บอร์ด บสย. พร้อมหนุน ฝ่ายจัดการ เพิ่มศักยภาพองค์กรสู่ความยั่งยืน

ข่าวหุ้น-การเงิน Friday November 14, 2014 11:56 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--14 พ.ย.--กลุ่มสารนิเทศการคลัง กระทรวงการคลัง ประธานบอร์ด บสย. เดินหน้าเต็มสูบ วาง 3 เป้าหมายหลัก ขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเลิศเติบโตยั่งยืน พัฒนาผลิตภัณฑ์ค้ำประกันสินเชื่อ บริหารหนี้ด้อยคุณภาพ หนุน SMEs เขตเศรษฐกิจพิเศษ สอดรับนโยบายเศรษฐกิจภาครัฐ Ø เพิ่มประสิทธิภาพองค์กร Ø พัฒนาระบบค้ำประกัน -บริหารหนี้ด้อยคุณภาพ Ø บูรณาการความร่วมมือพันธมิตร หนุน SMEs Ø ประมาณการผลดำเนินงาน 2557 ปิดยอดค้ำฯ 61,500 ล้านบาท รายนาม คณะกรรมการ บสย. 1.นายญาณศักดิ์ มโนมัยพิบูลย์ ประธานกรรมการ 2.พันเอก ประเสริฐ ชูแสง กรรมการ และ ประธานกรรมการบริหาร 3.นายนิวัฒน์ กาญจนภูมินทร์ กรรมการ ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง และ กรรมการบริหาร 4.นายอรุณ กมลกิจไพศาล กรรมการ ประธานกรรมการกิจการสัมพันธ์ และ กรรมการบริหาร 5.นางนงราม วงษ์วานิช กรรมการ และ ประธานกรรมการตรวจสอบ กรรมการอิสระ 6.นางสาวกรรณิการ์ เอกเผ่าพันธุ์ กรรมการ และ ประธานกรรมการด้านการกำกับดูแลและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ( CG&CSR) 7.นายภณ รักตระกูล กรรมการ และ กรรมการตรวจสอบ 8.นายวรพล โสคติยานุรักษ์ กรรมการ และ ประธานกรรมการอิสระ นายญาณศักดิ์ มโนมัยพิบูลย์ ประธานกรรมการ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.) เปิดเผย แนวทางการบริหารงาน ภายใต้การบริหารงานของคณะกรรมการ บสย. ชุดใหม่ ว่า จะให้การสนับสนุน และ เสริมสร้าง พัฒนาศักยภาพองค์กร บสย.อย่างเต็มที่ในทุกๆด้านเพื่อก้าวสู่ความเป็นเลิศ และเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยเป้าหมาย การยกระดับ บสย.ให้เป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจ ที่มีความพร้อมในการให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ และส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงแหล่งทุน ในฐานะที่ บสย.เป็นเครื่องมือของรัฐ และเป็นหน่วยงาน ที่ทำหน้าที่ ค้ำประกันสินเชื่อ ที่มีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจ วาง 3 แนว ดันองค์กรสู่ความเป็นเลิศ แผนการดำเนินงานปี 2558 กำหนดเป้าหมายการทำงานไว้ 3 แนวทางหลักคือ 1.ช่วยเหลือผู้ประกอบการSMEs ที่มีศักยภาพส่งเสริม SMEs กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของภาครัฐให้เข้าถึงแหล่งทุนในระบบ โดยมุ่งพัฒนาองค์กรสร้างการรับรู้ให้เป็นที่ยอมรับจากทุกภาคส่วนในฐานะหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่มีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยเพิ่มสัดส่วนการค้ำประกันสินเชื่อเฉลี่ยให้ได้ 25% ของสินเชื่อใหม่ ภายในปี 2562 จากปัจจุบันมีสัดส่วน เฉลี่ย ที่ 20% และขยายฐานลูกค้าSMEs เพิ่มเป็น 200,000 ราย ภายในปี 2562 2.สร้างองค์กร บสย.ให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการลูกหนี้ค้ำประกันที่ด้อยคุณภาพอย่างมีประสิทธิภาพ และ บริหารเงินค่าธรรมเนียมการค้ำประกันที่เหมาะสม โดยเน้นความมั่นคงของเงินสำรองเพื่อการชดเชยการค้ำประกัน 3.