กรุงเทพฯ--16 ม.ค.--พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง
เรดแฮท อิงค์ ผู้ให้บริการโซลูชั่นโอเพ่นซอร์สชั้นนำของโลกได้คาดการณ์เทคโนโลยีปี 2558 ดังนี้
บิ๊กดาต้า
ตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (data scientists) ระดับองค์กรจะมีความสำคัญมากขึ้น
ความแตกต่างระหว่าง บิ๊กดาต้า และ ดาต้า ยังคงเป็นเรื่องที่ไม่ชัดเจนอยู่ ซีไอโอจะให้ความสำคัญกับการรวมและบูรณาการแหล่งข้อมูลแบบดั้งเดิม (เช่น ดาต้า แวร์เฮ้าส์) การวิเคราะห์เชิงธุรกิจด้วยแดชบอร์ดธุรกิจอัจฉริยะและชุดข้อมูลจากเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับบิ๊กดาต้า เช่น ฮาดูป จะทำให้เกิดการสร้างสรรค์ธุรกิจประเภทใหม่ๆ และเกิดการจัดประเภทอุตสาหกรรมโดยใช้ข้อมูลเชิงลึกจากบิ๊กดาต้า นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลจะมีบทบาทมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งรวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านคุณลักษณะของข้อมูล (data hygienists) เพื่อปรับปรุงคุณภาพและสำรวจข้อมูลให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกสรรข้อมูลมาใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ที่จะผลักดันการนำข้อมูลเชิงลึกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ นอกจากนี้ จะมีการใช้นวัตกรรมบิ๊กดาต้าต่างๆ ที่อยู่บนโอเพ่นซอร์สมากขึ้น ซึ่งจะช่วยเร่งและก่อให้เกิดเทคโนโลยีต่างๆ เช่น Storm และ Spark
การบูรณาการและการประมวลผลข้อมูลจะนำไปสู่ความได้เปรียบในการแข่งขัน
เทคโนโลยีที่ใช้สวมใส่เช่นนาฬิกาและแว่นตาจะหายไป อินเทอร์เน็ตออฟธิง (IoT) จะขยายตัวมากขึ้น และทำให้เกิดแรงกระเพื่อมขนาดใหญ่ของบิ๊กดาต้า ผู้ประกอบการที่สามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาบูรณาการ ดำเนินการอย่างชาญฉลาด และตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและเหมาะสม จะมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีที่ต้องใช้ในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่จำเป็น ประกอบด้วยแพลตฟอร์มคลาวด์แบบ IaaS และ PaaS เพื่อจะได้มีพื้นฐานที่ยืดหยุ่นและคล่องตัวในการพัฒนาและรันแอพพลิเคชั่นต่างๆ; เทคโนโลยีเกี่ยวกับการดำเนินการทางธุรกิจต่างๆ เพื่อการบริการที่มีประสิทธิภาพสูง และแพลตฟอร์มแอพพลิเคชั่นโมบายล์ต่างๆ; เทคโนโลยีการบูรณาการต่างๆ ที่คล่องตัวและอยู่บนคลาวด์ ในการผนวกรวมข้อมูล แอพพลิเคชั่น และกระบวนการทางธุรกิจเข้าด้วยกัน เพื่อทำงานอย่างกลมกลืนจากมุมมองของลูกค้า และท้ายที่สุด แพลตฟอร์มที่เป็นกระบวนการทางธุรกิจและการตัดสินใจแบบอัตโนมัติ ที่ช่วยให้ระบบอัตโนมัติและการปรับเปลี่ยนกระบวนการทางธุรกิจและการตัดสินใจในเรื่องที่จำเป็นเพื่อดึงดูดให้ลูกค้ามีส่วนร่วมมากขึ้น ทำได้อย่างรวดเร็ว
