กรุงเทพฯ--25 พ.ย.--แบรนด์นาว
ไจก้าฉลองครบรอบ 60 ปีความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) และยังคงให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศไทยและประเทศต่างๆ ในแถบอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ที่กำลังจะมาถึง
ในปีนี้รัฐบาลญี่ปุ่นและองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) จัดฉลองครบรอบ 6 ทศวรรษในฐานะองค์กรความร่วมมือระดับทวิภาคีผ่านทางความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) โดยมีการจัดกิจกรรมต่างๆอย่างต่อเนื่องทั่วโลก
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการฉลองโอกาสสำคัญครั้งนี้ในประเทศไทย ไจก้าจึงได้จัดงานสัมมนาวันนี้ในหัวข้อ “Thailand-Japan Cooperation, Past and Future” เพื่อเน้นย้ำว่าประเทศไทยเป็นหุ้นส่วนที่แข็งแกร่งและเป็นที่ไว้วางใจในการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
ประเทศญี่ปุ่นเริ่มให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการในปี 2497 โดยญี่ปุ่นได้ให้ปฏิญาณร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแผนโคลัมโบเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในทวีปเอเชียและแปซิฟิก (Colombo Plan for Cooperative Economic and Social Development in Asia and the Pacific) ซึ่งช่วยการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และปรับปรุงสวัสดิการของประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ โดยให้การสนับสนุนเงินทุนและเทคโนโลยี ในเบื้องต้นความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อชดใช้หนี้ค่าปฏิกรรมสงคราม หลังจากนั้นไม่นานในทศวรรษที่ 60 ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนานี้ได้กลายเป็นนโยบายต่างประเทศของญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศในทวีปเอเชีย
ในปัจจุบันในฐานะที่เป็นผู้นำในด้านความร่วมมือเพื่อการพัฒนาทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ประเทศญี่ปุ่นได้ให้ความช่วยเหลือหลากหลายรูปแบบแก่ประเทศต่างๆ ราว 150 ประเทศทั่วทุกภูมิภาคของโลกโดยประสานความร่วมมือกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาดังกล่าวยังก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในด้านอื่นๆ มากมาย เช่นช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่างๆ เหล่านี้กับประเทศญี่ปุ่นให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เกิดการติดต่อแลกเปลี่ยนระหว่างผู้คนทั่วทุกมุมโลกกับชาวญี่ปุ่น และช่วยส่งเสริมสถานะของประเทศญี่ปุ่นในเวทีประชาคมนานาชาติ
ในประเทศไทย ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการเริ่มขึ้นในปี 2497 โดยคนไทย 21 คนไปอบรมที่ประเทศญี่ปุ่น หลังจากนั้น ไจก้าได้ตั้งสำนักงานในประเทศไทยในปี 2517 เพื่อให้ความช่วยเหลือแบบเงินกู้และแบบให้เปล่า เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศ โดยดำเนินโครงการความร่วมมือซึ่งสอดคล้องตามบริบทและความต้องการของประเทศ ณ ช่วงเวลาดังกล่าว
จากความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์อันยาวนานและมิตรภาพอันดีของทั้งสองประเทศ รวมถึงความสำเร็จของไทยในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ไทยและญี่ปุ่นจึงกลายเป็น “หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา” โดยทั้งสองประเทศได้ร่วมมือกันให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆโดยเฉพาะในแถบอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อพัฒนาศักยภาพและเตรียมความพร้อมในการรวมกันเป็นหนึ่งเดียวเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558
ปัจจุบัน สำนักงาน ไจก้า ประจำประเทศไทยได้ดำเนินโครงการความร่วมมือร่วมกับรัฐบาลไทยใน 3 รูปแบบ ได้แก่ ความร่วมมือทางวิชาการ ความร่วมมือแบบเงินกู้ และความร่วมมือแบบให้เปล่าทั้งในระดับทวิภาคี (ระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น) และระดับภูมิภาค (ระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับญี่ปุ่น)
นับจนถึงปี 2556 ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือดังนี้
ความร่วมมือทางวิชาการใน 156 โครงการ และการศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนา 216 โครงการ รวมมูลค่า 67,400 ล้านบาท
ความร่วมมือแบบเงินกู้สำหรับ 242 โครงการ รวมมูลค่า 6.56 แสนล้านบาท
ความร่วมมือแบบให้เปล่า รวมมูลค่า 52,000 ล้านบาท
อาสาสมัคร (JOCV) จำนวน 645 คน
อาสาสมัครอาวุโส (SV) 300 คน (นับเป็นจำนวนอาสาสมัครอาวุโสมากที่สุดในโลก)
ผู้เข้ารับการอบรมในโครงการของไจก้าจำนวน 30,437 คน
