รัฐปลุกกระแสเศรษฐกิจ ดัน "เชื่อมั่นเมืองไทย" เป็นโครงการแห่งชาติ

ข่าวทั่วไป Thursday July 15, 1999 11:50 —ThaiPR.net

กรุงเทพ--15 ก.ค.--บีโอไอ
ครม. เศรษฐกิจเห็นชอบบีโอไอร่วมรณรงค์โครงการสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นกับประเทศไทย นายกรัฐมนตรีสั่งหน่วยงานระดมความร่วมมือหลังจากพบว่าดัชนีทางเศรษฐกิจกำลังดีขึ้นเป็นลำดับ ล่าสุดบีโอไอรายงานภาวะการลงทุนในไทยครึ่งปีแรก 2542 โครงการขอรับส่งเสริมการลงทุนเพิ่ม 20% แต่เงินลงทุนลดเพราะขนาดโครงการเล็กลด ระบุยุโรปสนใจมาลงทนุมากที่สุด
นายสถาพร กวิตานนท์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทนุ (บีโอไอ) เปิดเผยว่า บีโอไอได้รายงานภาวะการลงทุนในช่วงครึ่งปีแรกให้ที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบ และเพื่อเร่งรัดสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของบีโอไอที่กำหนดให้โครงการเชื่อมั่นเมืองไทยเป็นโครงการรณรงค์ของชาติ โดยนายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย มอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐร่วรณรงค์และช่วยเผยแพร่กิจกรรมของโครงการนี้
การรณรงค์โครงการเชื่อมั่นเมืองไทยมีวัตถุประสงค์ที่จะเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นในกลุ่มนักลงทุนไทยและต่างประเทศ เพื่อให้นักลงทุนมั่นใจว่าประเทศไทยได้ผ่านพ้นช่วงเลวร้ายด้านเศรษฐกิจมาแล้ว และกำลังก้าวสู่การฟื้นตัว ซึ่งเป็นโอกาสอันดีของนักลงทุนที่จะตัดสินใจมาลงทุนหรือขยายการลงทุนในประเทศไทยที่กลับมาสดใสและแข็งแกร่งกว่าเดิมในปี ค.ศ.2000 หรือ ปี 2543 และเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับประชาชนทั่วไปด้วย
ทั้งนี้จะมีกิจกรรมประชาสัมพันธ์หลากหลายรูปแบบกว่า 10 กิจกรรม อาทิ การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเพื่อทำกิจกรรมรณรงค์ร่วมกัน การจัดรวบรวมข้อมูล และสรุปตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเพื่อเผยแพร่ การจัดสัมมนา การเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ที่ชัดเจนและเข้าใจง่ายให้เกิดความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยจะสดใสในปี 2000 เช่น ภาพโปสเตอร์ โปสการ์ด เสื้อยืด ปฏิทินตั้งโต๊ะ โฟนการ์ด วิดีโอ เป็นต้น
* ครึ่งปีแรกบริษัทขอรับส่งเสริมลงทุน
นายสถาพรกล่าวว่า ความเชื่อมั่นดังกล่าวมีข้อมูลอ้างอิงที่สามารถชี้ให้เห็นภาวะทางเศรษฐกิจที่เริ่มกระเตื้องขึ้นหลายประการ อาทิ ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของธนาคารแห่งประเทศไทยเฉลี่ย 4 เดือนแรกของปี 2542 เพิ่มเป็น 104.1 เทียบกับปี 2541 อยู่ที่ 96.4 อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มเป็นร้ยอละ 57 ซึ่งสอดคล้องกัยผลสำรวจบริษัทที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนไตรมาสแรกที่พบว่าเกือบทุกอุตสาหกรรมอัตราการใช้กำลังการผลิตสูงขึ้น เช่น ปิโตรเคมี ปูนซีเมนต์ เหล็กแผ่น กระเบื้องปูพื้น กระจกแผ่น เพราะอุตสาหกรรมเหล่านี้หาตลาดส่งออกทดแทนตลาดในประเทศได้มากขึ้น
สำหรับภาวะการลงทุนในช่วง 6 เดือนแรก (ม.ค.-มิ.ย.) ของปี 2542 จำนวนโครงการที่ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนเพิ่มสูงขึ้นเป็น 427 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (357 โครงการ) แต่เงินลงทุนรวมยังคงลดลง เนื่องจากเป็นโครงการขนาดเล็กลง ในช่วงครึ่งแรกของปี 2542 มียอดเงินลงทุนรวม 87,400 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 25 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 134,500 ล้านบาท
โครงการที่ยื่นขอรับการส่งเสิรมส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และมีเงินลงทุนจากกลุ่มประเทศยุโรปสูงเป็นอันดับหนึ่ง คือประมาณ 30,800 ล้านบาท รองลงมาคือ สหรัฐฯ 23,500 ล้านบาท ญี่ปุ่น 22,400 ล้านบาท และไต้หวัน 4,300 ล้านบาท
ทั้งนี้มีปัจจัยบวก 5 ประการที่มีผลต่อการลงทุนในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ได้แก่ 1) มาตรการของรัฐบาล เช่น การลดภาษี การเพิ่มการใช้จ่าย การแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน การออกกฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจต่าง ๆ รวมทั้งมาตรการส่งเสริมการลงทุน 2) อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพ 3) อัตราดอกเบี้ยเงินกุ้ลดลง 4) การส่งออกขยายตัวในบางอุตสาหกรรมเนื่องจาก (ประกอบการสามารถส่งออกได้มากขึ้น เช่น อุตสาหกรรมรถยนน์ ปิโตรเคมี วัตสดุก่อสร้าง และ 5) อ้ตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ
อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยลบที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุน ได้แก่ 1) อัตราการบริโภคในประเทศอยู่ในระด้บต่ำ 2) ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) มีสัดส่วนสูง และการปรับโครงสร้างหนี้ยังล่าช้าทำให้กิจการที่ดำเนินการอยู่แล้วเดินต่อไปไม่ได 3) การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ยังไม่ขยายตัวเท่าที่ควร โดยเฉพาะสำรหรับโครงการลงทุนใหม่ เนื่องจากสถาบันการเงินระมัดระวังการปล่อยกู้มากขึ้น 4) ความล่าช้าและไม่สะดวกของระบบราชการ เช่น การนำเข้าวัตถุดิบและการส่งออก การคืนภาษีอากรต่าง ๆ และ 5) กำลังการผลิตของหลายอุตสาหกรรมเกินความต้องการ
*แนวทางกระตุ้นการลงทุน
สำหรับแนวทางกระตุ้นการลงทุนบีโอไอเสนอว่า ควรคงมาตรการที่ได้ผลไว้ ได้แก่ การรักษาให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพ การคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลและมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจในช่วงวิกฤต
พร้อมกันนี้ ควรมีมาตรการเพิ่มเติมเพื่อเร่งรัดให้การลงทุนขยายตัวมากขึ้น ได้แก่ สร้างความต้องการภายในประเทศ สนับสนุนให้มีการซื้อสินค้าที่ผลิตในประเทศมากขึ้นผ่านการจัดซื้อของหน่ายงานราชการหรือการจัดงานแสดงสินค้ามากขึ้น
ลดอุปสรรคและต้นทุนในการประกอบธุรกิจ เร่งรัดพัฒนาผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสนับสนุนเพื่อให้มีการใช้ชิ้นส่วนในประเทศมากขึ้น ส่งเสริมให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาฝืมือแรงงาน รวมทั้งเร่งสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งกระตุ้นความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเพื่อเร่งให้เกิดการลงทุนและการใช้จ่ายมากขึ้น--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