ธุรกิจด้านเทคโนโลยี
คาดการณ์ว่าในปี 2558 องค์กรเกี่ยวกับเทคโนโลยีสำหรับองค์กร จะมีการซื้อขายหุ้น การควบรวมกิจการ และการลงทุนในเทคโนโลยีที่ใหม่และเป็นประเด็นร้อน ในขณะเดียวกันเราจะได้เห็นผู้ผลิตแบบดั้งเดิมบางรายแยกและปล่อยพอร์ตการลงทุนบางส่วนของตน
เนื่องจากเทคโนโลยีเข้ามามีอิทธิพลต่ออนาคตของธุรกิจมากขึ้น ตำแหน่งซีไอโอในกลุ่มบริษัท Fortune 500 จะขึ้นดำรงตำแหน่งซีอีโอขององค์กร
สิ่งหนึ่งที่เราได้เห็นแล้วก็คือ แม้แต่ผู้ให้บริการ PaaS เองก็เปลี่ยนกลยุทธ์อยู่ตลอดเวลา Docker คือตัวอย่างหนึ่ง ที่ไม่เพียงแต่จะเน้นว่าตนเองเป็นผู้ให้บริการ Dotcloud เท่านั้น แต่กลับผันตัวไปทำเกี่ยวกับคอนเทนเนอร์ (container) ด้วย ผู้ให้บริการ PaaS อาจมีเครื่องมือและกรอบแนวคิดการทำงานจำนวนมาก แต่พวกเขาก็ต้องการมีวงจรทางธุรกิจที่ยาวนานขึ้นเช่นกัน จึงเป็นเรื่องยากที่ผู้ให้บริการจะมุ่งเน้นไพรเวทคลาวด์เพียงอย่างเดียว ดังนั้นกลยุทธ์ไฮบริดคลาวด์คือทางเลือกที่จะเดินไปข้างหน้า
สิ่งที่ผลักดันให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มที่เน้นการทำงานร่วมกัน และ/หรือระบบการรับรู้การมีส่วนรวมในการทำงานร่วมกันที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงความชาญฉลาดของระบบเหล่านี้ การมีส่วนร่วมในการทำงานขั้นสูง ได้แก่ การคาดการณ์, สภาพการณ์ในขณะนั้น, และการให้บริการในเวลาที่เหมาะสม และแม้แต่การให้บริการเพื่อสนองความต้องการใหม่ๆ ให้กับลูกค้าก่อนที่ลูกค้าจะร้องขอ ตัวอย่างเช่น ศูนย์หรืออู่ซ่อมรถที่มีแอพพลิเคชั่นเพื่อช่วยวิเคราะห์การบำรุงรักษารถและสภาพรถ และสามารถพิมพ์รายการอะไหล่รถบนเครื่องพิมพ์ 3D ได้ก่อนที่จะถึงเวลานำรถเข้าศูนย์ หรือระบบการจองตั๋วเครื่องบิน ที่สามารถแจ้งการล่าช้าของเที่ยวบินและเสนอทางเลือกให้คุณได้แบบเรียลไทม์ในขณะที่คุณอยู่ที่สนามบิน ก่อนที่จะมีข้อความแจ้งบนหน้าจอในสนามบินเสียอีก
ระบบเหล่านี้สร้างขึ้นบนแอพพลิเคชั่นแบบที่รับรู้ถึงสถานการณ์ และกระบวนการทางธุรกิจ แอพพลิเคชั่นหรือกระบวนการทางธุรกิจต้องตระหนักและตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม จัดหาคำตอบหรือผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมที่ทำให้ลูกค้าและผู้ใช้งานพึงพอใจ
คลาวด์ คอมพิวติ้ง
ไฮบริดคลาวด์มาแรง
มีนวัตกรรมจำนวนมากเกิดขึ้นบนพับลิคคลาวด์ โดยเฉพาะบริการจาก Amazon Web Services และ Google ผู้ประกอบการต่างจับตาดูสิ่งที่เกิดขึ้น และพยายามใช้พับลิคคลาวด์เป็นอย่างมาก ในขณะที่นวัตกรรมนี้กำลังเป็นที่สนใจ ผู้ประกอบการบางรายอาจมุ่งไปที่พับลิคคลาวด์และหยุดแบ่งแยกการลงทุนที่มีอยู่ของตน ผู้ประกอบการยังต้องการรักษาสมดุลในการใช้พับลิคคลาวด์และในขณะเดียวกันก็ทดลองเคลื่อนย้ายสู่ไฮบริดคลาวด์
