กรุงเทพฯ--4 ธ.ค.--โฟว์ดี คอมมิวนิเคชั่น
- พร้อมนำทีมงานเดินหน้าเนรมิตเอเชียทีคเฟส 2 สร้างโปรเจคใหม่เซ็นเตอร์พ้อย ออฟ สยามสแควร์ และปรับโฉมเกทเวย์ เอกมัย -
ทีซีซี แลนด์ ผงาดรับเออีซี ดึงทีม 'เอเชียทีค' เป็นหัวหอกหลักพัฒนาพร้อมปรับโฉม 3 โปรเจคยักษ์ 'เอเชียทีค เฟส 2, ดิจิตอล เกทเวย์ สยาม สแควร์ และเกทเวย์ เอกมัย' หลังปั้น 'เอเชียทีค' ติดอันดับสถานที่ท่องเที่ยวระดับโลกได้สำเร็จอย่างรวดเร็ว เดินหน้านำเสนอคอนเซปต์ 'ไลฟ์สไตล์ ช้อปปิ้ง' รูปแบบใหม่ตอบช่องว่างตลาด คาดกระแสตอบรับไม่แพ้ 'เอเชียทีค'
นายณภัทร เจริญกุล กรรมการผู้จัดการกลุ่มรีเทล บริษัท ทีซีซี แลนด์ จำกัด บริษัทผู้นำด้านการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบรีเทลที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในประเทศไทย เปิดเผยว่า จากความสำเร็จของการพัฒนาโครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลกสำเร็จ ทำให้บริษัทฯ มั่นใจ ในประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของทีมงาน พร้อมเห็นโอกาสและช่องว่างในการพัฒนาโครงการในเชิง 'Community Shopping Center' คอนเซปต์ใหม่ของแหล่งช้อปปิ้งในไทยที่มีขนาดใหญ่กว่า Community Mall แต่เล็กกว่า Shopping Center เพื่อเสนอเป็นทางเลือกใหม่ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนในยุคปัจจุบัน โดยคอนเซปต์ใหม่ดังกล่าวจะถูกนำมาพัฒนาใช้กับโครงการเกทเวย์เอกมัย นอกจากนี้ ยังได้วางแผนพัฒนาโครงการในระยะที่ 2 เพื่อเสริมศักยภาพของเอเชียทีคในปัจจุบัน ตบท้ายด้วยการพลิกฟื้นตำนานศูนย์กลางของวัยรุ่นด้วยการปรับโฉม 'ดิจิตอล เกทเวย์ สยาม สแควร์' สู่ 'เซ็นเตอร์ พอยท์ ออฟ สยาม สแควร์ (Center Point of Siam Square)' เพื่อเจาะกลุ่มวัยรุ่นและวัยเริ่มต้นของการทำงานดังเช่นในอดีตที่ผ่านมา
“ตลอดระยะเวลา 3 ปีในการพัฒนาเอเชียทีค ย่อมเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นถึงศักยภาพของทีมงานของเราได้เป็นอย่างดีจากพิจารณาในเชิงปริมาณพบว่าจากเดิมเราตั้งเป้าจำนวนลูกค้าของเอเชียทีคในวันธรรมดาไว้สูงสุดที่ 15,000 คนต่อวันแต่ตัวเลขจริงที่เกิดขึ้นคือ 30,000 คนต่อวัน และพุ่งสูงถึง 200,000 คนต่อวันในช่วงเทศกาลสำคัญคือ สงกรานต์, ลอยกระทง และเคานท์ดาวน์ นอกจากนี้ เรายังได้รับการยอมรับจากนักท่องเที่ยว องค์กร และนักลงทุนต่างประเทศ จนเป็นหนึ่งในสถาน ที่ท่องเที่ยวที่ต้องระบุไว้ในตารางการท่องเที่ยวของบริษัททัวร์ต่างๆ กว่า 300 บริษัทในปัจจุบัน ทำให้มีปริมาณนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในส่วนของ Tour group, FIT, MICE ทั้งยังได้รับเกียรติจากองค์กรต่างประเทศในการนำเอเชียทีคไปประชาสัมพันธ์ในทุกทวีปของโลก โดยล่าสุด เอเชียทีค ได้รับเลือกจาก Trip Advisor ในการเป็น First Shopping Partnerแห่งแรกของโลก อีกทั้งที่ผ่านมาเราได้มีราชวงศ์ ผู้บริหารประเทศจากทั่วทุกมุมโลกให้เกียรติมาเยือนอย่างต่อเนื่อง และได้รับการติดต่อแล้วจากนักลงทุนรายใหญ่จาก 4 ประเทศคือ จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา ในการเชิญเอเชียทีคไปเปิดโครงการ ในประเทศนั้นๆ”
