ส.อ.ท. ร่วมกับ สคช. ยกระดับมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพนำร่องในอุตสาหกรรมยางล้อและชิ้นส่วนยางสำหรับยานยนต์และงานวิศวกรรม เพื่อรองรับการเปิด AEC

ข่าวทั่วไป Monday January 5, 2015 11:53 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--5 ม.ค.--สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในหลายประเทศได้ทำการพัฒนาระบบฐานสมรรถนะบุคคลซึ่งรู้จักกันดีในนาม “ระบบคุณวุฒิวิชาชีพ” มาอย่างต่อเนื่องและบางประเทศได้ประกาศใช้อย่างเป็นทางการแล้วเช่นกัน และด้วยเหตุผลอีกหลายประการที่ประเทศไทย จำเป็นต้องจัดทำระบบคุณวุฒิวิชาชีพ ได้แก่ เพื่อรองรับการเปิด AEC, เพื่อเพิ่มกำลังแรงงานที่มีสมรรถนะตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน เพื่อพัฒนาหลักสูตรการสร้างนักศึกษาในสถานบันการศึกษาให้ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ ดังนั้น สถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอุตสาหกรรมการผลิต (SMI) และกลุ่มอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จึงได้ร่วมกับสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) จัดทำโครงการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาผลิตภัณฑ์ยางพารา (อุตสาหกรรมยางล้อและชิ้นส่วนยางสำหรับยานยนต์และงานวิศวกรรม) วัตถุประสงค์หลักของการดำเนินโครงการ - เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมได้บุคลากรที่มีความสามารถและสมรรถนะตรงตามสายอาชีพและตำแหน่งงาน - ภาคการศึกษาสามารถนำมาตรฐานอาชีพ ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น - ยกระดับองค์ความรู้และสมรรถนะของบุคลากรในอุตสาหกรรมเป้าหมายสู่มาตรฐานสากล สำหรับอุตสาหกรรมยางล้อและชิ้นส่วนยางสำหรับยานยนต์และงานวิศวกรรม ได้ดำเนินงานใน 8 สายอาชีพ คือ ผู้ควบคุมการผสมยาง 4 ระดับชั้นคุณวฒิวิชาชีพ, ผู้ควบคุมการฉาบยาง 4 ระดับ, ผู้ควบคุมการขึ้นรูปยาง 3 ระดับ, ผู้ควบคุมการอบยาง 4 ระดับ, ผู้ตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ยาง 4 ระดับ, ช่างซ่อมบำรุงเครื่องจักรผลิตยาง 3 ระดับ, ผู้ควบคุมกระบวนการผลิตยาง 1 ระดับ รวมทั้งสิ้น 23 ระดับชั้นคุณวฒิวิชาชีพ หลักการจัดทำ - ใช้ข้อมูลจริงของอุตสาหกรรมการผลิตล้อยางและชิ้นส่วนยานยนต์ - ใช้วิธีการทำ Focus Group ระดมความคิดเห็นจากผู้ที่ปฏิบัติงานจริงและมีความชำนาญในการทำงานจริงในแต่ละวิชาชีพ เพื่อให้ได้สมรรถนะที่ต้องการใช้ในอุตสาหกรรมนี้อย่างแท้จริง - การเข้าศึกษากระบวนการผลิตจริงในโรงงานตัวอย่าง - นำผลการวิเคราะห์จากกระบวนการทำงานจริง (Process) ของทีมงานวิศวกรที่ปรึกษาของทีมงานมาเป็นข้อมูลประกอบการทำ Focus Group เพื่อให้ได้ผลของสมรรถนะที่ครอบคลุมมากที่สุด - นำข้อมูล และ Best Practice ต่างประเทศมาเปรียบเทียบและประยุกต์เพิ่มเติม - กำหนดมาตรฐานจากสมรรถนะ (Competency) ที่จำเป็นในทุกๆ ด้าน ผลการดำเนินงาน ได้หน่วยมรรถนะ (UOC) ทั้งสิ้น 46 หน่วย โดยโครงการได้จัดทำเครื่องมือประเมินของแต่ละหน่วยสมรรถนะ ออกเป็นหลายเครื่องมือด้วยกัน ซึ่งสถานประกอบการสามารถเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมได้ อาทิ การสัมภาษณ์โดยวิธี CBI (Competency Base Interview), ข้อสอบปฏิบัติ, ข้อสอบภาคทฤษฎี ซึ่งเครื่องมือทั้งหมดได้ผ่านการทดสอบในสถานประกอบการจริงว่ามีความเหมาะสมและใช้งานได้จริง รวมถึงได้รับการประเมินคุณภาพของเครื่องมือจากผู้เชี่ยวชาญในสายอาชีพแล้ว โดยหลังจากนี้ จะเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ทราบและนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป โดยข้อมูลมาตรฐานและเครื่องมือประเมินสามารถสอบถามหรือขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) โทรศัพท์ 02-617-7970 ซึ่งในการดำเนินงานขั้นต่อไป คือการจัดตั้งองค์กรที่มีการหน้าที่รับรองสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ และศูนย์ฝึกอบรม เพื่อให้ครอบคลุมการพัฒนามาตรฐานอาชีพฯ ต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