ผู้ประกอบการจะใช้พับลิคคลาวด์มากขึ้นในปี 2558 และจะได้สัมผัสกับประโยชน์จากการสามารถปรับขยายขนาดได้ แต่ก็จะได้สัมผัสกับความท้าทายของพับลิคคลาวด์ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะเรื่องของการขัดข้องสูญหายและประสิทธิภาพการทำงานคาดเดาไม่ได้ จะมีการใช้ไฮบริดมากขึ้นและมากขึ้น ไม่ใช่เพียงด้านเทคนิค แต่ในเชิงตรรกะด้วย เช่นเดียวกับการใช้งานแอพพลิเคชั่น SaaS ที่เพิ่มมากขึ้น
เทคโนโลยีคลาวด์ได้รับความสนใจไปทั่วโลก เรากำลังจะได้เห็นว่าคลาวด์ไม่ได้เป็นเพียงปรากฎการณ์ที่ทันสมัยในปัจจุบันเท่านั้น และการใช้งานคลาวด์จะขยายวงกว้างมากขึ้นในปี 2558 มีเรื่องน่าสนใจมากมายเกี่ยวกับระบบคลาวด์ ที่มาพร้อมกับความกังวลเกี่ยวกับเรื่องของความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัย และประเด็นการกำกับดูแล สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ประกอบการหันมามองไฮบริดคลาวด์มากขึ้น
นิยามของคำว่า "ไฮบริด" จะมีความหมายมากกว่าพับลิคคลาวด์ และไพรเวทคลาวด์ มันจะกลายเป็นเรื่องธรรมดามากขึ้นในการอธิบายรูปแบบการใช้งานไฮบริด (ทางกายภาพ/เวอร์ชวล/คลาวด์), ไฮบริดรูปแบบบริการ (IaaS/PaaS/SaaS), สถาปัตยกรรมไฮบริดต่างๆ (สเกล-อัพ และ สเกล-เอ้าท์), แอพพลิเคชั่นที่เป็นไฮบริด (COTs vs. Custom and new vs. Legacy), และรูปแบบผู้ให้บริการไฮบริดไอที (hosters, MSPs และ CSPs, on premise)
ยุคแห่ง “การขยายตัวของคลาวด์”
คลาวด์จะขยายตัวในปี 2558 ด้วยบทบาทที่เป็นแนวโน้มสำคัญในดาต้าเซ็นเตอร์ คล้ายกับเวอร์ชวลไลเซชั่นที่ขยายตัวอยู่ในเซิร์ฟเวอร์ และในเวลาต่อมา คลาวด์คอมพิวติ้งก็ขยายตัวอยู่ในการขยายตัวของเวอร์ชวลไลเซชั่น อุตสาหกรรมไอทีจะเข้าสู่ยุคแห่งการขยายตัวของคลาวด์ การรวมตัวกันของการผู้ให้บริการคลาวด์ที่ราคาไม่แพงและการเพิ่มขึ้นของแผนกไอทีในองค์กร ส่งผลให้เกิดโครงการขนาดเล็กจำนวนมากบนไพรเวทคลาวด์ พับลิคคลาวด์ และไฮบริดคลาวด์ ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดความเสี่ยงอย่างมากต่อองค์กร
เวิร์กโหลดคลาวด์แบ่งเป็นสองประเภท
เวิร์กโหลดของคลาวด์จะแยกออกเป็นสองประเภทที่แตกต่างแต่เกี่ยวข้องกัน ประเภทแรกเป็นเวิร์กโหลดที่รวมศูนย์เป็นเวอร์ชวลแมชชีนมากขึ้น ซึ่งเป็นแบบ stateful จำเป็นต้องแยกจากแอพพลิเคชั่นอื่นๆ สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันแต่อาจได้ผลไม่ดีนัก เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ขับเคลื่อนด้วยการควบรวม (เวอร์ชวลแมชชีนนับสิบรายการ) และมุ่งเน้นไปที่แอพพลิเคชั่นที่เป็นแบบสเกล-เอ้าท์ มากกว่าที่เป็นแบบสเกล-อัพ เวิร์กโหลดอีกประเภทหนึ่งเป็นเวิร์กโหลดคลาวด์ที่รวมศูนย์อยู่ที่คอนเทนเนอร์ ซึ่งอยู่บนโฮสต์หลายๆ แห่ง จำเป็นต้องบูรณาการและผสานการทำงานทุกๆ โฮสต์เข้าด้วยกัน มีการบริหารจัดการทรัพยากรตามลำดับความจำเป็น นำเสนอไฮเปอร์เดนซิตี้ (หลายร้อยหลายพันคอนเทนเนอร์แอพพลิเคชั่น) และเน้นไปที่แอพพลิเคชั่นแบบสเกล-เอ้าท์ และสามารถใช้งานได้ทุกที่