มุ่งเน้นการบริหาร ที่ก่อเกิดประสิทธิภาพองค์กร อาทิ การลงทุนพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบบริหารความเสี่ยง ระบบการบริหารหนี้ การบริหารเงินลงทุน และ การลดกฏเกณฑ์ที่เป็นอุปสรรค์และข้อจำกัดของบสย. เพื่อให้เข้าถึงการค้ำประกันสินเชื่อ ทั้งนี้ คณะกรรมการบสย. จะให้ความสำคัญกับ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ค้ำประกันสินเชื่อให้สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจของภาครัฐ เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ค้ำประกันในกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับนวัตกรรม เทคโนโลยี และซอฟต์แวร์ การค้ำประกันให้ SMEs ในเขตเศรษฐกิจพิเศษและให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการSMEs ที่มีปัญหาเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ชลอตัวและอาจต้องปรับโครงสร้างหนี้ แต่ยังมีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ บูรณาการความร่วมมือ พันธมิตร หนุน “SMEs” พันเอก ประเสริฐ ชูแสง กรรมการ และ ประธานกรรมการบริหาร กล่าวว่า ในปี 2558 จะร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร ทั้งภาครัฐและเอกชน ขับเคลื่อน SMEs เข้าถึงแหล่งทุนอย่างเต็มประสิทธิภาพ อาทิ โครงการความร่วมมือกับ สภาอุตสากรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ( ธพว./SME BANK) ในโครงการความร่วมมือกับ 4 หน่วยงาน เพื่อวางแนวทางข่วยเหลือผู้ประกอบการSMEs ในการลดปัญหาและอุปสรรคการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ซึ่งที่ผ่านมาแต่ละหน่วยงานได้ร่วมกันสะท้อนปัญหา-อุปสรรค ในกลุ่มผู้ขอสินเชื่อ และผู้ให้สินเชื่อ ร่วมกันเพื่อหาแนวทางการให้ความช่วยเหลือ SMEs โดยได้นำเสนอ “ร่างข้อเสนอการขับเคลื่อน SMEs” ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ ผลักดันการแก้ไขนิยาม SMEs ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและสนับสนุนการคัดเลือก National Champion ของ SMEs เพื่อคัดกรอง SMEs ที่มีศักยภาพ ให้ได้รับเงินกู้ในโครงการ Policy Loan และให้ได้รับอัตราดอกเบี้ยในระดับที่เหมาะสม นอกจากนี้ ยังมุ่งประสานการทำงานร่วมกัน ตามกรอบความร่วมมือระหว่าง บสย.กับหน่วยงานพันธมิตร กับหน่วยงานที่ทำหน้าที่การส่งเสริมสนับสนุน ผู้ประกอบการSMEs และในกลุ่มสถาบันการเงิน ที่ปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการ SMEs อาทิ ความร่วมมือระหว่าง บสย.และ สำนักส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) SIPA ในการสนับสนุนกลุ่มผู้ประกอบการ เชิงนวัตกรรม เทคโนโลยี และซอฟท์แวร์ และ ความร่วมมือในระดับสากล อาทิ ความร่วมมือกับสถาบันค้ำประกันสินเชื่อระดับโลกกับ Korean Technology Finance Corporation ( KOTECX) เกาหลี ซึ่งในปี 2558 โครงการความร่วมมือเหล่านี้จะมีมากขึ้น ฝ่าวิกฤติสินเชื่อชะลอตัว ปี 2557 คาดปิดยอดค้ำที่ 61,500 ล้านบาท นายวัลลภ เตชะไพบูลย์ กรรมการและผู้จัดการทั่วไป กล่าวว่า ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ในปีนี้ และการคาดการณ์ GDP ที่เพียง 1.5% ทำให้ บสย.ต้องปรับแผนและกลยุทธ์แบบเชิงรุกมากขึ้น คาดว่า ผลการดำเนินงานบสย. ปี 2557 คาดว่าจะสามารถปิดยอดค้ำประกันสินเชื่อที่ 61,500 ล้านบาท และมีผลกำไร 363 ล้านบาท ขณะที่ NPG อยู่ในระดับ 5.26% ทั้งนี้ตั้งแต่ปี 2534-2557 บสย. มีภาระค้ำประกันคงเหลือที่ 261,726 ล้านบาท จากยอดอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อสะสมเท่ากับ 391,936 ล้านบาท สำหรับแผนการดำเนินงานในปี 2558 ตั้งเป้าค้ำประกันสินเชื่อ รวม 80,000 ล้านบาท และตั้งเป้าขยายฐานกลุ่มลูกค้าใหม่และผู้ประกอบการ SMEs รายใหม่ 27,126 ราย โดยมีสัดส่วนการค้ำประกันสินเชื่อเฉลี่ยปี 2558 – 2562 ที่ 25% ของสินเชื่อ SMEs ที่มีการอนุมัติใหม่
แท็ก ประกัน   บสย.   SME  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