กรุงเทพฯ--21 พ.ย.--แม็กซิม่า คอนซัลแตนท์
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) จับมือ เอไอเอสผู้นำการให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมของไทย เปิดตัวโครงการ “Digital Life by AIS @ABAC” มิติใหม่แห่งโลกการศึกษา นำแอปฯ แชท ABAC Connect ให้นักศึกษาแชทเป็นกลุ่มได้โดยไม่จำกัดจำนวนสมาชิก รวมทั้งติดตั้งเครือข่ายAIS Wifiให้ชาวเอแบคใช้งานได้เต็มพื้นที่ 100% ในทุกวิทยาเขต ทั้งที่หัวหมาก, สุวรรณภูมิ,ศูนย์การศึกษาเอซีซี (ACCCampus)และศูนย์การศึกษาซิตี้แคมปัส(CityCampus)ในห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ในยุคดิจิตอลอย่างแท้จริง
ภราดา ดร.บัญชา แสงหิรัญ อธิการบดี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ หรือเอแบค กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญมีนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนเรื่องการเรียน การสอนมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมศักยภาพให้กับทั้งผู้เรียนและผู้สอน รวมถึงบุคลากรด้านต่างๆ ให้สามารถทำหน้าที่ของตน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไร้ข้อจำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มนักศึกษาทุกระดับของมหาวิทยาลัย ที่จะต้องสามารถเปิดรับโอกาสทางการศึกษาได้ทุกที่ ทุกเวลา ดังนั้นที่ผ่านมาเอแบคจึงเดินหน้ามุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิตอล โดยการสรรหานวัตกรรมชั้นนำทางด้านต่างๆ มาสร้างเป็นเครื่องมือ เพื่อตอบโจทย์วัตถุประสงค์ดังกล่าวมาโดยตลอด”
สำหรับวันนี้ในยุคที่โลกออนไลน์หรือ Social Network เข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตของคนเราเพิ่มมากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ในโลกของการศึกษา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญหรือเอแบค จึงจับมือกับ เอไอเอส จัดทำโครงการ “Digital Life by AIS @ABAC” ขึ้น เพื่อนำเทคโนโลยีการสื่อสารอันทันสมัยมาใช้ภายในมหาวิทยาลัย โดยความร่วมมือจากเอไอเอสในการนำเทคโนโลยีมาออกแบบเป็นโซลูชั่นส์เพื่อชาวเอแบคเป็นครั้งแรกของวงการศึกษาไทย ด้วย ABAC Connectแอปฯ แชทที่ให้ชาวเอแบคทุกคนสามารถแชทกันได้โดยไม่จำกัดจำนวนสมาชิกพร้อมทั้งติดตั้งเครือข่าย AIS Wifiเต็มพื้นที่ทุกวิทยาเขต เพื่อเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งตอบโจทย์ชาวเอแบคในยุคดิจิตอลไลฟ์อย่างแท้จริง”
ทางด้าน นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส กล่าวว่า “หน้าที่ของเอไอเอสคือการพัฒนา Telecom Infrastructure ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการรองรับ Digital Service ต่างๆ โดยในวันนี้เราเดินหน้าพัฒนาใน 3 ส่วน คือ 3G Mobile Network รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมสำหรับ 4G ที่กำลังจะมีในอนาคต,AIS Wifiและ AIS Fixed Broadbandที่เริ่มขยายพื้นที่การให้บริการอย่างต่อเนื่อง และสุดท้ายคือการมุ่งเน้นในเรื่อง Quality DNAs จากการพัฒนาดังกล่าวทำให้วันนี้เอไอเอสในฐานะผู้นำในการให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมของไทย สามารถนำเทคโนโลยีอันทันสมัยทั้งในส่วนของ AIS 3G Mobile Network และ AIS Wifiมาออกแบบเป็นโซลูชั่นส์พิเศษ เพื่อให้นักศึกษาและอาจารย์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้รับและเข้าถึงข้อมูลที่สนับสนุนการเรียน การสอนให้มีประสิทธิภาพ สะดวกสบาย และประหยัดเวลามากยิ่งขึ้น”
โดยโครงการ “Digital Life by AIS @ABAC” ประกอบไปด้วย 2ส่วนคือ
· พัฒนาแอปพลิเคชันABAC Connect แอปฯแชทที่ให้ชาวเอแบคสามารถแชทเป็นกลุ่มโดยไม่จำกัดจำนวนสมาชิก และสามารถส่งได้ทั้งข้อความ, ไฟล์ภาพ, คลิปเสียง และคลิปวิดีโอไปหานักศึกษาทุกคนที่ใช้แอปฯนี้ได้ พร้อมดูสถานะได้ว่าข้อความถึงปลายทางหรือไม่ และปลายทางอ่านข้อความหรือยัง นอกจากนี้ยังสามารถแยกกลุ่มแชทได้ตามคณะ, วิชาเรียน และ Section ได้ เพื่อให้นักศึกษาสามารถติดตามข่าวสารได้อย่างสะดวกและทันท่วงที เป็นการเพิ่มศักยภาพในการสื่อสารระหว่างมหาวิทยาลัย อาจารย์และนักศึกษา ที่มีระบบความปลอดภัยในการใช้งานสูง เพราะระบบจะมีการเข้ารหัสเพื่อป้องกันข้อมูลรั่วไหล โดยสามารถใช้ได้กับมือถือในระบบปฏิบัติการ iOSและแอนดรอยด์ รวมถึงยังต่อยอดจัดกิจกรรมเพิ่มเติมโดยให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมด้วย อาทิ การประกวดออกแบบ Sticker สำหรับใช้ในแอปฯ ABAC Connect เป็นต้น
· ขยายพื้นที่บริการ AIS Wifiเต็มพื้นที่ 100% เพื่อให้ชาวเอแบคทุกคนสนุกกับการท่องโลกอินเตอร์เน็ตได้แบบไร้ข้อจำกัดขณะอยู่ในมหาวิทยาลัยทุกวิทยาเขตทั้งที่หัวหมาก, สุวรรณภูมิ, ศูนย์การศึกษาเอซีซี (ACC Campus) และศูนย์การศึกษาซิตี้แคมปัส (City Campus) ในห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ในยุคดิจิตอล ที่ต้องการเชื่อมต่อกับโลกออนไลน์ตลอดเวลา โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินงานติดตั้งและจะแล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2558
นอกจากนี้มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญยังร่วมกับ เอไอเอสในการ มอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนในระดับมัธยมปลาย ปีการศึกษา 2558 จำนวน 77 ทุน จังหวัดละ 1 ทุน รวมมูลค่ากว่า30 ล้านบาท เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่เยาวชนไทยด้วย
“ความร่วมมือกับเอไอเอสครั้งนี้ถือเป็นอีกก้าวหนึ่งของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญในการเข้าสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิตอล ซึ่งทางมหาวิทยาลัยเชื่อว่าเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในยุคดิจิตอลมาใช้ในมหาวิทยาลัยจะช่วยเสริมศักยภาพให้การบริหารจัดการการศึกษาของมหาวิทยาลัยให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดซึ่งจะส่งผลต่อการสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ และเป็นบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถของประเทศและของโลกต่อไป” ภราดา ดร.บัญชา กล่าวสรุป