กรุงเทพฯ--19 ม.ค.--กสทช.
นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า วันจันทร์ที่ 19 ม.ค.2558 ในการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.) ครั้งที่ 3/58 มีวาระสำคัญน่าจับตา ได้แก่ (ร่าง) แนวทางการพิจารณาอนุญาตของ กรรมการ กสท. ตามข้อ 4 ของ ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์รายการโทรทัศน์ที่ให้เผยแพร่ได้เฉพาะในบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป หรือประกาศ Must ซึ่งนางสาวสุภิญญา กล่าวว่า วาระนี้สำนักงานได้เสนอแนวทางการไม่ต้องทำตามกฎ Must Have หรือนัยหนึ่งคือการแก้กติกาดังกล่าวให้ยืดหยุ่นขึ้น คือผ่อนผันให้รายการกีฬาทั้ง 7 ประเภท ซึ่งสามารถออกทางฟรีทีวีเท่านั้นแล้ว จะสามารถออกผ่านดาวเทียม และ เคเบิลได้ ซึ่งจริงๆ เป็นความเห็นของ กสท. เสียงข้างน้อยที่เคยเห็นต่างจากบอร์ดเสียงข้างมากตั้งแต่แรก แต่อย่างไรก็ตาม การปรับหรือเพิ่มเติมเงื่อนไขให้ยืดหยุ่นขึ้นลักษณะนี้ ดิฉันมีข้อสังเกตว่า ควรผ่านกระบวนรับฟังความคิดเห็นก่อน ด้วยหรือไม่ และทางเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากการใช้กฎนี้อย่างเข้มข้นในอดีต
“กรณีการถ่ายทอดสดกีฬาฟุตบอลโลก ของบริษัทในเครืออาร์เอส อาจจะมองว่า กสท. เลือกปฏิบัติหรือไม่ เนื่องจากเคยมีกติกาฟ้องร้องด้วย อย่างไรก็ดีหากมีการใช้แนวทางนี้ ควรเปิดเวทีรับฟังความเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้รอบคอบก่อนโดยดูภาพรวมทั้งระบบ ไม่ให้เอกชนมองว่าอาจเป็นการสองมาตรฐาน รวมทั้งควรแก้ปัญหาให้ตรงจุดจริงๆ” นางสาวสุภิญญา กล่าวว่า วาระที่เกี่ยวกับร่างประกาศการเรียงช่องใหม่ที่ยังค้างคา เพราะบอร์ดใหญ่ตีกลับร่างมาให้บอร์ด กสท. พิจารณาอีกรอบเพราะทางบ.ทรูวิชั่นส์ และกลุ่มผู้ประกอบการดาวเทียม ส่งจดหมายคัดค้านประเด็นทางกฏหมาย จันทร์นี้ สนง. วิเคราะห์ข้อกฏหมายที่เป็นประเด็นคัดค้านของเอกชนดังกล่าว จับตาดูท่าทีของ กสท. ว่าจะออกมาอย่างไร
ที่ประชุม กสท. มีวาระที่เกี่ยวกับร่างประกาศการเรียงช่องใหม่ที่ยังค้างคา เพราะบอร์ดใหญ่ตีกลับร่างมาให้บอร์ด กสท. พิจารณาอีกรอบเพราะทาง บ.ทรู วิชั่นส์ กรุ๊ป จำกัด และกลุ่มผู้ประกอบการดาวเทียม ได้ส่งจดหมายคัดค้านประเด็นทางกฏหมาย วันจันทร์นี้ สำนักงานวิเคราะห์ข้อกฎหมายที่เป็นประเด็นคัดค้านของเอกชนดังกล่าว จับตาดูท่าทีของ กสท. ว่าจะออกมาอย่างไร
อีกวาระสำคัญที่ต้องจับตาคือเรื่องความคืบหน้าการวางโครงข่ายทีวีดิจิตอลในปีที่ 2 ซึ่งกองทัพบก และ ไทยพีบีเอส ที่วางสถานีหลักได้ เกิน 25 สถานีตามแผนแล้ว แต่ อสมท. ได้เพียง 16 สถานี เพราะยังอยู่ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างอุปกรณ์เครื่องส่ง เช่นเดียวกับ กรมประชาสัมพันธ์ที่ยังไม่ได้ดำเนินการติดตั้งตามแผนเลย ทั้งนี้ กสท. เคยมีมติให้ออกคำสั่งทางปกครองให้ดำเนินการติดตั้งสถานีพร้อมให้บริการภายใน 60 วัน นับจากวันที่มีมติคือ 8 ธ.ค. 2557 ดังนั้น กสท. ควรเร่งรัดในกรณีนี้เพราะความล่าช้ากระทบต่อการเปลี่ยนผ่านดิจิตอลทีวีในภาพรวมทั้งหมด
อีกหลายวาระที่สำคัญ ได้แก่ การพิจารณาเรื่องร้องเรียนของสมาคมสื่อดิจิตอลเพื่อผู้บริโภค กรณีการนำเสนอเนื้อหา “สาวชาวกัมพูชาป่วย” ในรายการเรื่องเล่าเช้านี้ทางช่อง 3 ซึ่ง สำนักงานเคยส่งเรื่องให้องค์กรวิชาชีพพิจารณาแล้ว ส่วนครั้งนี้เป็นเรื่องทางกฎหมายว่าขัดมาตรา 37 หรือไม่อย่างไร ซึ่งตนคงสงวนความเห็นเรื่องนี้
นางสาวสุภิญญา กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้มีการพิจารณาผังรายการ 1 ปณ.ด้วย ตนเห็นว่า สำนักงานควรปรับโครงสร้างใหม่ ไม่ใช่ให้เอกชนเช่าช่วงไปเรื่อยๆ โดยยังไม่เห็นแนวทางการปรับตัวที่ชัดเจนทั้งที่ผ่านมา 2-3 ปีแล้ว ส่วนผังรายการที่สำนักงาน กสทช.เสนอเข้ามา ไม่ได้แจ้งว่าให้ผู้อื่นเช่าเวลาเลย แต่เป็นการผลิตรายการด้วยตนเอง และ ร่วมผลิตรายการเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งส่วนตัวคิดว่า อันนี้เป็นปัญหาเรื่องการมีผลประโยชน์ทับซ้อนในฐานะองค์กรกำกับ กับการมีคลื่นในมือ สำนักงาน กสทช. ควรแก้ปัญหาเรื่องนี้ให้จริงจังและทำตัวให้เป็นแบบอย่างสถานีของรัฐอื่นๆได้แล้ว
และวาระอื่นๆ น่าติดตามได้แก่ ข้อเสนอแนะกรณีปัญหาการเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปี วาระผู้รับใบอนุญาตขอความอนุเคราะห์ในการจ่าย ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการบรอดแคส ประจำปี 2556 เกินระยะเวลาตามเงื่อนไขที่กำหนด และพิจารณายกเว้นค่าเบี้ยปรับต่างๆ และ วาระการขอลด/งด/ยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปี และการผ่อนชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปี ตามที่ผู้ประกอบการบางรายได้ยื่นหนังสือขอมา การเตรียมพิจารณาทบทวนแนวทางการเพิกถอนใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง กรณีผู้ได้รับอนุญาตฯ มิได้ดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตตาม พรบ.วิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ ให้แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลา วาระการแต่งคณะทำงานทดสอบเพื่อรับบัตรผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และอื่นๆ ทั้งหมดติดตามผลการประชุมได้ในวันจันทร์นี้…