ผู้จัดการกองทุนระดับมืออาชีพของซิตี้แบงก์แนะนำการลงทุนในเอเชีย ในปี 2541

ข่าวทั่วไป Friday April 24, 1998 17:09 —ThaiPR.net

กรุงเทพ--24 เม.ย.--ซิตี้แบงก์
มิสเลย์ ฮอง แทน ผู้จัดการกองทุนอาวุโสของธนาคารซิตี้แบงก์ ไพรเวทแบงก์กิ้ง ในสิงคโปร์ได้ให้คำแนะนำด้านการลงทุนในเอเชียในการสัมมนาด้านบริหารเงินทุนในหัวข้อ "Will the AsianTigers Roar Again?" โดยสรุปความเห็นว่า นักลงทุนควรจับตาความเคลื่อนไหวของเสือเอเชียซึ่งคาดว่าจะกลับมาผงาดอีกครั้งภายในปีนี้
มิสเลย์ ฮอง แทน กล่าวว่า"ภูมิภาคเอเชียฟื้นตัวขึ้นมาในขณะนี้เนื่องจากมีปัจจัยที่สำคัญที่ผลักดันให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในเอเชียตะวันออก อาทิเช่น เสถียรภาพของเศรษฐศาสตร์มหภาคการออมทรัพย์ในอัตราที่สูงและอุปทานด้านแรงงานส่วนเกินซึ่งจะยังคงมีอยู่ในภูมิภาคนี้ในช่วงอนาคต อันใกล้"
ตั้งแต่ช่วงปี 2540 ตลาดหุ้นและเงินตราในประเทศต่างๆที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดได้ซบเซาลงมาก โดยในฮ่องกงลดลงตั้งแต่ 20% ไปจนถึงกว่า 75% ในประเทศไทย "เราเชื่อว่าตลาดจะสามารถกระเตื้องขึ้นจากสภาพตลาดที่ถดถอยจนถึงจุดต่ำที่สุดทำให้หุ้นบางตัวในตลาดเอเชียเป็นที่น่าสนใจเหมาะแก่การลงทุน" มิสแทน กล่าว
อัตราส่วนต่อผลกำไร (Price Earnings Ratios) ของตลาดเอเชีย (ยกเว้นออสเตรเลียและนิวซีแลนด์)ยังคงอยู่ในระดับประมาณ 14 เท่า ขณะที่หนี้สินสุทธิต่ออัตราส่วนทุน (Dept to Equity Ratio)ในฮ่องกง สิงคโปร์ และไต้หวันอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี
มิสแทนกล่าวว่า "ในการที่จะทำให้มีการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วนั้นความเด็ดเดี่ยวของรัฐบาลและเจตจำนง ทางการเมืองที่จะยอมรับความเจ็บปวดเป็นสิ่งที่ต้องกระทำ"
มาตรการการปรับปรุงระบบการธนาคารโดยใช้การเพิ่มทุน การออกกฎระเบียบที่ต่อเนื่อง การตรวจสอบที่รัดกุม และการที่รัฐบาลยกเลิกสัญญาที่ว่าจะให้ความช่วยเหลือต่อหนี้สินของบริษัทเอกชนและบริษัทที่ ล้มเหลวทางธุรกิจ
เงินช่วยเหลือจากรัฐบาลและการผูกขาดจะหมดไปทำให้ตลาดเปิดเสรีมากยิ่งขึ้น เพื่อคงความสามารถในการแข่งขัน จะมีการดำเนินการเพื่อจะลดต้นทุนโดยการขจัดสินทรัพย์ที่ไม่จำเป็นและลดค่าใช้จ่ายมิสแทน คาดว่าการแปรรูปรัฐวิสาหกิจจะมีมากขึ้นในขณะที่ธุรกิจต่างๆจะพยายามทำให้งบดุลลดลงด้วยการซื้อหุ้น กลับคืนไป
ในการจะดึงดูดการลงทุนของต่างชาติให้มากขึ้นนั้นรัฐบาลจะต้องดำเนินมาตรการที่โปร่งใสและเปิดเผยมากขึ้นการเปิดเสรีเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักที่มีความสำคัญต่อการฟื้นตัวโดยรวมการที่ประเทศในเอเชียบางประเทศอาจจะสนใจที่จะขยายส่วนแบ่งทางการตลาดเนื่องจากการลดค่าเงินอย่างมากนั้นถือเป็นการขยายตัวในระยะสั้นเท่านั้นอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสำหรับเงินบาทของไทยและเงินเปโซของฟิลิปปินส์มีดุลยภาคใหม่และวงจรที่เลวร้ายของการลดค่าเงินเพื่อการแข่งขันทางธุรกิจเพื่อจะได้ส่วนแบ่งทางการตลาดส่งออกจะถูกเบี่ยงเบนไป
การที่กลุ่มประเทศจี 7 กำลังประสานความพยายามที่จะส่งเสริมการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินระหว่างประเทศและในภูมิภาคโดยมีกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชียและธนาคารโลกเป็นหัวหอกนั้นจะเป็นสิ่งที่ทำให้ประเทศต่างๆ สามารถยอมรับข้อผูกมัดระยะสั้นได้
