กรุงเทพฯ--29 ธ.ค.--มาสเตอร์โพลล์
รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in Community Happiness Association, TRICHA) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพลล์(Master Poll) เรื่อง ประเมินผลงานรัฐบาลในรอบ 3 เดือน กรณีศึกษาตัวอย่างแกนนำชุมชน จำนวนทั้งสิ้น 602 ชุมชน โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 24-27 ธันวาคม 2557 ซึ่งคณะผู้วิจัยได้สอบถามแกนนำชุมชนถึงความคาดหวัง การเห็นผลงาน และคะแนนความพึงพอใจที่มีต่อผลการดำเนินงานตามนโยบายทั้ง 5 ด้านของรัฐบาล ประกอบด้วย นโยบายด้านความมั่นคง นโยบายด้านเศรษฐกิจ นโยบายด้านสังคม นโยบายด้านการต่างประเทศ และการดำเนินงานด้านกฎหมาย ผลการสำรวจพบประเด็นที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
นโยบายด้านความมั่นคง พบว่า นโยบายด้านความมั่นคงที่แกนนำชุมชนมีความคาดหวังจากรัฐบาลมากที่สุดคือ การป้องกันและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ (ร้อยละ 97.8) รองลงมาคือ การสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน (ร้อยละ 96.5) การแก้ไขปัญหาความยากจน (ร้อยละ 96.3) การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำและการสร้างความเป็นธรรมในสังคม (ร้อยละ 95.8) การรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับประชาชน (ร้อยละ 95.5)
อย่างไรก็ตามหากพิจารณาการรับรู้จริงในผลงานของการดำเนินงานตามนโยบายด้านความมั่นคงนั้น พบว่าร้อยละ 93.0 เห็นผลงานด้านการป้องกันและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ ร้อยละ 88.0 ระบุเห็นผลงานด้านการสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ร้อยละ 84.8 ระบุเห็นผลงานด้านการแก้ไขปัญหาความยากจน ร้อยละ 84.1 ระบุเห็นผลงานด้านการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับประชาชน และร้อยละ 83.5 ระบุเห็นผลงานด้านการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำและการสร้างความเป็นธรรมในสังคม ตามลำดับ
และเมื่อสอบถามความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานนโยบายด้านความมั่นคงในประเด็นข้างต้นนั้น ผลการสำรวจ พบว่า การป้องกันและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ มีคะแนนความพึงพอใจสูงสุดคือ 8.68 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน รองลงมาคือการสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ได้ 7.69 คะแนน การแก้ไขปัญหาความยากจน ได้ 7.68 คะแนน การรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับประชาชน ได้ 7.67 คะแนน และการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำและการสร้างความเป็นธรรมในสังคม ได้ 7.63 คะแนน
นโยบายด้านเศรษฐกิจ พบว่า นโยบายด้านเศรษฐกิจที่แกนนำชุมชนมีความคาดหวังจากรัฐบาล มากที่สุด คือ การดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ (ร้อยละ 95.0) การเตรียมการด้านการพักชำระหนี้เกษตรกร รายย่อย (ร้อยละ 93.7) รองลงมาคือ การแก้ปัญหาด้านพลังงาน (ร้อยละ 93.2) การแก้ไขปัญหาเรื่องข้าว ยางพารา และมันสำปะหลัง (ร้อยละ 93.0) การส่งเสริมการลงทุน (ร้อยละ 93.0) การเตรียมการด้านโครงสร้างพื้นฐาน (ร้อยละ 93.0) มาตรการแก้ปัญหาผลกระทบจากภัยแล้ง (ร้อยละ 92.3) และการเสนอกฎหมายต่อคณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ร้อยละ 91.5)
อย่างไรก็ตามหากพิจารณาการรับรู้จริงในผลงานของการดำเนินงานตามนโยบายด้านเศรษฐกิจนั้นพบว่า ร้อยละ 83.8 เห็นผลงานด้านการแก้ปัญหาพลังงาน ร้อยละ 79.3 ระบุเห็นผลงานด้านการเตรียมการด้านโครงสร้างพื้นฐาน ร้อยละ 78.8 ระบุเห็นผลงานด้านการเสนอกฎหมายต่อคณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ร้อยละ 77.9 ระบุเห็นผลงานด้านการส่งเสริมการลงทุน ร้อยละ 77.1 ระบุเห็นผลงานด้านการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ร้อยละ 76.8 ระบุเห็นผลงานด้านการพักชำระหนี้เกษตรกรรายย่อย ร้อยละ 73.5 ระบุเห็นผลงานด้านมาตรการแก้ปัญหาผลกระทบจากภัยแล้ง และร้อยละ 68.6 ระบุเห็นผลงานด้านการแก้ไขปัญหาเรื่องข้าว ยางพารา และมันสำปะหลัง ตามลำดับ
และเมื่อสอบถามความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานนโยบายด้านเศรษฐกิจในประเด็นข้างต้นนั้น ผลการสำรวจ พบว่า การแก้ปัญหาด้านพลังงาน มีคะแนนความพึงพอใจสูงสุดคือ 7.50 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน รองลงมา คือ การเตรียมการด้านโครงสร้างพื้นฐานได้ 7.37 คะแนน การเสนอกฎหมายต่อคณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ 7.34 คะแนน การดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการพักชำระหนี้เกษตรกรรายย่อย ได้ 7.33 คะแนนเท่ากัน การส่งเสริมการลงทุนได้ 7.27 คะแนน มาตรการแก้ปัญหาผลกระทบจากภัยแล้ง ได้ 7.18 คะแนน ในขณะที่การแก้ไขปัญหาเรื่องข้าว ยางพารา และมันสำปะหลัง ได้ 6.91 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ตามลำดับ
