ไทยพร้อมรับมือศูนย์ปฏิบัติการวิจัยเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน

ข่าวทั่วไป Wednesday April 2, 1997 19:39 —ThaiPR.net

กรุงเทพ--2 เม.ย.--ศซ.
ศ.ดร.วิรุฬห์ สายคณิต ประธานกรรมการสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ และคณิตศาสตร์ของสภาวิจัยแห่งชาติ และผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการวิจัยเครื่อง กำเนิดแสงซินโครตรอนแห่งชาติ (ศซ.) เปิดเผยภายหลังจากจบการประชุมร่วมกับ นักวิทยาศาสตร์ระดับโลก ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ -22 มีนาคม 2540 ใน หัวข้อ REGIONAL SCHOOL ON THE APPLICATIONS OF SYNCHROTRON RADIATION ว่าการประชุมในครั้งนี้ประสบความสำเร็จด้วยดี โดยได้มีการระดม นายกสมาคมฟิสิกส์และนักฟิสิกส์รุ่นเยาว์จากทุกประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่งมีนักฟิสิกส์ นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของไทยเข้าร่วมประชุม จำนวนกว่า 60 คน โดยมีผู้ เชี่ยวชาญระดับโลกจากประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อิตาลี สวีเดน ฝรั่งเศส จีน อังกฤษ และเยอรมันเป็นวิทยากร ทั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อเตรียมนักวิชาการ ของไทยให้มีความพร้อมในการใช้เครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน และในการวิจัย ทางด้านวิชาการแขนงต่าง ๆ
เครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน เป็นเครื่องมือที่จำเป็นในการวิจัย พื้นฐานของการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ ทางด้านวิชาการ ซึ่งครอบคลุมหลายแขนงวิชา อาทิ ชีววิทยา ฟิสิกส์ เภสัชศาสตร์ การบำบัดรักษาทางการแพทย์และเทคโนโลยี อุตสาหกรรม การจัดสร้างเครื่องดังกล่าวใช้งบประมาณกว่า 5,000 ล้านบาท ซึ่ง ต้องใช้เวลาการจัดสร้างและติดตั้งไม่ต่ำกว่า 10 ปี แต่เนื่องจากประเทศไทย ได้รับการช่วยเหลือทางด้านเทคโนโลยีจากประเทศญี่ปุ่น โดยได้รับเครื่องกำเนิด แสงซินโครตรอน ซึ่งมีอายุการใช้งานมาแล้ว 6 ปี แต่ยังมีอายุการในงานต่อ ไม่ต่ำกว่า 20 ปี โดยเสียค่าใช้จ่ายในการขนย้ายเครื่องมาเท่านั้น รัฐบาลไทย จึงได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการวิจัยเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนแห่งชาติขึ้น ในปี พ.ศ. 2539 โดยเป็นหน่วยงานสังกัดภายใต้การดูแลของกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม และมีกรรมการบริหารศูนย์จำนวน 15 คน ซึ่งเป็นนักฟิสิกส์ชั้นนำ อาทิ ศ.ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต ดร.วิโรจน์ ตันตราภรณ์ ดร.กอปร กฤตยากีรณ และรศ.ดร.ถิรพัฒน์ วิลัยทอง โดยมีปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและ สิ่งแวดล้อมเป็นประธานคณะกรรมการ
ขณะนี้ เครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนได้เคลื่อนย้ายจากประเทศญี่ปุ่นมา ถึงประเทศไทยแล้ว โดยตั้งอยู่ในบริเวณมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัด นครราชสีมา ในระยะ 3 ปี ต่อจากนี้ไปจะเป็นช่วงของการประกอบและติดตั้ง เครื่องเพื่อการปฏิบัติการ ต่อจากนั้นศูนย์ฯ จะเปิดให้บริการแก่หน่วยงานภาครัฐบาล และเอกชน เพื่องานวิจัยค้นคว้าในด้านต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว โดยการดำเนินงาน ของศูนย์ฯ จะมีผลทำให้เกิดความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีของประเทศไทย จากการเป็นผู้ซื้อเทคโนโลยีระดับสูงจากต่างประเทศ มาเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยี ระดับสูงเพื่อใช้งานเอง ซึ่งจะเป็นการเปิดยุคใหม่ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของประเทศไทยต่อไป--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