กรุงเทพฯ--29 ต.ค.--กลุ่มสารนิเทศการคลัง กระทรวงการคลัง
นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผูอํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงขาวฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดประจำปีงบประมาณ 2557 (ตุลาคม 2556 – กันยายน 2557) ว่ารัฐบาลมีรายไดนําสงคลังทั้งสิ้น 2,070,018 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 93,451 ล้านบาท หรือรอยละ 4.3 มีสาเหตุหลักจากภาษีสรรพสามิตรถยนต์ที่จัดเก็บได้ต่ำกวาชวงเดียวกันปที่แล้ว เนื่องจากอุปสงครถยนตในประเทศที่ชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจและการสงมอบรถยนตภายใต้โครงการรถยนต์คันแรกเกือบครบทั้งโครงการแลวในปีงบประมาณก่อนหน้า ประกอบกับมีการปรับขั้นและอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและการปรับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ส่งผลให้จัดเก็บภาษีดังกล่าวได้ลดลง นอกจากนี้ ปีที่แล้วยังมีการนำส่งรายได้จากการประมูลให้ใช้คลื่นความถี่ 3 G ย่าน 2.1 GHz ในขณะที่การเบิกจ่ายเงินงบประมาณมีจํานวนทั้งสิ้น 2,459,990 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 57,509 ล?านบาท หรือร้อยละ 2.4 ทําให้ดุุลเงินงบประมาณขาดดุล 389,972 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 30,666 ล้านบาท ส่งผลให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดรวม 359,306 ล้านบาท โดยรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 250,000 ล้านบาท ทําให้ดุุลเงินสดหลังกู้ขาดดุลทั้งสิ้น 109,306 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นปีงบประมาณ 2557 มีจํานวนทั้งสิ้น 495,746 ล?านบาท
นายกฤษฎาฯ สรุปว่า “สถานะทางการคลังในปีงบประมาณ 2557 ยังมีความเข้มแข็งโดยมีระดับเงินคงคลังที่สูงเกือบ 5 แสนล้านบาท ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะเร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เร่งเบิกจ่ายงบประมาณปี 2558 ให้เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยสามารถขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามที่คาดการณ์ไว้”
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดปีงบประมาณ 2557
ปีงบประมาณ เปรียบเทียบ
2557 2556 จำนวน ร้อยละ
1. รายได้ 2,070,018 2,163,469 (93,451) (4.3)
2. รายจ่าย 2,459,990 2,402,481 57,509 2.4
3. ดุลเงินงบประมาณ (389,972) (239,012) (150,960) 63.2
4. ดุลเงินนอกงบประมาณ 30,666 845 29,821 3,529.1
5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) (359,306) (238,167) (121,139) 50.9
6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 250,000 281,949 (31,949) (11.3)
7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) (109,306) 43,782 (153,088) (349.7)
8. เงินคงคลังปลายงวด 495,746 605,052 (109,306) (18.1)
ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง
รายละเอียดเพิ่มเติม ดูได้จาก www.fpo.go.th สํานักนโยบายการคลัง สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร 0 2273 9020 ต่อ 3558
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดประจําเดือนกันยายน 2557
และปีงบประมาณ 2557 (ตุลาคม 2556 – กันยายน 2557)
ในเดือนกันยายน 2557 รัฐบาลเกินดุลเงินสดจํานวน 119,783 ล้านบาท โดยเป็นการเกินดุลงบประมาณ 26,462 ล้านบาท และเกินดุลเงินนอกงบประมาณ 93,321 ล้านบาท ส่งผลให้ตลอดปีงบประมาณ 2557 รัฐบาลขาดดุลเงินสดจํานวน 359,306 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 250,000 ล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2557 มีจํานวน 495,746 ล้านบาท ซึ่งเป็นระดับที่มีความมั่นคง โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. ฐานะการคลังเดือนกันยายน 2557
1.1 รัฐบาลมีรายได้นําสั่งคลัง 255,326 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 12,021 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 4.9)
1.2 รัฐบาลมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้น 228,864 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 5,469 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 2.3) ประกอบด้วยรายจ่ายประจํา 174,107 ล้านบาท
ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.4 และรายจ่ายลงทุน 38,075 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 16.2 และการเบิกจ่ายเงินจากงบประมาณปีก่อนจํานวน 16,682 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 7.5 (ตารางที่ 1)
การเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่สําคัญในเดือนนี้ ได้แก่รายจ่ายชำระหนี้ของกระทรวงการคลัง 23,334 ล้านบาท เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 9,057 ล้านบาท รายจ่ายให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา 8,700 ล้านบาท และเงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ 8,117 ล้านบาท
ตารางที่ 1 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณเดือนกันยายน 2557
กันยายน เปลี่ยนแปลง
2557 2556 จำนวน ร้อยละ
1. รายจ?ายป?ป?จจุบัน 212,182 218,816 (6,634) (3.0)
1.1 รายจ?ายประจํา 174,107 186,040 (11,933) (6.4)
1.2 รายจ?ายลงทุน 38,075 32,776 5,299 16.2
2. รายจ?ายจากงบประมาณป?ก?อน 16,682 15,517 1,165 7.5
3. รายจ?ายรวม (1+2) 228,864 234,333 (5,469) (2.3)
1.1 จากรายได้นําส่งคลังและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลข้างต้น ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณในเดือนกันยายน 2557 เกินดุล 26,462 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 93,321 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักจาก การประมูลตั๋วเงินคลังสุทธิ 30,500 ล้านบาท การกันเงินสำหรับจัดสรรให้ อปท. ตาม พ.ร.บ. กำหนดแผนฯ 28,264 ล้านบาท และการแปลงตั๋วเงินคลังโดยการออก