IPv6 เป็นค่ามาตรฐาน
IPv6 จะกลายเป็นทางเลือกพื้นฐานในการเข้าถึงเครือข่ายให้กับเวอร์ชวลแมชชีนในระบบคลาวด์เกือบทั้งหมด
คอนเทนเนอร์
ประเด็นเกี่ยวกับ “คอนเทนเนอร์ – Containers” เปลี่ยนจากเรื่องการใช้งานไปเป็นเรื่องของมาตรฐาน
ในปี 2558 แอพพลิเคชั่นคอนเทนเนอร์ต่างๆ จะเป็นหัวข้อหลักในการพูดคุยกันในวงการอุตสาหกรรม การสนทนาจะเปลี่ยนจากเดิมที่ว่า "ทำไมต้องใช้คอนเทนเนอร์" ไปเป็น "เราจะใช้ประโยชน์จากแอพพลิเคชั่นคอนเทนเนอร์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพได้อย่างไรเพื่อให้ระบบไอทีของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น" จะมีการพูดคุยเกี่ยวกับมาตรฐานต่างๆ ของคอนเทนเนอร์ที่สามารถช่วยให้องค์กรใช้แอพพลิเคชั่นได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น มากกว่าที่จะพูดคุยเกี่ยวกับประโยชน์ของคอนเทนเนอร์เท่านั้น
เทคโนโลยีคอนเทนเนอร์ต่างๆ เช่น Docker และ Kubernetes จะเกิดเป็นมาตรฐานอุตสาหกรรมสำหรับการทำคอนเทนเนอร์ไลเซชั่นและการประสานการทำงานตามลำดับ และเบิกทางสู่โซลูชั่นคลาวคอมพิวติ้งรุ่นใหม่
คอนเทนเนอร์ไปไกลกว่าแค่เป็นเรื่องน่าตื่นเต้นแล้ว
ในปี 2558 เราจะเห็นความก้าวหน้าของแอพพลิเคชั่นคอนเทนเนอร์ต่างๆ ที่ก้าวผ่านระยะที่เป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้น ไปสู่บทบาทที่องค์กรต่างๆ ให้การยอมรับว่าสิ่งที่ซอฟต์แวร์ประเภทนี้มีให้ คือสิ่งที่จำเป็นอย่างเห็นได้ชัดในด้านความปลอดภัย การอัปเดต รวมถึงความถูกต้อง การตรวจสอบ การรวบรวมและการคัดสรรเนื้อหา
ปี 2558 เราจะได้เห็นกระแสกิจกรรมสำคัญๆ เกี่ยวกับแอพลิเคชั่นคอนเทนเนอร์มากขึ้น พร้อมกับคำถามที่ผู้ใช้งานถามผู้ให้บริการว่า "กลยุทธ์ด้านการนำแอพพลิเคชั่นคอนเทนเนอร์มาใช้งานของคุณคืออะไร" โดยทั่วไปผู้ให้บริการคลาวด์ทุกรายจะต้องมีกลยุทธ์ด้านคอนเทนเนอร์ และมีทักษะมากพอสมควรที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาโดยผู้ใช้งานและบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ (ISV) ซึ่งต้องการที่จะทำการคอนเทนเนอร์ไลซ์แอพพลิเคชั่นของพวกเขา
ในปี 2558 หน่วยงานที่ดูแลการดำเนินการด้านไอทีจะเรียนรู้เกี่ยวกับแอพพลิเคชั่นคอนเทนเนอร์และเทคโนโลยีที่จะช่วยขจัดความกลัวให้พวกเขา เช่นคำถามที่ว่า คุณมีวิธีการจัดการคอนเทนเนอร์ไลซ์แอพพลิเคชั่นต่างๆ อย่างไร คุณรักษาความปลอดภัยอย่างไร มีที่มาจากไหน เป็นต้น ปัจจุบันลินุกซ์ คอนเทนเนอร์ มีทุกสิ่งที่นักพัฒนาสนใจแต่ไม่ใช่สิ่งที่ทีมดำเนินงานสนใจ ในปี 2558 เรดแฮทคาดการณ์ว่าแอพพลิเคชั่นเหล่านี้จะก้าวจากขั้นตอนการพัฒนาไปสู่ขั้นตอนการผลิตและนั่นจะเป็นวันกำหนดอนาคตของแอพพลิเคชั่นคอนเทนเนอร์กันเลย
