กรุงเทพฯ--28 ต.ค.--วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
ย้อนกลับไปในตอนเริ่มแรก เมื่อการประชุม World Summit เรื่อง Information Society ที่เมือง Geneva ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2003 (พ.ศ. 2546) โดยเกิด “กลุ่มปฏิบัติการทางด้านธรรมาภิบาลทางอินเทอร์เน็ต หรือ Working Group on Internet Governance” และเริ่มจัดครั้งแรกที่เมือง Athens ประเทศ Greece ในปี ค.ศ. 2006 (พ.ศ. 2549) โดยใช้แก่น (Theme) ของงาน คือ “Internet Governance for Development (Openness, Security, Diversity, Access and Emerging Issues)”
ตามคำกล่าวที่ว่า “Everyone has the right to freedom of opinion and expression: this right includes freedom to hold opinions without interference and to seek, receive and impart information and ideas through any media and regardless of frontiers.” หรือทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความเห็นและการแสดงออก โดยสิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะมีความคิดเห็นโดยปราศจากการแทรกแซง แสวงหา การรับรู้ และเผยแพร่ข้อมูลความคิด ผ่านทุกสื่อโดยจำกัดพรมแดน เป็นการแสดงออกถึงสิทธิเสรีภาพ โดยเป็นการแสดงออกถึงเสรีภาพในการใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างอิสระ
เมื่อความเป็นจริงกับการกระทำนั้นแตกต่าง ดังเช่นหลายประเทศจัดทำหรือดำเนินการในการสร้างกรอบ หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าความปลอดภัยในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ซึ่งเมื่อสร้างความปลอดภัยขึ้น ย่อมก่อให้เกิดการลดอิสรภาพในการเข้าถึงข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ประเด็นที่หลากหลายจึงเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหัวข้อ Human Rights for The Internet: From Principles to Action หรือสิทธิมนุษยชนสำหรับอินเทอร์เน็ต : จากหลักการดำเนินการก็ดี The Press Freedom Dimensions of Internet Governance : อิสรภาพของสื่อมวลชนของธรรมภิบาลอินเทอร์เน็ตก็ดี Online Freedoms and Access to Information Online: เสรีภาพในการออนไลน์ และการเข้าถึงข้อมูลออนไลน์
โดยหัวข้อที่ยกตัวอย่างไปนั้น เกี่ยวข้องกับสิทธิและเสรีภาพของมนุษย์ชนต่อการใช้งานอินเทอร์เน็ต เมื่อโลก มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ตัวเทคโนโลยีสารสนเทศปัจจุบันก็ไม่เหมือนในอดีต ตัวบทกฎหมายเองก็ต้องปรับปรุง ให้สามารถรับมือกับอาชญากรรมอินเทอร์เน็ตได้
ทั้งนี้ ปัญหาส่วนใหญ่มาจากกลุ่ม Multi-stakeholder หรือกลุ่มของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากระบบอินเทอร์เน็ต และระบบสารสนเทศต่างๆ ยกตัวอย่างง่ายๆ หากเราใช้อินเทอร์เน็ตที่บ้าน เราต้องซื้อเราเตอร์จากบริษัทหนึ่งๆ และเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหนึ่งๆ และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตก็ได้สัมปทานมาจากรัฐบาลมาส่วนหนึ่ง ฯลฯ โดยทั้งหมดทั้งสิ้น บริษัทและส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดนี้ คือ Multi-stakeholder หรือ กลุ่มของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งเมื่อมีรายได้ย่อมต้องเกิดการแข่งขัน การเอารัดเอาเปรียบ การหาช่องโหว่ต่างๆ เพื่อให้สามารถดำเนิน กิจการอยู่ได้ ส่วนใหญ่แล้วปัญหาในแต่ละประเทศนั้น โดยละเอียดแล้วไม่เหมือนกัน แต่เมื่อดูภาพรวมทั้งประเทศนั้นเหมือนกัน เพียงแต่แตกต่างในระดับช่วงเวลาเท่านั้นเอง เช่น ประเทศด้อยพัฒนา-เพิ่งพัฒนา ประเทศกำลังพัฒนา- อยู่ระหว่างพัฒนา เป็นต้น ทำให้รัฐบาลแต่ละประเทศต้องอุดช่องโหว่-ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น และจับมือร่วมมือกันในการสร้างข้อตกลงร่วมกัน ในการสร้างมาตรฐานอินเทอร์เน็ต ตัวบทกฎหมายต่างๆ รวมทั้งนโยบายเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อสิทธิ เสรีภาพ (ภายใต้ความปลอดภัยที่รับหรือยอมรับได้)
แต่หัวข้อดังกล่าวดูแล้วไม่ใช่ประเด็น ของการปิดกั้นเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ตสำหรับผู้เขียน แต่เป็นแค่ปัญหาจุกจิกสำหรับนักกฎหมาย และนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนจะนำมาเล่นกันเท่านั้น แต่เนื้อหาที่เกี่ยวกับเสรีภาพคือความเท่าเทียมกันของการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตต่างๆ ซึ่งชอบหัวข้อของหน่วยงานหนึ่งคือ Internet Society Open Forum - ISOC @IGF: Dedicated to an Open Accessible Internet: ISOC การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตแบบเปิด
หัวข้อนี้จัดโดยสมาคมอินเทอร์เน็ตนานาชาติ (ISOC) แล้วทำไมผู้เขียนชื่นชอบ เพราะว่าทางสมาคมนี้เน้นพันธกิจที่จะส่งเสริมการเปิดอินเทอร์เน็ตให้สามารถเข้าถึงได้ เชื่อถือได้ และมีความยืดหยุ่นทั่วโลก โดยประเด็นที่เกี่ยวข้องนั้น เพื่ออำนวยความสะดวกสบาย นโยบาย และกฎระเบียบในการส่งเสริมอินเทอร์เน็ตสำหรับทุกคน โดยทีมงานจะมาจากทั่วโลก โดยมีสาขาย่อยตามประเทศต่างๆ (ประเทศไทยก็มีเช่นกัน) โดยเน้นหนักไปที่การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสำหรับทุกคนในทุกประเทศ
ไม่ใช่แต่ ISOC เท่านั้น หากเราเดินดูในงาน IGF 2014 ให้ดีๆ ก็จะพบกับสมาคมไม่แสวงหาผลกำไรมากมายที่ ชื่นชอบอีกส่วนหนึ่งก็คือ Seed Alliance ที่ทำตัวอย่างโครงการในการกระจายอินเทอร์เน็ตเข้าสู่ชนบทต่างๆ ที่รัฐบาลประเทศนั้นๆ เข้าไม่ถึง
สิ่งนี้ต่างหากคือการปิดกั้นเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ต หากรัฐบาลในแต่ละประเทศเข้าใจและพัฒนาให้การเข้าถึงมากขึ้น น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ได้อิสรภาพอย่างแท้จริง