กรุงเทพฯ--17 พ.ย.--กรมสุขภาพจิต
นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่าทุกวันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปีองค์การอนามัยโลกและสหพันธ์เบาหวานนานาชาติ(InternationalDiabetes Federation : IDF) ได้กำหนดให้เป็นวันเบาหวานโลก (World DiabetesDay) เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่พบบ่อย ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ที่สำคัญเป็นหนึ่งใน 6 โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรคเบาหวานโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคอ้วนลงพุง โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจโรคความดันโลหิตสูง) ที่เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตมากที่สุด ทั้งนี้สหพันธ์เบาหวานนานาชาติ ได้ประมาณการณ์ว่า ทั่วโลกมีผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 382ล้านคน ในจำนวนนี้เกือบครึ่ง (ร้อยละ 46) ไม่รู้ว่าตนเองเป็นโรคเบาหวานเนื่องจากไม่เคยได้รับการตรวจวินิจฉัยมาก่อน โดยคาดการณ์ว่า ในอีก 20ปีข้างหน้า (ปี พ.ศ.2578) จะมีจำนวนผู้ป่วยสูงถึง 592 ล้านคนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 10 ล้านคน/ปี หรือ ใน 10 คน จะพบผู้ป่วยเบาหวาน 1 คนผู้ป่วยส่วนใหญ่ ร้อยละ 80 อยู่ในประเทศด้อยพัฒนาและประเทศกำลังพัฒนา อีกทั้งร้อยละ 11ของงบประมาณด้านสาธารณสุขต้องสูญเสียไปกับการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานสำหรับประเทศไทย จากรายงานจำนวนและอัตราผู้ป่วยในด้วยโรคเบาหวาน ต่อประชากร 100,000 คน ปี พ.ศ. 2550 - 2556 โดย สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบ มีผู้ป่วยเบาหวานเข้าพักรักษาตัวในรพ.สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 698,720 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 1,081.25ต่อแสนประชากร
อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวต่อว่า นอกจากสุขภาพทางกายแล้วสุขภาพทางใจของผู้ป่วยก็ต้องการการดูแลเช่นกัน ซึ่งผู้ป่วยเบาหวาน
อาจแสดงปฏิกิริยาทางใจออกได้ในหลายลักษณะ บางคนอาจเกิดการต่อต้าน ไม่ยอมรับรู้สึกโกรธ ฉุนเฉียว หงุดหงิดง่ายที่ต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่คุ้นเคยหรือบางคนคิดว่าไม่เป็นไรส่งผลให้ละเลยไม่เห็นความสำคัญของการรักษาและการปฏิบัติตัวทำให้ไม่สามารถควบคุมอาการเบาหวานได้เมื่อมีการยืนยันผลเลือดเป็นที่แน่ชัดว่าเป็นการตรวจที่ถูกต้องและผลการตรวจเป็นที่เชื่อถือได้ อาจทุเลาอาการโกรธลง
แต่เปลี่ยนเป็นซึมเศร้าแทน เนื่องจากความวิตกกังวลและความกลัวเกี่ยวกับโรคที่เป็น คิดว่าตนเองเป็นภาระต่อครอบครัวกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย กลัวควบคุมอาการเบาหวานไม่ได้ ทำให้เกิดอาการเบื่อหน่ายท้อแท้กับโรค กินไม่ได้นอนไม่หลับ ไม่ยอมกินยาเกิดโรคแทรกซ้อนตามมามากกว่าผู้ป่วยที่มีสภาพจิตใจเป็นปกติ ซึ่งพบว่าผู้ที่รู้ตัวว่าป่วยเป็นเบาหวานจะมีความเสี่ยงเกิดภาวะซึมเศร้าได้มากถึงร้อยละ 30 การคัดกรองภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานจึงมีความจำเป็นซึ่งในโรงพยาบาลชุมชนได้จัดให้มีบริการคัดกรองโรคซึมเศร้าเช่นกัน
การป้องกันโรคเบาหวานจึงเท่ากับป้องกันภาวะซึมเศร้าผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยเริ่มต้นที่ใจเพราะหากท้อแท้ไม่ยอมช่วยเหลือตนเองหรือไม่ให้ความร่วมมือกับแพทย์ในการรักษาก็ยากที่จะอยู่กับเบาหวานได้อย่างมีความสุขเทคนิคง่ายๆ คือ กำหนดเป้าหมายลดพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ดีและเพิ่มพฤติกรรมที่ดี เช่นตั้งเป้าหมายที่จะออกกำลังกายวันละครึ่งชั่วโมง 3 วัน/สัปดาห์
เพื่อลดน้ำหนักให้ได้ *เชื่อมั่นในตนเองพยายามทำจนกลายเป็นนิสัยใส่ใจเรื่องอารมณ์คลายเครียดอย่างเหมาะสม ผ่อนคลายความกลัวและความวิตกกังวลลงให้ได้เข้าใจว่าโรคไม่ได้น่ากลัวเสมอไป หากดูแลตัวเองให้ดี ที่สำคัญชื่นชมและให้กำลังใจตัวเอง*เพื่อให้มีพลังใจที่จะสู้กับโรค ทั้งนี้สามารถขอรับบริการปรึกษาได้ที่สายด่วนสุขภาพจิต 1323 และศูนย์ให้คำปรึกษาคุณภาพ(Psychosocial clinic)ซึ่งเป็นหน่วยบริการสาธารณสุขที่จัดให้บริการดูแลช่วยเหลือทางสังคมจิตใจทุกกลุ่มวัยที่ครอบคลุมถึงปัญหาโรคเรื้อรังอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว