กรุงเทพฯ--19 ธ.ค.--ซูม พีอาร์
บทความพิเศษ เรื่อง : รถสามล้อกระบะ บรรทุกพาณิชย์ เพื่อเศรษฐกิจพอเพียง
โดย ดร.วิโรจน์ กุศลโนมัย (วิลเลี่ยม วู) กูรูตลาดนีช
ปัจจุบัน มีความเข้าใจผิดคลาดเคลื่อน และสับสนในประเภทรถสามล้อเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีหลายประเภท และไม่มีการแยกแยะให้ชัดเจน ทำให้เป็นอุปสรรคในการจดทะเบียนอย่างมาก สำหรับรถสามล้อส่วนบุคคล ซึ่งความจริงมีความถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ วันนี้จึงมีโอกาสแยกแยะประเภทรถ 3 ล้อต่างๆให้ทราบโดยทั่วกันดังนี้
1. รถซาเล้ง (มาจากภาษาจีนแต้จิ๋ว เรียกว่า ซาลิ่ง หรือ สามล้อ แผลงมาเป็น ซาเล้ง ) คือ รถสามล้อที่ทำจากจักรยาน ใช้แรงคนถีบโดยต่อเติมให้มีกระบะอยู่ด้านหน้า ปัจจุบันมีการใช้จักรยานไฟฟ้าที่ติดมอเตอร์ หรือ ใช้เครื่องยนต์มอเตอร์ไซต์มือสอง
2. รถตุ๊กตุ๊ก (มาจากเสียงเครื่องยนต์รถมือสอง ไดฮัทสุ จากญี่ปุ่นที่ดังมากๆ) คือ รถสามล้อโดยสาร หรือ แท็กซี่สามล้อ ที่ใช้เครื่องยนต์เก่าจากญี่ปุ่น ขนาด 650 - 1500 ซีซี มีที่นั่งผู้โดยสาร อยู่ด้านหลัง 1 แถว หลังคาทำจากผ้าใบ มีความคล่องตัว วงเลี้ยวกว้าง ยกล้อได้ เป็นรถที่เป็นสัญลักษณ์ของ เมืองไทย ส่วนใหญ่ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นรถเก่า ทะเบียนเก่าทั้งสิ้น ไม่สามารถจดทะเบียนใหม่ได้ หรือ อาจสั่งทำเพื่อใช้ส่วนบุคคลได้ ตามแบบ และสีของผู้ว่าจ้าง
3. รถสกายแล๊ป (มาจากชื่อ สถานีอวกาศ) เป็นรถที่ประกอบขึ้นเองในภาคอีสาน ซึ่งใช้รถมอเตอร์ไซต์ที่พ่วงโซ่ เครื่องยนต์ ขนาด 125 - 150 ซีซี ต่อเติม ด้านเหลังเป็นรถสองแถว เพื่อรับจ้าง เวลาขับศูนย์ถ่วงรถจะถ่วงไปด้านหลัง หน้าจะเชิด ซึ่งไม่ได้มาตรฐานสากล เพราะจุดศูนย์ถ่วงรถทุกชนิดต้องถ่วงมาตรง กลางรถ เนื่องจาก เข้าข่ายรถรับจ้าง หรือ แท็กซี่ ตุ๊กตุ๊ก จึงไม่สามารถจดทะเบียนได้เช่นกัน
4. รถมอเตอร์ไซต์พ่วง คือ การใช้รถมอเตอร์ไซต์ผู้หญิง เช่น ฮอนด้า เวฟ 125 ซีซี มาพ่วงต่อข้าง เพื่อใช้ขายของ การต่อพ่วงส่วนใหญ่จะให้เหล็กแป๊บมาเชื่อมติดกับตัวรถ ซึ่งไม่ได้มาตรฐาน และเกินกำลังจึงเน้นความเร็ว ไม่ได้เน้นแรงบิด ในการออกตัวจะช้ามาก ไม่มีจุดศูนย์ถ่วงของรถที่แน่นอน หากเกิดอุบัติเหตุจะเสียการทรงตัวอย่างแรง อาจแยกเป็น 2 – 3 ชิ้นได้ ส่วนใหญ่มักจะออกทะเบียนรถมอเตอร์ไซต์ก่อน แล้วไปต่อเติมทีหลัง ซึ่งในส่วนที่พ่วงนั้น ไม่ได้มาตรฐาน จึงไม่สามารถจดทะเบียนส่วนพ่วงได้
