แถลงการณ์ด่วนจาก บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด

ข่าวยานยนต์ Thursday November 6, 1997 15:45 —ThaiPR.net

กรุงเทพ--6 พ.ย.--โตโยต้า
มร.วาย มูรามัตซึ ประธานบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ออกแถลงการณ์ด่วน ให้สัมภาษณ์ผ่านทางโทรทัศน์ทุกช่อง เพื่อชี้แจงกระแสข่าวที่สร้างความสับสน ต่อภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย เกี่ยวกับเรื่อง การปิดโรงงานโตโยต้า ว่าข่าวดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อนในบางประเด็น โดยมีเนื้อหาประเด็นต่างๆ สรุปได้ดังนี้
ตามที่เป็นข่าวในหนังสือพิมพ์ต่างประเทศ และมีรายงานทั่วโลกเกี่ยวกับปัญหาการปิดโรงงานของบริษัท โตโยต้าฯ นั้น ประธานบริษัท มีข้อชี้แจงดังต่อไปนี้
เนื่องจากตลาดมีขนาดลดลง บริษัท โตโยต้าฯ จึงมีการปรับปริมาณการผลิต แบ่งเป็นขั้นตอน คือ ลดการทำงานจาก 2 กะ เหลือเพียง 1 กะ ตั้งแต่เดือนกันยายน ได้มีการปรับการวันทำงานจาก 5 วันเหลือเพียง 3 วันโดยการปรับได้ทำทั้งที่โรงงานเกตเวย์ และสำโรง
จากสถานการณ์ที่ไม่ได้ของตลาดรถยนต์ เราจึงลดการผลิต แต่ยืนยันว่าไม่มีการปิดโรงงานแต่อย่างใด แต่เป็นเพียงหยุดสายการผลิตชั่วคราวเป็นเวลา 1 เดือนครึ่ง ตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายนถึงสิ้นเดือนธันวาคม ทั้งนี้พนักงานของบริษัท โตโยต้าฯ โดยรวมมีจำนวนทั้งสิ้น 4,700 คน แต่ผู้เกี่ยวข้องทางด้านการผลิตมีจำนวน 2,000 คน ในจำนวนนี้จะจัดให้มีการฝึกอบรมและช่วยงานในฝ่ายที่ขาดแคลนกำลังคน แม้ว่าจะมีการหยุดการผลิตั่วคราว แต่บริษัทฯ โตโยต้าฯ ไม่มีนโยบาย Lay Off พนักงานและยังคงจ่ายเงินเดือนให้กับพนักงานเหล่านั้นตามปกติ
ต่อข้อซักถามจากสื่อมวลชนและข้อมูลเพิ่มเติม
- การขึ้นภาษีสรรพสามิต 5% สำหรับรถทุกประเภท จะมีผลต่อราคารถยนต์หรือไม่ อย่างไร
- บริษัทจะมีการลดขนาด ธุรกิจลงหรือไม่
เดิมทีได้มีการประเมินอุตสาหกรรมรถยนต์โดยรวมไว้ที่ 800,000 คันต่อปี ในปี 2000 ซึ่งบริษัท โตโยต้าฯ ได้ทำการลงทุน สร้างโรงงานเพื่อขยายกำลังการผลิตอีก 1 โรงงานที่เกตเวย์ เพื่อให้ได้กำลังการผลิตรวม 240,000 คันต่อปี เพื่อรองรับกับส่วนแบ่งการตลาดที่ตั้งเป้าหมายไว้ที่ ร้อยละ ซึ่งการลงทุนได้ดำเนินการไปแว แม้ว่าเศรษฐกิจจะเป็นขาลง บริษัท โตโยต้าฯ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป้าหมายดังกล่าว แต่การบรรลุยอดขาย 240,000 คันคงจะเลื่อนต่อ 2-3 ปี
- เมื่อมีการหยุดสายการผลิตแล้วจะมีการ Lay Off พนักงานหรือไม่
นโยบายของบริษัท โตโยต้าฯ คือจะไม่ Lay Off พนักงาน ทั้งนี้ บริษัท โตโยต้าฯ ได้มีประสบการณ์ในบริษัท NUMI ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ที่ต้องเผชิญปัญหากำลังการผลิตที่ลดลงอย่างฮวบฮาบ เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมรถยนต์ประเทศไทยในปัจจุบัน บริษัทดังกล่าวยังไม่ทำการ เมื่อเศรษฐกิจในอเมริกาฟื้นกลับมาดังเดิม บริษัทก็สามารถเพิ่มการผลิตได้ทันที ซึ่งสร้างความประทับใจกับพนักงานและสังคมอย่างมาก
- ท่านคิดว่าอะไรเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงเศรษฐกิจที่ดีขึ้น
มีหลายสัญญาณด้วยกันคือ เสถียรภาพเงินบาท, การไหลเข้าของเงินตราต่างประเทศ, การเข้ามาร่วมทุนกับบริษัทต่างชาติ และผลการส่งออก
- ท่านคาดการณ์ตลาดรถยนต์ปีหน้าไว้อย่างไร
ตลาดรวมคงอยู่ที่ 300,000 คันต่อปี แต่เลวร้ายที่สุดคงไม่ต่ำกว่า 240,000 คันต่อปี โดยโตโยต้ายังคงตั้งเป้าหมายส่วนแบ่งตลาดไว้ที่ 30% ในส่วนของการส่งออกปีที่แล้ว 50 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยปัจจุบันโตโยต้าได้ส่งออกไปแล้วเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 90 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา และปีหน้าจะส่งออกเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 150 ล้านเหรียญสหรัฐ
- ท่านคิดอย่างไรกับเรื่องที่ประเทศไทยจะยังคงเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์ในภูมิภาคเอเซียอีกต่อไปหรือไม่
โตโยต้ายังคงมีความมั่นใจว่าประเทศไทยยังคงมีศักยภาพเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ในภูมิภาคนี้ต่อไป
- ท่านคาดหวังการสนับสนุนจากภาครัฐบาลอย่างไรบ้าง
สิ่งที่โตโยต้าอยากจะเห็นก็คือ ความแน่นอนของนโยบายรัฐบาล ซึ่งจะช่วยให้ภาคเอกชนนำมาใช้ในการวางแผนการลงทุนต่อไปได้
- การหยุดการผลิตเป็นเวลา 1 เดือนครึ่งนี้ มีผลต่อบริษัท Suppliers ของโตโยต้าอย่างไร
โตโยต้าได้มีการแจ้งต่อบริษัทดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคมแล้ว ทำให้บริษัท Suppliers สามารถวางแผนและเตรียมแผนการผลิต ให้สอดคล้องกับสถานการณ์นี้--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