ตั๋วสัญญาใช้เงิน 11,635 ล้านบาท ทําให้รัฐบาลเกินดุลเงินสดจํานวน 119,783 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาล
ได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 18,060 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (หลังกู้ชดเชยการขาดดุล) เกินดุลเท่ากับ 137,843 ล้านบาท (ตารางที่ 2)
ตารางที่ 2 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดเดือนกันยายน 2557
กันยายน เปรียบเทียบ
2557 2556 จำนวน ร้อยละ
1. รายได้ 255,326 243,305 12,021 4.9
2. รายจ่าย 228,864 234,333 (5,469) (2.3)
3. ดุลเงินงบประมาณ 26,462 8,972 17,490 194.9
4. ดุลเงินนอกงบประมาณ 93,321 144,139 (50,818) (35.3)
5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) 119,783 153,111 (33,328) (21.8)
6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 18,060 20,497 (2,437) (11.9)
7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) 137,843 173,608 (35,765) (20.6)
ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง
1. ฐานะการคลังประจำป?งบประมาณ 2557 (ตุลาคม 2556 – กันยายน 2557)
2.1 รายได้นําส่งคลังรัฐบาลมีรายได้นําส่งคลังทั้งสิ้น 2,070,018 ล้านบาท ต่ำกว่า
ช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 93,451 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 4.3) โดยมีสาเหตุหลักจากภาษีสรรพสามิตรถยนต์จัดเก็บได้ต่ำกว่าช่วงเดียวกันป?ที่แล้ว เนื่องจากอุปสงค์รถยนต์ในประเทศที่ชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจและการส่งมอบรถยนต์ภายใต้โครงการรถยนต์คันแรกเกือบครบทั้งโครงการแล้วในปีงบประมาณก้อนหน้า ประกอบกับการปรับขั้นและอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและการปรับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ส่งผลให้จัดเก็บภาษีดังกล่าวได้ลดลง นอกจากนี้ ปีที่แล้วยังมีการนำส่งรายได้จากการประมูลให้ใช้คลื่นความถี่ 3 G ย่าน 2.1 GHz
2.2 รายจ่ายรัฐบาลการเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลมีจํานวนทั้งสิ้น 2,459,990ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 57,509 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 2.4) ประกอบด้วยรายจ่ายปีปัจจุบัน2,246,306 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 89 ของวงเงินงบประมาณ สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 3.4และรายจ่ายปีก่อน 213,684 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 7.5 (ตารางที่ 3)
รายจ่ายปีปัจจุบันจํานวน 2,246,306 ล้านบาท ประกอบด้วยรายจ่ายประจํา 1,962,257 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 93.7 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำหลังโอนเปลี่ยนแปลง 2,093,452 ล้านบาท) สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 3.6 และรายจ่ายลงทุน 284,049 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 65.8 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนหลังโอนเปลี่ยนแปลง 431,548 ล้านบาท) สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 2.7
ตารางที่ 3 การเบิกจ?ายเงินงบประมาณป?งบประมาณ 2557
(ตุลาคม 2556 – กันยายน 2557)
ปีงบประมาณ เปรียบเทียบ
2557 2556 จำนวน ร้อยละ
1. รายจ่ายป?ป?จจุบัน 2,246,306 2,171,459 74,847 3.4
1.1 รายจ่ายประจำ 1,962,257 1,894,885 67,372 3.6
1.2 รายจ่ายลงทุน 284,049 276,574 7,475 2.7
2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 213,684 231,022 (17,338) (7.5)
3. รายจ่ายรวม (1+2) 2,459,990 2,402,481 57,509 2.4
ที่มา: กรมบัญชีกลาง
2.1 ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ขาดดุล 359,306 ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ 389,972 ล้านบาท และการเกินดุลเงินนอกงบประมาณ จํานวน 30,666 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากรายรับจากการชดใช้เงินคงคลัง 13,424 ล้านบาท ส่วนเพิ่ม (Premium) จากการประมูลพันธบัตรรัฐบาลสุทธิ 5,747 ล้านบาท เงินฝากคลังของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย 5,365 ล้านบาท และการกันเงินสำหรับจัดสรรให้ อปท. ตาม พ.ร.บ. กำหนดแผนฯ 1,686 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลได้บริหารเงินสดให้สอดคล้องกับความต้องการใช้เงินโดยชดเชยการขาดดุลด้วยการกู้เงินจํานวน 250,000 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (หลังการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล) ขาดดุลเท่ากับ 109,306 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2557 มีจํานวนทั้งสิ้น 495,746 ล้านบาท (ตารางที่ 4)
ตารางที่ 4 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดป?งบประมาณ 2557
(ตุลาคม 2556 – กันยายน 2557)
หน่วย: ล้านบาท
ปีงบประมาณ เปรียบเทียบ
2557 2556 จำนวน ร้อยละ
1. รายได้ 2,070,018 2,163,469 (93,451) (4.3)
2. รายจ่าย 2,459,990 2,402,481 57,509 2.4
3. ดุลเงินงบประมาณ (389,972) (239,012) (150,960) 63.2
4. ดุลเงินนอกงบประมาณ 30,666 845 29,821 3,529.1
5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) (359,306) (238,167) (121,139) 50.9
6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 250,000 281,949 (31,949) (11.3)
7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) (109,306) 43,782 (153,088) (349.7)
8. เงินคงคลังปลายงวด 495,746 605,052 (109,306) (18.1)
ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง
สํานักนโยบายการคลัง สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร0 2273 9020 ต่อ 3558