คอนเทนเนอร์จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจและการให้บริการของบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ (ISV)
การเติบโตของผู้พัฒนาซอฟต์แวร์อิสระจะทำให้เกิดการให้บริการแพกเกจโซลูชั่นต่างๆ เช่นแอพพลิเคชั่นคอนเทนเนอร์สำหรับการจัดเก็บอิมเมจที่ได้รับการรับรอง (certified, portable container images)
นักพัฒนาและการพัฒนาแอพพลิเคชั่น
2558 จะเป็นปีของนักพัฒนา และผู้ที่เป็นผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ให้การยอมรับนวัตกรรมและผลักดันความคล่องตัวในองค์กร จะเป็นผู้ที่สนับสนุนให้นักพัฒนากลายเป็นบุคคลสำคัญ
นักพัฒนาซอฟต์แวร์ต่างเข้าสู่สนามประลองความสามารถด้านโอเพ่นซอร์ส
ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สช่วยเพิ่มจำนวนซอฟต์แวร์และอยู่ในราคาที่เหมาะสม ในขณะที่คลาวด์ คอมพิวติ้งได้สร้างฮาร์ดแวร์จำนวนมากที่มีราคาเหมาะสมเช่นกัน สิ่งเหล่านี้เป็นประโยชน์แก่นักพัฒนาซอฟต์แวร์และทำให้นักพัฒนามีเวลาและความสนใจให้กับอุปสรรคที่สำคัญที่สุดขององค์กรด้านไอที ในปี 2558 ลูกค้าคาดหวังได้เลยว่าผู้จัดจำหน่ายจะแข่งขันรุนแรงมากขึ้นกับลูกค้าของเขาเองในเรื่องของบุคลากรที่มีความสามารถ และผู้ที่มีอิทธิพลต่อกลยุทธ์โปรเจกโอเพ่นซอร์สสำคัญๆ ต่างๆ
วิธีการทำงานแบบ DevOps จะได้รับการยอมรับและจะพัฒนาสู่การนำไปใช้เป็นเครื่องมือและมีมาตรฐาน
ในปี 2557 เราได้เห็นว่าองค์กรยอมรับวิธีการทำงานแบบ DevOps ให้เป็นเหมือนยาประจำบ้านในการแก้ปัญหาด้านความคล่องตัว ในปี 2558 DevOps จะมุ่งเน้นไปที่ Platform-as-a-Service จะเป็นเครื่องมือที่เหมาะสมที่จะช่วยให้เกิดประโยชน์สูงสุดของ DevOps ได้อย่างไร ผ่านมาตรฐานและระบบอัตโนมัติที่สูงขึ้น
การที่ผู้คนขยับจากการเรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นมาและลักษณะของ DevOps ไปสู่การนำไปใช้งาน จะเกิดแรงผลักดันให้เครื่องมือและกระบวนการต่างๆ ของ DevOps มีมาตรฐาน
กรอบการทำงานที่ไม่เทอะทะกำลังเพิ่มขึ้นในองค์กร
ธนาคาร องค์กรด้านการดูแลสุขภาพ และภาคธุรกิจขนาดใหญ่อื่นๆ จะมองหากรอบการทำงานที่ไม่เทอะทะอย่างจริงจัง เช่น Vert.x และ Node.js เพื่อมาทดแทนการใช้แอพพลิเคชั่นเซิร์ฟเวอร์แบบดั้งเดิมของพวกเขา แอพพลิเคชั่นและการบริการบางอย่างต้องการความเรียบง่ายในการใช้งานมากขึ้น
โมบายล์
ความต้องการความคล่องตัวและการทำงานร่วมกันจะเป็นตัวกำหนดการพัฒนาโมบายล์แอพพลิเคชั่น