นโยบายด้านสังคม พบว่า นโยบายด้านสังคมที่แกนนำชุมชนมีความคาดหวังจากรัฐบาลมากที่สุดคือ การพัฒนาสังคม (ร้อยละ 97.5) รองลงมาคือ การพัฒนาการศึกษาและเรียนรู้ (ร้อยละ 97.0) การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน (ร้อยละ 96.2) และการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ร้อยละ 94.2)
อย่างไรก็ตามหากพิจารณาการรับรู้จริงในผลงานของการดำเนินงานตามนโยบายด้านสังคมนั้นพบว่า ร้อยละ 86.6 เห็นผลงานด้านการพัฒนาสังคม ร้อยละ 85.1 ระบุเห็นผลงานด้านการพัฒนาการศึกษาและการเรียนรู้ ร้อยละ 83.4 ระบุเห็นผลงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ร้อยละ 77.3 ระบุเห็นผลงานด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
และเมื่อสอบถามความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานนโยบายด้านสังคมในประเด็นข้างต้นนั้น ผลการสำรวจ พบว่า การพัฒนาสังคม มีคะแนนความพึงพอใจสูงสุดคือ 7.69 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน รองลงมาคือการพัฒนาการศึกษาและการเรียนรู้ ได้ 7.38 คะแนน การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ได้ 7.33 คะแนน และการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโยลี ได้ 7.11 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
นโยบายด้านการต่างประเทศและกิจการอื่นๆ พบว่า นโยบายด้านการต่างประเทศที่แกนนำชุมชนมีความคาดหวังจากรัฐบาลมากที่สุดคือ การส่งเสริมและเชิดชูสถาบัน (ร้อยละ 98.0) รองลงมาคือ การทำนุบำรุงศาสนา (ร้อยละ 96.2) การยกระดับมาตรฐานกีฬาสู่สากล (ร้อยละ 95.8) การส่งเสริมศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจ (ร้อยละ 95.7) การสร้างความเชื่อมั่นและความเข้าใจต่อนานาชาติ (ร้อยละ 95.0) และของขวัญปีใหม่ให้ประชาชนของฝ่ายต่างประเทศ (ร้อยละ 91.3)
อย่างไรก็ตามหากพิจารณาการรับรู้จริงในผลงานของการดำเนินงานตามนโยบายด้านการต่างประเทศนั้นพบว่า ร้อยละ 93.9 เห็นผลงานด้านการส่งเสริมและเชิดชูสถาบัน ร้อยละ 91.3 ระบุเห็นผลงานด้านการสร้างความเชื่อมั่นและความเข้าใจต่อนานาชาติ ร้อยละ 88.4 ระบุเห็นผลงานการยกระดับมาตรฐานกีฬาสู่สากล ร้อยละ 86.0ระบุเห็นผลงานด้านการทำนุบำรุงศาสนา ร้อยละ 82.3 ระบุเห็นผลงานด้านการส่งเสริมศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจ และ ของขวัญปีใหม่ให้ประชาชนของฝ่ายต่างประเทศ ตามลำดับ
และเมื่อสอบถามความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานนโยบายด้านการต่างประเทศและกิจการอื่นๆ ในประเด็นข้างต้นนั้น ผลการสำรวจ พบว่า การส่งเสริมและเชิดชูสถาบัน มีคะแนนความพึงพอใจสูงสุดคือ 8.18 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน รองลงมาคือการสร้างความเชื่อมั่นและความเข้าใจต่อนานาชาติ ได้ 7.61 คะแนน การยกระดับมาตรฐานกีฬาสู่สากล ได้ 7.58 คะแนน การส่งเสริมศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจ ได้ 7.49 คะแนน การทำนุบำรุงศาสนา ได้ 7.36 คะแนน และของขวัญปีใหม่ให้ประชาชนของฝ่ายต่างประเทศ ได้ 7.33 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
การดำเนินงานด้านกฏหมาย พบว่า แกนนำชุมชนมีความคาดหวังจากรัฐบาลมากที่สุดคือ การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ร้อยละ 97.5) รองลงมาคือ การป้องกันและปราบปรามทุจริตในภาครัฐ (ร้อยละ 96.2) การอำนวยความยุติธรรมเพื่อลดการเหลื่อมล้ำ (ร้อยละ 95.5) การส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดี (ร้อยละ 95.3) การเสนอร่างกฏหมายเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ร้อยละ 94.9)
หากพิจารณาการรับรู้จริงในผลงานของการดำเนินงานด้านกฎหมายนั้น พบว่า ร้อยละ 88.7 เห็นผลงานด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ร้อยละ 88.5 ระบุเห็นผลงานด้านการป้องกันและปราบปรามทุจริตในภาครัฐ ร้อยละ 85.2 ระบุเห็นผลงานการอำนวยความยุติธรรมเพื่อลดการเหลื่อมล้ำ ร้อยละ 84.6 ระบุเห็นผลงานด้านการส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดี ร้อยละ 83.6 ระบุเห็นผลงานด้านการเสนอร่างกฏหมายเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามลำดับ
และเมื่อสอบถามความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานด้านกฎหมายในประเด็นข้างต้นนั้น ผลการสำรวจ พบว่า การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด มีคะแนนความพึงพอใจสูงสุดคือ 7.90 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน รองลงมาคือการป้องกันและปราบปรามทุจริตในภาครัฐ ได้ 7.87 คะแนน การส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดี ได้ 7.53 คะแนน การเสนอร่างกฏหมายเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ 7.51 คะแนน และการอำนวยความยุติธรรมเพื่อลดการเหลื่อมล้ำ ได้ 7.48 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน