นิด้าโพล: “ปปช. และคดีทุจริตคอร์รัปชัน”

ข่าวทั่วไป Monday January 12, 2015 11:27 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--12 ม.ค.--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ปปช. และคดีทุจริตคอร์รัปชัน” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 5 – 9 มกราคม 2558 จากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทั่วทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับข้อเสนอมาตรการในการส่งเสริมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ให้มีประสิทธิภาพเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพปัจจุบันในประเด็นต่าง ๆ อาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยความน่าจะเป็นด้วยวิธีแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4 จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการฟ้องร้องคดีทุจริตคอร์รัปชันของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ปปช. ผ่านอัยการสูงสุด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 41.60 ระบุว่า ปปช. ต้องฟ้องผ่านอัยการสูงสุดเท่านั้น เพราะ ควรทำตามขั้นตอนกระบวนการยุติธรรม ซึ่งทำให้คดีมีความหนักแน่น มีความน่าเชื่อถือ และมีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น รองลงมา ร้อยละ 34.72 ระบุว่า ปปช. ควรมีอำนาจฟ้องตรงได้โดยไม่ต้องผ่านอัยการสูงสุด เพราะ สามารถลดขั้นตอนต่าง ๆ ทำให้ดำเนินการพิจารณาคดีได้รวดเร็วขึ้น ป้องกันการแทรกแซงจากหน่วยงานอื่น ร้อยละ 13.92 ระบุว่า ปปช. ต้องฟ้องผ่านอัยการสูงสุดเว้นเสียแต่เกินกำหนดระยะเวลาที่กำหนดไว้ ก็สามารถให้ ปปช.ฟ้องโดยตรงเองได้ เพราะ เป็นการให้เกียรติแก่อัยการสูงสุด เป็นการทำตามขั้นตอนในเบื้องต้น และร้อยละ 9.76 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อการกำหนดอายุความคดีทุจริตคอร์รัปชัน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 58.24 ระบุว่า ไม่ควรมีการกำหนดอายุความ เพราะ สามารถลงโทษผู้กระทำผิดได้ตลอดเวลา รองลงมา ร้อยละ 25.76 ระบุว่า ควรมีการกำหนดอายุความที่แน่นอน เพราะ เป็นการกระตุ้นการทำงานการดำเนินจับตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย และไม่ทำให้เสียรูปคดี ขณะที่ ร้อยละ 14.08 ระบุว่า ควรมีการกำหนดอายุความ แต่จะยกเว้นการนับอายุคดี ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาได้ทำการหลบหนี เพราะ เป็นการป้องกันผู้ต้องหาหรือจำเลยหลบหนีคดี และร้อยละ 1.92 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อการยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินของข้าราชการ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 55.20 ระบุว่า ข้าราชการทุกระดับควรต้องยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สิน เพราะ เพื่อแสดงความโปร่งใสในการทำงานอย่างเท่าเทียมกันของข้าราชการในทุกระดับชั้น รองลงมา ร้อยละ 20.16 ระบุว่า ควรยื่นเฉพาะข้าราชการระดับตั้งแต่ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าขึ้นไป เพราะ มีโอกาสที่จะกระทำการทุจริตเช่นเดียวกัน ร้อยละ 17.76 ระบุว่า ควรยื่นเฉพาะข้าราชการเฉพาะระดับตั้งแต่อธิบดีหรือเทียบเท่าขึ้นไป เพราะ การทุจริตคอร์รัปชั่นส่วนใหญ่เกิดจากข้าราชการระดับสูงขึ้นไป ร้อยละ 5.28 ระบุว่า ข้าราชการไม่จำเป็นต้องยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สิน เพราะ ถือเป็นสิทธิส่วนบุคคล และร้อยละ 1.60 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อข้อเสนอให้มีการโอนคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ไปเป็นหน่วยงานในสังกัด ปปช. พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 55.84 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ เป็นการลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนกัน จะได้ช่วยกันทำงานให้มีความรวดเร็วมากยิ่งขิ้น ขณะที่ ร้อยละ 34.00 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ เป็นการจำกัดขอบเขตของกฎหมายมากเกินไป อาจทำให้การดำเนินการต่อคดีต่าง ๆ เกิดความไม่โปร่งใส การทำงานในแต่ละส่วน เป็นคดีเฉพาะทางและเป็นอิสะต่อกันอยู่แล้ว น่าจะมีความคล่องตัวมากกว่า และ ร้อยละ 10.16 ไม่ระบุ /ไม่แน่ใจ เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 20.00 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ร้อยละ 20.00 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 19.92 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 20.00 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 20.08 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 55.76 เป็นเพศชาย ร้อยละ 44.16 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.08 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่างร้อยละ 5.88 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 31.67 มีอายุ 25 – 39 ปี ร้อยละ 49.80 มีอายุ 40 – 59 ปี และร้อยละ 12.65 มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 94.44 นับถือศาสนาพุทธ ตัวอย่างร้อยละ 4.60 นับถือศาสนาอิสลาม และตัวอย่างร้อยละ 0.97 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ ตัวอย่างร้อยละ 26.01 สถานภาพโสด ตัวอย่างร้อยละ 71.97 สมรสแล้ว และตัวอย่างร้อยละ 2.02 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่างร้อยละ 20.00 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ตัวอย่างร้อยละ 27.29 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 9.80 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ตัวอย่างร้อยละ 34.74 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และตัวอย่างร้อยละ 8.18 จบการศึกษา สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตัวอย่างร้อยละ 16.36 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ตัวอย่างร้อยละ 17.41 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ตัวอย่างร้อยละ 25.34 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ตัวอย่าง ร้อยละ 11.90 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ตัวอย่างร้อยละ 12.87 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ตัวอย่างร้อยละ 12.79 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และ ตัวอย่างร้อยละ 3.32 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 12.48 ไม่มีรายได้ ตัวอย่างร้อยละ 17.36 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 ตัวอย่างร้อยละ 33.52 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อเดือน 10,001 – 20,000 ตัวอย่างร้อยละ 12.88 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ตัวอย่างร้อยละ 6.80 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อเดือน 30,001 – 40,000 ร้อยละ 9.84 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มากกว่า 40,001 บาท ขึ้นไป และร้อยละ 7.12 ไม่ระบุรายได้
แท็ก นิด้า  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