กรุงเทพ--6 พ.ย.--กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน
คณะกรรมาธิการบริหารองค์การพลังงานโลก จะจัดการประชุมผู้แทน ประเทศสมาชิกฯ ซึ่งมีทั้งหมดทั่วโลก 98 ประเทศ เป็นประจำทุกปี โดยจะมีการหมุน เวียนกันเป็นเจ้าภาพ และได้ขอให้ประเทศไทยรับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม WEC ในปี พ.ศ. 2540 ด้วย ดังนั้น กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานในฐานะที่ได้เข้าร่วม เป็นสมาชิกขององค์การพลังงานโลกมาเป็นเวลาประมาณ 40 ปี แล้ว และยังไม่ เคยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมดังกล่าว จึงเห็นว่าหากประเทศไทยได้มีโอกาสเป็น เจ้าภาพจัดการประชุมฯ จะทำให้เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานของรัฐ และเอกชนที่เกี่ยว ข้องทางด้านพลังงาน ที่ไม่มีโอกาสเข้าร่วมประชุมองค์การฯ ในต่างประเทศ จะได้ มีโอกาสรับทราบเทคโนโลยีใหม่ ๆ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้เชี่ยวชาญจาก ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อนำมาพัฒนาประเทศต่อไป นอกจากนี้ยังเป็นการประชา สัมพันธ์ให้ต่างชาติได้มารู้จักประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งคณะกรรมาธิ- การบริหารองค์การพลังงานโลก ของไทยได้ร่วมกันพิจารณากำหนดจัดประชุมระหว่าง วันที่ 10-14 พฤศจิกายน 2540 ณ ห้องวิภาวดีบอลลูม โรงแรมเซ็นทรัล พลาซ่า ลาดพร้าว กรุงเทพฯ โดยในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2540 ได้กำหนดจัดการแสดง นิทรรศการ Thai National Energy Day ขึ้นเพื่อให้ผู้แทนจากประเทศสมาชิก ได้ชมกิจกรรมด้านพลังงานต่าง ๆ ของประเทศ นอกจากนี้ระหว่างวันที่ 15-17 พฤศจิกายน 2540 คณะกรรมการฯ ยังได้กำหนดจัดให้มีการเดินทางไปทัศนศึกษา โครงการพลังงานต่าง ๆ ในทุกภาคของประเทศไทย รวม 6 โปรแกรมอีกด้วย
ในการเป็นเจ้าภาพจัดประชุมฯ ในปี พ.ศ. 2540 นี้ เพื่อให้การจัด ประชุมดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง คณะกรรมการ องค์การพลังงานโลกของประเทศไทย จึงได้ตั้งคณะอนุกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ขึ้นรวม 11 คณะเพื่อดำเนินการจัดประชุมดังกล่าว โดยได้รับความร่วมมือด้วยดีจากหน่วยงาน ต่าง ๆ ดังนี้
1. คณะอนุกรรมการฝ่ายเลขานุการจัดการประชุม
ประธาน: นายประเทศ สูตะบุตร อธิบดีกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน
2. คณะอนุกรรมการฝ่ายสถานที่ประชุม
ประธาน: นายสมศักดิ์ ประสงค์ผล รองผู้ว่าการทรัพยากรบุคคลและ
บริหารการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
3. คณะอนุกรรมการฝ่ายโรงแรมที่พัก
ประธาน: นายสิริ คล้ายมงคล ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง
4. คณะอนุกรรมการฝ่ายยานพาหนะและการประสานงานด้านรักษา
ความปลอดภัย
ประธาน: นายชัยยงค์ ยงใจยุทธ รองผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
5. คณะอนุกรรมการการจัดนิทรรศการ และการจัด Thai National
Energy Day
ประธาน: นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เลขาธิการสำนักงานคณะ
กรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
6. คณะอนุกรรมการฝ่ายจัดเลี้ยงและการแสดง
ประธาน: นายอนันต์ ณัฏฐสมบูรณ์ ผู้อำนวยการกองอุตสาหกรรม
น้ำมัน กระทรวงอุตสาหกรรม
7. คณะอนุกรรมการฝ่ายการเงินและงบประมาณ
ประธาน: นายจักรกฤษณ์ บูรณะสัมฤทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์อนุรักษ์
พลังงานแห่งประเทศไทย
8. คณะอนุกรรมการฝ่ายต้อนรับ
ประธาน: นายเกรียงกร เพชรบุตร รองอธิบดีกรมพัฒนาและ
ส่งเสริมพลังงาน
9. คณะอนุกรรมการฝ่ายจัดการดูงานและท่องเที่ยว
ประธาน: นายวีระ ชลายน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
10. คณะอนุกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์
ประธาน: นายเกรียงกร เพชรบุตร รองอธิบดีกรมพัฒนาและ
ส่งเสริมพลังงาน
11. คณะอนุกรรมการฝ่ายหารายได้
ประธาน: นายสรรเสริญ เงารังษี การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
องค์การพลังงานโลก เกิดขึ้นจากการที่มีการประชุม World Power Conference เมื่อปี พ.ศ.2467 โดยคณะกรรมการ International Executive Council ได้นำข้อเสนอในการจัดตั้งองค์การฯ ให้ผู้แทนแต่ละประเทศพิจารณา โดย มีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมการพัฒนาและนำวิทยาการที่เกี่ยวกับการนำพลังงานมาก่อ ให้เกิดประโยชน์ด้านความสงบสุขแก่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งเพื่อศึกษาเกี่ยว กับวิธีการผลิต การขนส่ง การแปรรูปและการนำพลังงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทุก รูปแบบ รวมทั้งการใช้พลังงานให้มีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตของกิจกรรมทาง เศรษฐกิจ และการนำพลังงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ตลอด จนให้ความร่วมมือกับองค์การที่เกี่ยวกับทางด้านพลังงานอื่น ๆ โดยการให้ข้อมูลและ แลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการ ทั้งนี้องค์การจะต้องรวบรวม จัดพิมพ์ข้อมูลและจัดการ ประชุมใหญ่ทางวิชาการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ด้วย ซึ่งผลของการพิจารณาดังกล่าว จึงได้มีการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศอย่างถาวรขึ้น โดยใช้ชื่อว่า World Power Conference ต่อมาในปี พ.ศ. 2511 ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อองค์การใหม่เป็น World Energy Conference และในปี พ.ศ. 2532 จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น World Energy Council (WEC) และคณะกรรมการ International Executive Council เปลี่ยนเป็น Executive Assembly (EA) (คณะกรรมาธิการบริหาร องค์การพลังงานโลก) ซึ่งใช้ต่อมาจนถึงปัจจุบัน ขณะนี้องค์การฯ มีสมาชิกทั้งหมด ประมาณ 98 ประเทศ โดยมีประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกด้วยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496 จนถึงปัจจุบัน
การที่ประเทศไทยได้สมัครเป็นสมาชิกองค์การ WEC นั้น สืบเนื่องจาก การที่ศาสตราจารย์ ดร.บุญรอด บิณฑสันต์ อดีตเลขาธิการการพลังงานแห่งชาติ ได้ พิจารณาวัตถุประสงค์ของ WEC แล้ว เห็นว่าหากสำนักงานพลังงานแห่งชาติ (ปัจจุบัน เปลี่ยนเป็นกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน) ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกจะได้รับประโยชน์ ในการดำเนินงานทางด้านพลังงาน จึงได้สมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การ WEC ซึ่งมีสำนักงานกลางตั้งอยู่ที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร โดยได้สมัครเป็นสมาชิก ในนามของคณะกรรมการองค์การพลังงานโลกของประเทศไทย (Thai National Committee - World Energy Council (TNC-WEC) โดย ดร.บุญรอดฯ เป็น ประธานคณะกรรมการฯ จนถึงปัจจุบัน และกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน เป็นฝ่าย เลขานุการฯ ทำหน้าที่ในการประสานงาน และมีหน่วยงานจากราชการและรัฐวิสาหกิจ เข้าร่วมเป็นสมาชิก โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ได้อนุมัติ จัดตั้งคณะกรรมการองค์การพลังงานโลกของประเทศไทย ทั้งนี้ได้ให้ความร่วมมือกับ องค์การ WEC ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมคณะกรรมาธิการบริหารองค์การพลังงานโลก ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีรวมทั้งได้ เข้าร่วมประชุมในระดับภูมิภาค (Regional Meeting) ซึ่งได้จัดให้มีขึ้นปีละหลายครั้งด้วย--จบ--