่วนคะแนนและการตัดสิน มี 2 ส่วนคือ คะแนนจากการนำเสนอการออกแบบ (13 พ.ย.) 50 คะแนน และคะแนนจากการวิ่งแข่งขัน (14 พ.ย.) 100 คะแนน ทีมใดทำคะแนนได้สูงสุดเป็นผู้ชนะเลิศ สำหรับเงินรางวัล รวมทั้งสิ้น 105,000 บาท แบ่งเป็น รางวัลการแข่งขัน รถต้นแบบ (Prototype) ประเภทรถยนต์ต้นแบบเครื่องยนต์สันดาปภายใน และรถยนต์ต้นแบบไฟฟ้า รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัล 15,000 บาท, รางวัลที่ 2 เงินรางวัล 10,000 บาท และรางวัลที่ 3 เงินรางวัล 5,000 บาท ส่วนรางวัลสำหรับประเภท รถวิ่งในเมือง (Urban Concept) ประเภทพลังงานไฟฟ้า รางวัลที่ 1 เงินรางวัล 20,000 บาท, รางวัลที่ 2 เงินรางวัล 15,000 บาท และรางวัลที่ 3 เงินรางวัล 10,000 บาท
โดยจะมอบให้ในวันที่ 29 พย.บนเวทีในงานวิศวกรรม’ 57 ซึ่งเป็นงานนิทรรศการและผลิตภัณฑ์ด้านวิศวกรรมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ณ ไบเทคบางนา ”
นับเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมดีๆ เพื่อส่งเสริมศักยภาพของเยาวชนคนรุ่นใหม่ของไทยให้กล้าคิด กล้าทำ และสร้างเสริมประสบการณ์การทำงานเป็นทีม ใช้พลังสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม