กรุงเทพฯ--7 พ.ย.--โฟร์ พี แอดส์
ที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงราย นายแพทย์อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และคณะ ลงพื้นที่ตรวจความพร้อมการจัดตั้งห้อง DRA (Designated Receiving Area) เพื่อรองรับผู้ป่วยสงสัยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาและประเมินความปลอดภัยโดย เป็นห้องปฏิบัติการที่จัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะต่างหากแยกจากห้องปฏิบัติการประจำ มีมาตรฐานความปลอดภัยสูงกว่าห้องปฏิบัติการที่ตรวจโรคทั่วไปในโรงพยาบาล ทำหน้าที่รับตัวอย่างผู้ป่วยติดเชื้อหรือสงสัยติดเชื้อไวรัสอีโบลา มีตู้ชีวนิรภัยระดับ 2 สำหรับใช้ในกระบวนการเตรียมตัวอย่าง มีเครื่องมือตรวจเฉพาะรายการทดสอบที่จำเป็น เช่น ตรวจความสมบูรณ์ของเลือด ตรวจเกลือแร่ ตรวจการทำงานของไต และตับ นอกจากนี้ยังมีเครื่องนึ่งทำลายเชื้อด้วยความดันสูงกำจัดตัวอย่างและ ขยะติดเชื้อก่อนนำออกจากห้องปฏิบัติการ เพื่อไม่ให้เชื้อแพร่กระจายสู่สิ่งแวดล้อม โดยมี นายแพทย์สุทัศน์ ศรีวิไล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ และคณะให้การต้อนรับ
สืบเนื่องจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ตั้งแต่เดือน มี.ค.57 ในประเทศแถบแอฟริกาตะวันตกจนปัจจุบันไม่มีแนวโน้มการระบาดลดลงและยังควบคุม ไม่ได้ องค์กรอนามัยโลก (WHO) จึงประกาศให้การระบาดของโรคนี้เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ รวมทั้งออกข้อแนะนำสมาชิกที่ยังไม่พบการระบาดของโรคนี้เตรียมพร้อมในการเดิน ทางไปประเทศที่เสี่ยง การขนย้ายผู้สัมผัส การตรวจจับการระบาด การวินิจฉัย และการดูแลผู้ป่วย รวมทั้งผลวิเคราะห์ที่สามารถนำไปใช้ประกอบการรักษาผู้ป่วยอย่างมี ประสิทธิภาพ ในขณะที่ นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขมอบนโยบายเร่งด่วนให้โรงพยาบาลศูนย์ทุกเขตจัดเตรียม พร้อมห้องปฏิบัติการ DRA ในการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการและองค์การอนามัยโลกกำหนดให้เป็นห้อง ปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 2 (BSL2) และปฏิบัติแบบห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 3 (BSL3)ซึ่งสามารถทำได้ในโรงพยาบาลที่มีเครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันพร้อม เท่านั้น เพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติการและป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่เข้า สู่ชุมชน และสิ่งแวดล้อมและได้มีการมอบหมายให้ นายแพทย์อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการจัดทำห้อง DRA ระยะแรกจำนวน 15 แห่งในส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวต่ออีกว่า โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์เป็นโรงพยาบาลศูนย์ขนาด 600 เตียง และปัจจุบันมีจำนวน 756 เตียงในเขตบริการสุขภาพที่ 1 สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยจังหวัดเชียงรายมีสนามบินและมีจุดผ่านแดน 3 จุด คือ ด่านอำเภอเชียงแสน เชียงของ และแม่สาย ในแต่ละวันมีนักท่องเที่ยวผ่านเข้าออกเป็นจำนวนมากดังนั้นจึงมีความจำเป็น ที่ต้องมีมาตรการเฝ้าระวังผู้ป่วยต้องสงสัยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาตามจุด ผ่านแดน และโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ได้ดำเนินการจัดเตรียมความพร้อมห้อง DRA ให้มีเครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันครบถ้วนตามที่กำหนด ซึ่งที่ผ่านมาทางโรงพยาบาลเชียงรายได้ฝึกอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรและซัก ซ้อมแผนเตรียมความพร้อมในทุกๆ ด้านรวมทั้งนักเทคนิคการแพทย์ที่ปฏิบัติงานตรวจวิเคราะห์ในห้อง DRA เพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานและป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ระบาดกระจายสู่ สิ่งแวดล้อมด้วย