นายณภัทร เจริญกุลกล่าว “เรารู้สึกภาคภูมิใจเป็นอย่างมากที่ ณ วันนี้ เราสามารถพลิกโฉมการพัฒนาที่ดินริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาให้กลับมามีคุณภาพทางเศรษฐกิจขึ้นอีกครั้ง โดยมุ่งเน้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะและประเทศชาติสูงสุด ดังเช่นความสำเร็จในการยกระดับการเป็น Night Market ที่มีมาตรฐานระดับโลก ทั้งในแง่ของความสะอาด ความเป็นระเบียบ สีสัน คุณภาพสินค้า/บริการ และความปลอดภัย ซึ่งความสำเร็จเหล่านี้คือสิ่งที่พิสูจน์ให้เห็นถึงศักยภาพของทีมงานเอเชียทีคที่สามารถสร้างโกดังเก่า รกร้างริมแม่น้ำเจ้าพระยา บนถนน 4 ช่องจราจรขนาดเล็กที่ประชาชนส่วนใหญ่ลืมเลือน ให้ก้าวมาถึงวันนี้ได้ และวันนี้ทีมงานเอเชียทีคพร้อมแล้วที่จะสรรสร้างความสำเร็จให้แก่โครงการใหม่ตามสโลแกนของทีมงานที่ว่า “เราสร้างแต่ที่สุดของ Lifestyle ที่แตกต่าง” ต่อไป”
ทั้งนี้ ตั้งแต่ปลายปี 2557 เป็นต้นไป ทีซีซี แลนด์ ได้วางแผนในการพัฒนาโครงการใหม่รวม 3 โครงการ ประกอบด้วย การพัฒนาและเนรมิตการกลับมาของ 'เซ็นเตอร์ พอยท์ ออฟ สยามสแควร์', การนำเสนอคอนเซปต์ใหม่ของธุรกิจไลฟ์สไตล์ ช้อปปิ้งในไทยที่จะเกิดที่ เกทเวย์ เอกมัย และสุดท้ายกับการพัฒนาโครงการในระยะที่ 2 เพื่อเสริมแกร่งให้โครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ โดยรายละเอียดการพัฒนาของทั้ง 3 โครงการนั้น นายณภัทร กล่าวเสริมในรายละเอียดดังกล่าวว่า “การปรับรูปแบบของ เกทเวย์ เอกมัย เป็นการปรับในเชิง Market Repositioning คือการคงชื่อแบรนด์และลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเดิมของโครงการไว้ หากแต่ปรับส่วนผสมภายในของโครงการให้ตอบสนองต่อพฤติกรรมของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด กล่าวคือรูปแบบของ เกทเวย์ เอกมัย จะปรับเปลี่ยนเป็น Community Shopping Center แห่งแรกของเมืองไทย โดยรูปแบบดังกล่าวเป็นรูปแบบลูกผสมระหว่าง Community Mall และ Shopping Center โดยรูปแบบดังกล่าวประสบความสำเร็จอย่างสูงในต่างประเทศเพราะสามารถตอบโจทย์ลูกค้าชุมชนได้อย่างลงตัวที่สุดและสามารถลดจุดอ่อนของรูปแบบ Community Mall ซึ่งมีขนาดเล็กเกินไป (พื้นที่ขายประมาณ 6,000-8,000 ตรม) ทำให้มีร้านค้าในโครงการน้อยจนเกินไปไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้อย่างครบถ้วน ในขณะเดียวกันก็พยายามที่จะลดจุดอ่อนของรูปแบบ Shopping Center ที่มีขนาดใหญ่เกินไป (พื้นที่ขายประมาณ 60,000-100,000 ตรม) ทำให้ลูกค้าเสียเวลาในการเข้าไปใช้บริการ โดย Community Shopping Center ส่วนใหญ่จะมีขนาดพื้นที่ขายประมาณ 25,000-35,000 ตรม ตอบโจทย์ครบครันทั้งในส่วนของความต้องการพื้นฐานและตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา มีความหลากหลายในจำนวนร้านค้าทำให้ลูกค้าสามารถมาใช้บริการได้บ่อยขึ้น และที่สำคัญคือลูกค้าไม่ต้องใช้เวลานานการตอบสนองความต้องการในบรรยากาศเป็นกันเองเหมือนบ้านที่สองของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ซึ่งพื้นที่ย่านเอกมัยเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมกับรูปแบบใหม่ของ เกทเวย์ เอกมัย อย่างมากเพราะเป็นพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นครอบคลุมตั้งแต่ทองหล่อ เอกมัย พระรามที่ 4 และพระโขนงเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า BTS โดยตรง อีกทั้งยังไม่มีศูนย์การค้าขนาดใหญ่ในรัศมี 5 กิโลเมตร นี่คือจุดได้เปรียบของ เกทเวย์ เอกมัย Community Shopping Center ใหม่ บ้านที่สองของชุมชน ซึ่งจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในช่วงกลางปี 2558”
