แพทย์โรคหัวใจเตือนชายไทยให้ปรับวิถีชีวิตใหม่

ข่าวทั่วไป Wednesday November 10, 1999 11:42 —ThaiPR.net

กรุงเทพ--10 พ.ย.--ศูนย์ข้อมูลสุขภาพเพศชาย
แพทย์โรคหัวใจระบุว่า วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปทำให้คนไทยป่วยเป็นโรค หัวใจและโรคต่างๆ มากมาย นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยโรคหัวใจมีโอกาสเป็นโรค หย่อนสมรรถภาพทางเพศ สูงถึงร้อยละ 80 พร้อมทั้งยืนยันว่า หากผู้ป่วยโรค หัวใจรักษาร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอก็สามารถมีเพศสัมพันธ์ ได้อย่างปลอดภัย
รศ. น.พ. ศุภชัย ถนอมทรัพย์ หัวหน้าหน่วยโรคหัวใจ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และกรรมการวิชาการ ศูนย์ข้อมูลสุขภาพเพศชาย เปิดเผยว่า "ปัจจุบันโรคหัวใจส่วนใหญ่ที่พบมากที่สุดคือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ซึ่งพบว่า มีความรุนแรงและสร้างปัญหามากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากสภาพสังคมของคนไทยที่ เปลี่ยนไปเป็นแบบตะวันตกมากขึ้น ทำให้พฤติกรรมต่างๆ เปลี่ยนไป เช่น การรับ ประทานอาหารหลากประเภท โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันสูง การสูบบุหรี่จัด ภาวะ ความเครียดสูง การออกกำลังกายน้อยลง เหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุของการเกิดโรค หลอดเลือดหัวใจตีบทั้งสิ้น"
ผลของการใช้วิถีชีวิตที่เสี่ยงแบบนี้ นอกจากจะทำให้เกิดโรคหลอด เลือดหัวใจตีบแล้ว ยังเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และ การที่หลอดเลือดทั่วร่างกายตีบทำให้ เลือดไหลไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆไม่เพียงพอ มีผลทำให้อวัยวะเพศไม่แข็งตัว และในผู้ป่วยโรคหัวใจ ก็มักจะกังวล ทำให้เกิด อาการซึมเศร้า สภาพจิตใจก็แย่ลง ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ทำให้สมรรถภาพ ทางเพศ ของผู้ป่วยลดน้อยลงไปอีก ซึ่งจากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยโรคหัวใจร้อยละ 80 จะ มีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ"
การบำบัดผู้ป่วยโรคหัวใจให้สามารถกลับมามีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติ นั้น รศ. น.พ. ศุภชัย กล่าวว่า "ผู้ป่วยไม่ควรจะทำการรักษาด้วยตนเองเพราะ อาจเกิดอันตรายได้ ผู้ป่วยจะต้องมาพบแพทย์โรค หัวใจเพื่อทำการตรวจวินิจฉัย สภาพร่างกายก่อน และแพทย์จะเป็นผู้ประเมินว่าผู้ป่วยนั้นๆ สามารถที่จะมีเพศ สัมพันธ์ได้หรือไม่ โดยปกติหากผู้ป่วยสามารถเดินขึ้นบันได 2 ชั้นได้โดยไม่ เหนื่อยหอบ ก็ปลอดภัยเพียงพอที่จะมีเพศสัมพันธ์ตามปกติได้ แต่หากมีอาการ เจ็บหน้าอก หรือเหนื่อย ก็ไม่ควรจะมีเพศสัมพันธ์"
"ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจมักจะหลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย รวมทั้งการ มีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากมีความกลัวและเข้าใจผิด ความจริงการออกกำลังกายสม่ำ เสมอที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย สภาพ หัวใจ และอายุ จะเป็นประโยชน์ทำให้ สุขภาพแข็งแรงขึ้น สามารถลดภาวะแทรกซ้อนและลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ ได้" ที่ผ่านมามีผู้เข้ารับการรักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศน้อยมากคือราว 10% ของผู้ป่วยทั้งหมด ขณะที่ปัจจุบันมีการรักษาที่ทันสมัยมากขึ้น ง่ายขึ้น ทั้งยาเม็ดรับประทาน การฉีดยาไปที่อวัยวะเพศ การสอดยาเข้าไปทางท่อปัสสาวะ การเสริมฮอร์โมน การใช้ยาทาบนผิวหนัง ซึ่งวิธีการแต่ละวิธีจะเหมาะสมกับผู้ ป่วยแต่ละรายไป โดยแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยจากการตรวจสภาพร่างกาย
รศ. น.พ. ศุภชัย ได้กล่าวถึงการรักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศด้วยการ ใช้ยาเม็ดรับประทานว่า "ยาเม็ดรับประทานที่กำลังฮือฮากันอยู่ในขณะนี้ ไม่ ใช่ยากระตุ้นอารมณ์ทางเพศ แต่เป็นยาที่ช่วยให้หลอดเลือดขยายตัวทำให้อวัยวะ เพศแข็งตัวดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการใช้ยานี้จะมีข้อจำกัดสำหรับ ผู้ป่วยโรค หัวใจคือห้ามใช้ร่วมกับยาในกลุ่มไนเตรท เช่นยาอมใต้ลิ้น เพราะจะเสริมฤทธิ์ การขยายหลอดเลือด ทำให้ความดันโลหิตตกลงได้ การใช้ยารักษาในปัจจุบันถือว่า มีความปลอดภัยสูงถ้าใช้ถูกวิธี สำหรับ ผู้ป่วยโรคหัวใจที่ต้องการใช้ยารักษา โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ต้องแจ้งความประสงค์ให้แพทย์ทราบ"
“คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจที่ร้างการมีเพศสัมพันธ์มาเป็นเวลานาน หลังจากได้รับยาแล้ว วิธีที่ดีที่สุดคือต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ไม่ควรจะตื่นเต้นจนเกินไป ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์อย่างหักโหม เพราะจะทำให้ร่าง กายออกแรงมากเกินไป และเป็นอันตรายได้” รศ. น.พ. ศุภชัย กล่าว อย่างไรก็ ตาม ทั้งผู้ป่วยและบุคคลทั่วไป ควรฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอด้วยการ ละเว้น พฤติกรรมที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะการเกิดโรคหัวใจ และโรคหย่อน สมรรถภาพทางเพศ จึงไม่ควรบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ขนมขบเคี้ยวอันเป็น สาเหตุของโรคอ้วน หลีกเลี่ยง อาหารที่มีไขมันสูง ไม่ควรบริโภคอาหารที่มีรส เค็มเกินไป การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มาก จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ควรงด สูบบุหรี่ ขณะเดียวกันเมื่อสามารถควบคุมอาหารได้แล้ว ควรออกกำลังกายสม่ำ เสมอ เพื่อทำให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดีขึ้นและแข็งแรงตลอดไป
ผู้ป่วยโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศสามารถเข้ารับการรักษาจากแพทย์ทั่วไป ตามคลินิก และ โรงพยาบาลทุกแห่งใกล้บ้าน หรือหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อขอรับเอกสารหรือ คำปรึกษาได้ฟรี ที่ ศูนย์ข้อมูลสุขภาพเพศชาย โทรศัพท์ ฮอตไลน์ 635 1001 เวลา 09.00-24.00 น. ทุกวัน หรือที่ตู้ ป.ณ. 2513 กรุงเทพฯ 10501 หรือโทรสาร 656 8455 หรือดูเว็บไซต์ http://menhealth.pfizer.co.th-- จบ--

แท็ก โรคหัวใจ  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