นิด้าโพล: “แม่น้ำ 5 สาย”

ข่าวทั่วไป Monday January 26, 2015 11:29 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--26 ม.ค.--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “แม่น้ำ 5 สาย” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 22 – 23 มกราคม 2558 จากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทั่วทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการทำงานของแม่น้ำทั้ง 5 สาย อันประกอบไปด้วย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) รัฐบาล สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ อาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยความน่าจะเป็นด้วยวิธีแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4 จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อความสามารถในการทำงานประสานสอดคล้องกันของแม่น้ำทั้ง 5 สาย อันประกอบไปด้วย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) รัฐบาล สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 42.64 ระบุว่า แม่น้ำทั้ง 5 สาย สามารถทำงานประสานสอดคล้องกันได้ดี รองลงมา ร้อยละ 30.80 ระบุว่า แม่น้ำทั้ง 5 สาย ค่อนข้างสามารถทำงานประสานสอดคล้องกัน ร้อยละ 12.16 ระบุว่า แม่น้ำทั้ง 5 สาย ไม่ค่อยสามารถทำงานประสานสอดคล้องกัน ร้อยละ 11.68 ระบุว่า แม่น้ำทั้ง 5 สาย ไม่สามารถทำงานประสานสอดคล้องกันได้เลย และร้อยละ 2.72 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ซึ่งในจำนวนผู้ที่ระบุว่าแม่น้ำทั้ง 5 สาย ค่อนข้าง – สามารถทำงานประสานสอดคล้องกันได้ดี ให้เหตุผลเพราะว่า ทุกฝ่ายต่างต้องการเห็นการพัฒนาของประเทศไปในทิศทางเดียวกันอยู่แล้ว แต่ละฝ่ายถูกแต่งตั้งและอยู่ภายใต้การบริหารการทำงานของรัฐบาล ซึ่งเป็นที่รู้จักมักคุ้นในแวดวงการเมืองกันอยู่แล้ว จึงน่าจะสามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี ส่วนผู้ที่ระบุว่าแม่น้ำทั้ง 5 สาย ไม่ค่อย – ไม่สามารถทำงานประสานสอดคล้องกันได้เลย ให้เหตุผลเพราะว่า แต่ละฝ่ายมีรูปแบบการทำงานที่แตกต่างกันอยู่แล้ว ประกอบกับมีคนเป็นจำนวนมาก ต่างฝ่ายต่างย่อมมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน และอาจมีเรื่องของผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ท้ายที่สุด เมื่อถามถึง ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อกรณีที่รัฐบาลไม่สนใจมติสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เรื่องการไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 และจากกรณีที่กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญไม่ใส่ใจในข้อเสนอการปฏิรูปโครงสร้างการเมืองของ สปช. พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 46.40 ระบุว่า เป็นเรื่องปกติของสังคมประชาธิปไตยที่ต้องมีความคิดเห็นต่าง รองลงมา ร้อยละ 18.96 ระบุว่า เป็นสิทธิของรัฐบาลและกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่ต้องทำตาม สปช. ร้อยละ 15.36 ระบุว่า ข้อเสนอของ สปช. ไม่สอคล้องกับนโยบายรัฐบาลและความคิดเห็นของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 12.56 ระบุว่า รัฐบาลมีธงอยู่แล้วในเรื่องของสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ร้อยละ 5.12 ระบุว่า สปช. ถูกมองว่าเป็นเพียงแค่สภากระดาษ ที่มีหน้าที่แสดงความคิดเห็นเท่านั้นแต่ไม่มีอำนาจอะไร ร้อยละ 4.64 ระบุว่า กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญมีธงอยู่แล้วในเรื่องการปฏิรูปโครงสร้างการเมือง ร้อยละ 3.44 ระบุว่า รัฐบาลและกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญไม่เคารพและไม่ให้เกียรติ สปช. ร้อยละ 2.48 ระบุว่า มีความเป็นไปได้ว่า สปช. อาจแก้เผ็ดด้วยการลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญในอนาคต ร้อยละ 2.16 ระบุว่า อื่น ๆ เป็นเรื่องของผลประโยชน์ ทุกฝ่ายควรร่วมมือและพูดคุยตกลงกัน โดยเฉพาะรัฐบาล ควรรับฟังข้อเสนอจากทุกฝ่าย และร้อยละ 15.36 ไม่ระบุ ไม่แน่ใจ เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 20.00 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ร้อยละ 20.00 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 20.00 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 20.08 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 19.92 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 52.88 เป็นเพศชาย และ ร้อยละ 47.12 เป็นเพศหญิง ตัวอย่างร้อยละ 7.02 มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ร้อยละ 32.18 มีอายุ 25 – 39 ปี ร้อยละ 49.76 มีอายุ 40 – 59 ปี และร้อยละ 11.05 มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 95.40 นับถือศาสนาพุทธ ตัวอย่างร้อยละ 4.12 นับถือศาสนาอิสลาม และตัวอย่างร้อยละ 0.48 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ ตัวอย่างร้อยละ 26.39 สถานภาพโสด ตัวอย่างร้อยละ 72.15 สมรสแล้ว และตัวอย่างร้อยละ 1.45 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่างร้อยละ 23.40 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ตัวอย่างร้อยละ 30.77 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 9.80 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ตัวอย่างร้อยละ 30.77 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และตัวอย่างร้อยละ 5.26 จบการศึกษา สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตัวอย่างร้อยละ 14.59 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ตัวอย่างร้อยละ 17.26 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ตัวอย่างร้อยละ 23.99 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ตัวอย่าง ร้อยละ 14.18 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ตัวอย่างร้อยละ 14.26 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ตัวอย่างร้อยละ 12.40 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และ ตัวอย่างร้อยละ 3.32 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 12.00 ไม่มีรายได้ ตัวอย่างร้อยละ 21.52 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 ตัวอย่างร้อยละ 34.96 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อเดือน 10,001 – 20,000 ตัวอย่างร้อยละ 12.40 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ตัวอย่างร้อยละ 6.96 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อเดือน 30,001 – 40,000 ร้อยละ 8.08 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มากกว่า 40,001 บาท ขึ้นไป และร้อยละ 4.08 ไม่ระบุรายได้
แท็ก นิด้า  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