ในส่วนของดิจิตอล เกทเวย์ สยามสแควร์ นั้น นายณภัทรกล่าวว่า “เราจะสร้างแบรนด์ใหม่ให้เกิดขึ้นภายใต้ชื่อ Center Point of Siam Square โดยจะตกแต่งในบรรยากาศใหม่ ร้านค้าใหม่ และกลุ่มลูกค้าเป้าหมายใหม่ ซึ่งถือเป็นการปลุกตำนานจุดศูนย์รวมของวัยรุ่นที่มีชื่อเสียงที่สุดกลับมาอีกครั้งหนึ่ง โดย Center Point of Siam Square จะนำเสนอบรรยากาศ
ความเป็นสถานที่สำหรับวัยรุ่นอย่างแท้จริง โดยโครงการจะเน้นไปที่วัยรุ่นอายุตั้งแต่ 15 ปี จนถึง First Jobber อายุประมาณ 25 ปี ดังนั้นร้านค้าและการตกแต่งทั้งภายในและภายนอกจะมุ่งเน้นความเป็น Beauty Fashion เป็นสำคัญ ร้านค้าภายในจะเริ่มทยอยปรับเปลี่ยนตั้งปลายปี 2557 นี้ไปจนถึงกลางปี 2558 โดยพื้นที่ด้านหน้าโครงการได้จัดให้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมของเหล่าวัยรุ่นและสถานที่พบปะและ Hang Out ของวัยรุ่นอีกด้วย ทีมงานเชื่อมั่นว่าการกลับมาของ Center Point of Siam Square จะยิ่งใหญ่เหมือนในอดีตสมดั่งการเป็นจุดศูนย์กลางของสยามสแควร์ต่อไป
“และสุดท้ายกับความยิ่งใหญ่ของการพัฒนาโครงการในเฟสที่ 2 ของ เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ ซึ่งนอกจากจะปรับรูปแบบร้านค้าในโครงการปัจจุบันให้สอดคล้องกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายทั้งนักท่องเที่ยวต่างชาติและลูกค้าคนไทยแล้วโครงการ Asiatique จะขยายเฟส 2 ในบริเวณที่จอดรถด้านข้างโครงการติดกับลานกิจกรรมใหญ่ริมน้ำ โดยแนวคิดในการทำเฟส 2 คือการเติมเต็มในสิ่งที่ยังขาดหาย เช่น ร้านอาหารสำหรับครอบครัว ร้านค้าแฟชั่น สินค้าดีไซน์สำหรับลูกค้าคนไทย และสินค้า แบรนด์บางประเภทที่เป็นที่ต้องการของทั้งลูกค้าคนไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ นอกจากนี้ยังมีการสร้างโรงแรมเพื่อรองรับปริมาณนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาพักริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงห้องจัดประชุมสัมนา เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้า MICE จากทั้งในประเทศและต่างประเทศซึ่งต้องการจัดกิจกรรมทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืนที่ Asiatiqueอีกด้วย
จากประสบการณ์ทำให้ทีมงานทราบถึงความต้องการในหลากหลายรูปแบบที่มีเข้ามายังอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นทีมงานจึงมั่นใจเป็นอย่างยิ่งสิ่งที่เราจะพัฒนาเพิ่มในเฟส 2 นี้ เพื่อให้ เอเชียทีค กลายเป็น Landmark ริมน้ำที่ลูกค้าสามารถสัมผัสได้อย่างแท้จริง และวางแผนเตรียมเปิดตัวในช่วงปลายปี 2559” นายณภัทรกล่าวอย่างมั่นใจ
“จากประสบการณ์และการต่อสู้ตลอดหลายปีที่ผ่านมาของทีมงานเอเชียทีค ทำให้เราเข้าใจพฤติกรรมความต้องการของลูกค้า ตลอดจนความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาโครงการรูปแบบใหม่ๆ นำเสนอสู่ตลาดเมืองไทยและที่สำคัญคือความแข็งแกร่งของบริษัทแม่ ทำให้เรามั่นใจว่าทั้ง 3 โครงการที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จะประสบความสำเร็จเช่นเดียวกับโครงการเอเชียทีค และด้วยการเป็น Prime Location ของอีก 2 โครงการคือใจกลางสยามสแควร์และใจกลางย่านทองหล่อ-เอกมัย-พระโขนง เมื่อเทียบกับ Location ของ Asiatique ก่อนเริ่มพัฒนายิ่งทำให้ทีมงานมั่นใจในความสำเร็จหลังการปรับปรุงและพัฒนาเสร็จสิ้น และจะเป็น Brand ที่ทีมงานจะใช้ในการต่อยอดสาขาอื่นๆ ต่อไปในอนาคต โดยทั้ง 3 โครงการมีกำหนดการพัฒนาแล้วเสร็จในช่วงกลางปี 2558 – ปลายปี 2559” นายณภัทร กล่าวสรุป