เราได้เห็นความซับซ้อนของการใช้โมบายล์แอพพลิเคชั่นเป็นจำนวนมากในองค์กร ซึ่งเป็นเรื่องที่ธุรกิจต้องบริหารจัดการให้เหมาะสม ในทางกลับกัน การพัฒนาโมบายล์แอพพลิเคชั่นต้องมีความคล่องตัวและคุ้มค่ามากขึ้น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการให้ได้ ในปี 2558 การพัฒนาโมบายล์แอพพลิเคชั่นขององค์กรจะปรับเปลี่ยนจากผู้พัฒนารายเดียว ไปเป็นแนวทางการพัฒนาแบบทีม เนื่องจากการพัฒนาแอพพลิเคชั่นจะกลายเป็นการร่วมมือกันพัฒนามากขึ้น
จะยังคงเห็นการควบรวมกิจการแพลตฟอร์มโมบายล์อย่างต่อเนื่องในปี 2558
จะเกิดการควบรวมของหนึ่งหรือสองแพลตฟอร์มโมบายล์อย่างมีนัยสำคัญ และความสามารถของโมบายล์จะกลายเป็นสมรภูมิสำคัญในการแข่งขันกันของ PaaS
การเพิ่มขึ้นของโมบายล์ยังคงทำให้แล็ปท็อปปรับตัวลดลง
การใช้แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์จะยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอีกนาน เนื่องจากแอพพลิเคชั่นต่างๆ ย้ายไปทำงานบนคลาวด์และอุปกรณ์โมบายล์มากขึ้น
OpenStack
2558: ปีแห่งสงครามแย่งชิงอำนาจ OpenStack (และการผนวกรวม)
จากการควบรวมในอุตสาหกรรมของสามหรือสี่ผู้ให้บริการด้าน OpenStack ที่สำคัญๆ ลูกค้าองค์กรจะได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์กับข้อเสนอด้าน OpenStack ที่บูรณาการในเชิงลึก ลูกค้าจะต้องการการทดสอบที่ครบถ้วนและโซลูชั่นแบบครบวงจร แต่จะระมัดระวังในการถูก vendor lock-in และยังคงให้ความสำคัญกับความยืดหยุ่นในการผสมผสานคอมโพเนนต์ของผู้ขายแต่ละราย
จะเกิดการควบรวมตลาดเครือข่ายโอเพ่นซอร์สที่ทำงานด้วยซอฟต์แวร์ในปี 2558 ซึ่งขณะนี้มีโปรเจก SDN โอเพ่นซอร์สมากกว่าหกโปรเจก ในปี 2558 เราจะได้เห็นผู้ชนะอย่างชัดเจน และเราจะได้เห็นการควบรวมของตลาดโซลูชั่นสำหรับ OpenStack และ full-stack SDN จากการเข้าซื้อกิจการของหลายบริษัท และเกิดโปรเจกหนึ่งที่เป็นผู้นำที่ชัดเจนของความร่วมมือในอุตสาหกรรมและ OpenStack เน็ตเวิร์ก เวอร์ชวลไลเซชั่น
ปีทองของ OpenStack
ความต้องการ OpenStack จะเติบโตล้ำหน้าในวงการไอที หน่วยงานวิชาการ และวงการวิจัย นอกจากนี้จะมีการนำ OpenStack ไปใช้ในหลายๆ ภาคอุตสาหกรรมที่เฉพาะเจาะจง กล่าวคือ OpenStack จะเติบโตจากการที่เป็น "นวัตกรรม" ไปเป็น "การเริ่มต้นใช้งาน" จากมุมมองการใช้งานแบบดั้งเดิม การพูดคุยเกี่ยวกับ OpenStack จะเน้นไปให้ความสำคัญกับโซลูชั่นมากขึ้น และเปลี่ยนจากคำว่า "ทำไม" เป็น "นั่นคือ" OpenStack ส่วน Network Functions Virtualization (NFV) จะเป็นตัวพิสูจน์ว่า "บรรลุผลตอบแทนจากการลงทุนอย่างแน่นอน" ในกรณีการใช้งาน OpenStack ของผู้ให้บริการโทรคมนาคม