"ด้วยความช่วยเหลือของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)อัตราดอกเบี้ยจริงที่ลดลงและการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจและนโยบายของรัฐบาลที่โปร่งใสมากขึ้นจะนำมาซึ่งความเชื่อมั่นในการลงทุนในภูมิภาคนี้ นอกจากนั้นกองทุนระหว่างประเทศที่ตีตัวออกห่างจากเอเชียในไม่กี่เดือนที่ผ่านมาเพื่อความปลอดภัยนั้นจะถูกดึงให้กลับมาสู่ภูมิภาคนี้อีกดังนั้นจึงเป็นเวลาที่นักลงทุนน่าจะลงทุนอีกครั้งในขณะที่เศรษฐกิจกำลัง กระเตื้องขึ้น"มิสแทนกล่าวสรุป
หมายเหตุถึงบรรณาธิการซิตี้แบงก์ ไพรเวท แบงก์
ซิตี้แบงก์เริ่มให้บริการการไพรเวท แบงก์ในฮ่องกงกว่า 20 ปีมาแล้วโดยมีสำนักงานอยู่ใน 31 ประเทศ และบริหารสินทรัพย์สำหรับบุคคลและสถาบันต่างๆ ทั่วโลกให้บริการด้านการเงินที่หลากหลายแก่บุคคลและสถาบันโดยผ่านเครือข่ายและสำนักงานซิตี้แบงก์กว่า 3,300 แห่งใน 98 ประเทศทั่วโลกเป้าหมายของซิตี้แบงก์ ไพรเวท แบงก์ คือการให้ความช่วยเหลือลูกค้าในการจัดการลงทุนในระยะยาวการคุ้มครองและเพิ่มความมั่งคั่งให้แก่ลูกค้าหัวใจสำคัญของการบริการก็คือผู้จัดการบริหารกองทุนผู้เชี่ยวชาญและมีความสามารถระดับโลกที่สามารถรองรับความต้องการเฉพาะของลูกค้าแต่ละราย
ซิตี้แบงก์ ไพรเวท แบงก์เปิดทำการในประเทศไทยในปี 2529 และเริ่มดำเนินกิจการในเอเชียในปี 2445 - 3 -
มิส เลย์ ฮอง แทนรองประธานผู้จัดการกองทุนอาวุโส
มิส แทน ร่วมงานกับซิตี้แบงก์ในปี 2534 และประสบความสำเร็จในการทำ Asian DiscretionaryPortfolio แก่ลูกค้าเอกชน มิสแทนยังเป็นผู้จัดการกองทุนอาวุโสคนสำคัญของ Industrialised AsiaPacific (ex-Japan) Equity Citiportfolio อีกด้วย
ก่อนร่วมงานกับซิตี้แบงก์ มิสแทนดำรงตำแหน่งผู้บริหารทุนของธนาคารแห่งหนึ่งในสิงคโปร์ทำหน้าที่บริหารเงินของลูกค้าและบริหารกองทุนต่างๆ เช่น กองทุนเงินบำนาญกองทุนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มิสแทนมีประสบการณ์ในการบริหารเงินทุนถึง 12 ปีและมีความรู้ความเข้าใจในตลาด เอเชียอย่างลึกซึ้ง ไม่ว่าจะเป็นตลาดในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซียฮ่องกง ประเทศไทย และออสเตรเลีย
มิสแทน จบการศึกษาระดับปริญญาตรีเกียรตินิยมด้านการบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยสิงคโปร์
Industrialised Asia Pacific (ex-Japan) Equity Citiportfolio (IAPEC)
IAPEC เป็นกองทุนจดทะเบียนมูลค่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐของลักเซมเบิร์กเพื่อการลงทุนเบื้องต้นใน หุ้นสามัญของตลาดหุ้น เอเชียแปซิฟิก รวมถึงตลาดในฮ่องกง สิงคโปร์ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ และไต้หวันเพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าทุนในระยะยาวจำนวนมากแก่นักลงทุนที่มีความสามารถในการรองรับความเสี่ยงสูง กองทุนนี้ได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับต้นๆ ของ Asian Equity Fund (ex-Japan)ซึ่งมีผลการดำเนินงานดีเด่นติดต่อกันสามปีและได้รับรางวัลยอดเยี่ยมแห่งปีของ Micropal-SouthChina Morning Post ประจำปี 2540 และเป็นที่หนึ่งของการจัดอันดับกองทุนโดย Micropal ในปี 2538
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อุดมลักษณ์ โอฬารโทร. (66-2) 273-8800 --จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