5. รถ 3 ล้อกระบะบรรทุกเพื่อการพาณิชย์ หรือรถช้างน้อย , รถซูโม่ เกิดขึ้นโดยบริษัท กุศมัย มอเตอร์ จำกัด ภายใต้แบรนด์ ซูโมต้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการลดต้นทุนการขนส่ง และสามารถใช้ได้อย่างอเนกประสงค์ ทั้งในป่า ในนา ในพื้นที่เกษตร พื้นที่อุตสาหกรรม และในเมือง จึงเริ่มผลิตจากเครื่องยนต์ขนาด 175 ซีซี ถึง 400 ซีซี โดยใช้เครื่องยนต์พิเศษในระบบก้านกระทุ้ง และไม่ใช้ระบบโซ่เหมือนรถมอเตอร์ไซต์ทั่วไป สำหรับเครื่องยนต์ระบบก้านกระทุ้ง จะใช้ร่วมกับเครื่องยนต์ในระบบเพลาที่เน้น แรงบิด หรือแรงลากจูงสำหรับออกตัวเป็นหลัก จึงขับได้ช้ากว่า แต่ใช้ลากของและบรรทุกของได้ดีเยี่ยม เปรียบเสมือน การใช้ลา หรือ ล่อ (ส่วนการใช้ระบบโซ่ก็เหมือนการใช้ม้า) ส่วนตัวกระบะไม่ใช้แบบต่อพ่วง หรือต่อเติมแยกต่างหาก แต่เป็นการใช้คัสซีชิ้นเดียวเป็นช่วงล่าง แล้วประกอบเครื่องยนต์กับกระบะบนคัสซี เหมือนกับการประกอบรถกระบะ 4 ล้อ จึงทำให้ได้มาตรฐานสูง มีความมั่นคง แข็งแรง และปลอดภัย สามารถบรรทุกน้ำหนักได้ตั้งแต่ 500 กก. ถึง 2 ตัน เลยทีเดียว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องยนต์ เพลาขับเคลื่อน คัสซี โช๊คอัพ แหนบ รวมถึงกระบะที่แข็งแรง ทนทาน ด้วยการออกแบบโครงสร้างและวัสดุที่ได้มาตรฐานจากประเทศญี่ปุ่น ทำให้สามารถจดทะเบียนได้ ถ้าใช้ในกิจการส่วนบุคคล องค์กร หรือกิจการส่วนตัว แต่ห้ามมิให้นำไปรับจ้าง เพราะจะถือว่าเป็นรถผี เนื่องจากไม่ใช่ทะเบียนรถรับจ้างป้ายเหลือง
ปัจจุบัน กุศมัย มอเตอร์ ได้ผลิตรถ 3 ล้อ ซูโมต้า ทั้งหมด 12 รุ่น ได้แก่แบบ SMARTY 110 CC มี 2 รุ่น สามารถบรรทุกได้ 500 กก. แบบ ECO มีทั้งหมด 5 รุ่น ขนาดเครื่องยนต์ 175 CC สามารถบรรทุกได้ 800 - 1,000 กก. และแบบ TRANSFORMER 200-250 CC มีด้วยกัน 5 รุ่น สามารถบรรทุกน้ำหนักได้ถึง 1,500 - 2,000 กก. เพื่อตอบสนองทุกกลุ่มความต้องการ
** เชิญชมและทดลองขับได้ที่โชว์รูม พระราม 2 โทรศัพท์ 02 416 5700 www.kusamaimotor.com
เจ้าของกิจการท่านใดสนใจต้องการปรึกษาธุรกิจ สามารถติดต่อ ดร.วิโรจน์ กุศลโนมัย โดยตรงที่ โทรศัพท์ 085-4885-427 หรือ E-mail: info@kusamai.com http://www.kusamai.com
สอบถามข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์ 02 000 8499, 081 732 7889