ผู้เชี่ยวชาญ 9,801 คนและคณะศึกษา 14,946 คน
โครงการระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร (สายสีม่วง) (ระยะ 1 และ ระยะ 2) เชื่อมพื้นที่ระหว่างบางซื่อในกรุงเทพฯ กับบางใหญ่ในจังหวัดนนทบุรี โดยเงินกู้จำนวนนี้ใช้เพื่องานด้านที่ปรึกษาและงานก่อสร้าง ได้แก่โครงสร้างทางวิ่งยกระดับ สถานี ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า อาคารจอดรถ ตลอดจนงานระบบราง
ประเทศไทยมีความโดดเด่นทางด้านภูมิศาสตร์และเศรษฐกิจในแถบอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง การเชื่อมโยงระหว่างเศรษฐกิจของประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งกับบทบาทของญี่ปุ่นในการพัฒนาภูมิภาคนี้ หลายปีมานี้ ไจก้าได้ปรับเปลี่ยนแนวทางความร่วมมือในประเทศไทยใน 3 ประเด็นคือ
ในประเทศไทย ญี่ปุ่นมีความแข็งแกร่งในเชิงพาณิชย์โดยมีชาวญี่ปุ่นอาศัยอยู่ในไทยกว่า 50,000 คนที่ให้การสนับสนุนบริษัทในเครือญี่ปุ่นกว่า 7,000 แห่ง ซึ่งนับว่ามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาตลาดของภูมิภาคแถบนี้ เนื่องจากประเทศไทยเป็นหุ้นส่วนที่แข็งแกร่งและเป็นที่ไว้วางใจในการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ดังนั้น ไจก้าจึงสามารถประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ และประชาชนชาวไทยเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภูมิภาคนี้
ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา สืบเนื่องจากความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นใกล้ชิดระหว่างไจก้ากับคนไทยและหน่วยงานต่างๆ รวมถึงองค์ความรู้ต่างๆที่ไทยสั่งสมมาได้กลายเป็นทรัพยากรสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านต่อไป จากการที่สถาบันต่างๆซึ่งได้รับประโยชน์จากความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ทำให้ประเทศไทยได้เริ่มให้ความร่วมมือทางวิชาการและเงินทุนแก่ประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ผ่านทางสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (สพร.) และสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.)
ประเด็นสุดท้ายที่สำคัญที่สุดในการปรับเปลี่ยนแนวทางความร่วมมือของไจก้าคือ ประเทศไทยเผชิญกับปัญหาที่หลากหลายจากการที่ไทยก้าวแซงหน้าประเทศเพื่อนบ้านไปอย่างรวดเร็ว โดยเปลี่ยนจากสังคมเชิงคุณภาพ (Social Qualitative Transition) ไปเป็นสังคมผู้สูงอายุ ด้วยอัตราจำนวนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและอัตราการเกิดลดลง อีกทั้งประเทศไทยได้ยกระดับเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางค่อนข้างสูง (Upper Middle Income Country) นอกจากนี้ระบบสวัสดิการสังคมยังไม่เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาในจุดนี้ได้ สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงปัญหาบางส่วนที่ไทยกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้
เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นมีประสบการณ์อย่างมากในด้านเหล่านี้ ดังนั้น ไจก้าจึงสามารถให้ความช่วยเหลือในการสร้างระบบสวัสดิการสังคมที่เหมาะสมให้แก่ไทยได้ รวมทั้งช่วยสนับสนุนในการแก้ปัญหาใหม่ๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ เช่น การค้ามนุษย์ ความมั่นคงทางอาหาร และความท้าทายในการสร้างสังคมที่สมบูรณ์แบบ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีความยั่งยืน บทเรียนและองค์ความรู้ที่ได้รับจากการประสานความร่วมมือในครั้งนี้จะเกิดเป็นประโยชน์ต่อประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ซึ่งย่อมจะต้องเผชิญกับปัญหาในลักษณะเดียวกันนี้ในอนาคตอย่างแน่นอน
นายชูอิจิ อิเคดะ หัวหน้าผู้แทนองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) สำนักงานประจำประเทศไทย กล่าวเสริมว่า“แม้ว่าแนวทางความร่วมมือระหว่างไจก้ากับประเทศไทยจะปรับเปลี่ยนไป แต่เรายังคงยึดมั่นเช่นเดิมในการประสานความร่วมมือกับประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ทว่าไม่ใช่ในฐานะประเทศที่ได้รับความช่วยเหลือ หากแต่เป็นหุ้นส่วนที่แท้จริงที่มีบทบาทเท่าเทียมกันในการพัฒนาประเทศไทย และภูมิภาคแถบนี้ให้เป็นไปอย่างยั่งยืน”
ในปัจจุบัน สำนักงาน ไจก้า ประจำประเทศไทยได้ดำเนินโครงการความร่วมมือร่วมกับรัฐบาลไทยใน 3 รูปแบบ ได้แก่ ความร่วมมือทางวิชาการ ความร่วมมือแบบเงินกู้ และความร่วมมือแบบให้เปล่าทั้งในระดับทวิภาคี (ระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น) และระดับภูมิภาค (ระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับญี่ปุ่น)