การนำ OpenStack ไปใช้ในองค์กรต่างๆ จะเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ลูกค้าจะมีความต้องการฟีเจอร์ต่างๆ ที่ใช้งานกับเวิร์กโหลดแบบดั้งเดิมมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน (รวมถึงการกู้คืนระบบ ความพร้อมใช้งาน และอื่นๆ) เพราะพวกเขาพิจารณาที่จะใช้แพลตฟอร์มโครงสร้างพื้นฐานรุ่นต่อไปของพวกเขาบน OpenStack ขณะนี้ OpenStack สมบูรณ์และพรั่งพร้อมไปด้วยฟีเจอร์ต่างๆ มากมาย OpenStack เคลื่อนตัวเองออกจากห้องแล็บ และออกจากขั้นตอนการพิสูจน์ความเป็นไปได้ ไปสู่การเป็นเทคโนโลยีสำคัญในการทำงานของเวิร์กโหลดต่างๆ ปัจจุบันมีการใช้ OpenStack ในหน่วยงานด้านต่างๆ เช่น ภาครัฐ บริการทางการเงิน เภสัชกรรม ธุรกิจขนาดใหญ่ และภาคการสื่อสารโทรคมนาคม และเราจะได้เห็นความต่อเนื่องในการนำไปใช้งานในปี 2558
ผู้ให้บริการโทรคมนาคมและเครือข่ายต่างใช้ OpenStack
อุตสาหกรรมโทรคมนาคมจะใช้ OpenStack เป็นแพลตฟอร์มพื้นฐานหลักให้กับ Network Functions Virtualization (NFV) เพื่อพัฒนาการใช้งานในการให้บริการ ให้ก้าวออกจากขั้นตอนการพิสูจน์ความเป็นไปได้และก้าวออกจากการเป็นเพียงโครงการนำร่องต่างๆ
ผู้ให้บริการโทรคมนาคมอย่างน้อยหนึ่งรายจะเปิดให้บริการหลักอย่างหนึ่งซึ่งทำงานบนโครงสร้างพื้นฐาน OpenStack ออกสู่สาธารณชน NFV ได้บุกเข้าสู่โลกของผู้ให้บริการโทรคมนาคมตั้งแต่สองปีที่ผ่านมา และต่อไปจะใช้งานเพื่อผลิตบริการสำคัญๆ ของวงการโทรคมนาคม เช่น vIMS หรือ vEPC และแน่นอนสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นในปี 2558
ความปลอดภัย
เป็นประเด็นร้อนอยู่เสมอ แต่ก็ยังคาดการณ์ได้
ความปลอดภัยเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอยู่เสมอ ในปี 2558 ก็เช่นเดียวกัน ความปลอดภัยของทุกสิ่งทุกอย่าง ลำดับความสำคัญตั้งแต่ความปลอดภัยบนคลาวด์ ไปจนถึงความปลอดภัยกับการใช้งานอินเตอร์เน็ตออฟธิง (IoT) บริษัทต่างๆ จะให้ความสำคัญกับการปรับปรุงด้านความปลอดภัย มีกฎระเบียบเพิ่มมากขึ้น และความปลอดภัยเป็นสิ่งที่ยากกว่าการคาดการณ์อนาคต จะมีการรั่วไหลของข้อมูลที่สำคัญมากขึ้นและเกิดเหตุการณ์มากกว่าปี 2557 แนวโน้มนี้จะยังคงเพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ นอกจากนี้การเข้ารหัส (encryption) ก็จะเป็นประเด็นร้อน เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนวิธีการแบบเก่าที่ล้าสมัยทำให้เกิดปัญหา จนถึงการเข้ารหัสอุปกรณ์ต่างๆ (default device encryption)
ศูนย์ข้อมูลที่ทำงานด้วยซอฟต์แวร์ (Software-Defined Datacenter)
โครงสร้างพื้นฐานที่ทำงานด้วยซอฟต์แวร์จะกำจัดโครงสร้างของดาต้าเซ็นเตอร์ให้กับชุดข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง
เราจะเริ่มเห็นแผนกไอทีดำเนินการจัดการและควบคุมการให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ของพวกเขา ในลักษณะเป็นเอกเทศผ่านเวอร์ชวลไลเซชั่นแบบไฮเปอร์คอนเวอร์เจนซ์ที่ทำงานด้วยซอฟต์แวร์, การจัดเก็บข้อมูล, เทคโนโลยีด้านเครือข่ายและการประมวลผล