กรุงเทพ--4 มี.ค.--โฮปเวลล์ โฮลดิ้ง
ประกาศเพิ่มเติมโดยบริษัท โฮปเวลล์ โฮลดิ้ง จำกัด ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงการก่อสร้างระบบขนส่งทางรถไฟและถนนยกระดับในกรุงเทพมหานคร (The BERTS Project) ซึ่งคณะกรรมการอำนวยการของบริษัทฯ มีเจตนาที่จะให้ข้อมูลอันเป็นรายละเอียดเพิ่มเติมในกรณีที่เกี่ยวกกับโครงการ BERTS Project ดังกล่าวนั้น ดังนี้ :
(1) ในวันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2541 บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งบริษัท โฮปเวลล์ โฮลดิ้ง เป็นเจ้าของโดยบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) นี้ เป็นบริษัทที่รับผิดชอบต่อโครงการ BERTS Project ได้รับหนังสือจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท) ลงวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2541
(2) หนังสือดังกล่าวนั้นกระทรวงคมนาคมและรฟท. ได้แจ้งการบอกเลิกสัญญาสัมปทานแก่บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด สัญญาดังกล่าวได้มีการลงนามกันไว้ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2533 (ฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว) ซึ่งได้ทำขึ้นระหว่างบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด กับกระทรวงคมนาคมและรฟท. (ซึ่งตามสัญญาเรียกว่า "คู่สัญญาฝ่ายรัฐ") และได้แจ้งว่าคู่สัญญาฝ่ายรัฐตามหนังสือดังกล่าวนั้นได้สงวนสิทธิของตนในการเรียกร้องให้ชดใช้ค่าเสียหายจาบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย)จำกัด ยิ่งกว่านั้นคู่สัญญาฝ่ายรัฐยังมิให้บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด เข้าไปในพื้นที่สัมปทานดังกล่าวโดยให้มีผลบังคับในทันที
(3) โดยที่สัญญาสัมปทานดังกล่าวนั้นได้กำหนดรายละเอียดและวิธีการปฎิบัติต่อกันของคู่สัญญาไว้ตามสัญญาข้อ 27 คือในกรณีที่มีการบอกเลิกสัญญาสัมปทาน ให้คู่สัญญาปฎิบัติต่อกันตามเงื่อนไขโดยย่อดังต่อไปนี้
(ก) คู่สัญญาฝ่ายรัฐจะต้องมีหนังสือบอกกล่าวไปยังบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ระบุถึงสาเหตุการบอกเลิกสัญญาและต้องระบุรายละเอียดของพฤติกรรมอันนำมาซึ่งเหตุดังล่าว
(ข) บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด จะมีเวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน นับจากวันที่คู่สัญญาสัมปทานได้หรือไม่ข้อพิพาทดังกล่าวนั้นจักต้องเสนอให้อนุญาโตตุลาการ โดยกระบวนการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวให้ถือตามข้อบังคับตามประมวลวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยอนุญาโตตุลาการของสำนักงานอนุญาโตตุลาการแห่งกระทรวงยุติธรรม (หรือตามเงื่อนไขข้อบังคับอื่น ๆ ซึ่งคู่กรณีอาจตกลงกัน)
(4) สัญญาสัมปทานได้กำหนดไว้ตามข้อ 29 ว่า ในกรณีที่รัฐบาลแห่งประเทศไทยยึดคืนหรือเวนคืนระบบที่สัมปทานหรือพื้นที่สัมปทานแห่งสัญญานี้ ให้สัญญาสัมปทานนี้เป็นอันสิ้นสุดลง และในกรณีนี้ให้บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายจากคู่สัญญาฝ่ายรัฐ
(5) บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ตอบหนังสือลงวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแจ้งว่า บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด มีความเข้าใจว่าคู่สัญญาฝ่ายตนมีมูลอันจะพึงบอกเลิกสัญญาสัมปทานได้ตามที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาสัมปทานข้อ 27
(6) ต่อมาได้มีหนังสือลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 (หนังสือยืนยัน) ซึ่งบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับจากกระทรวงคมนาคมและ รฟท. ตามหนังสือยืนยันฉบับดังกล่าวนั้น คู่สัญญาฝ่ายรัฐได้ยืนยันว่าการบอกเลิกสัญญาสัมปทานนี้เป็นการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามกระบวนการแห่งกฎหมายและทั้งได้ปฎิบัติตามสัญญาสัมปทานแล้ว ดังนั้นสัญญาสัมปทานจึงเป็นอันสิ้นสุดลง โดยไม่จำเป็นต้องตั้งอนนุญาโตตุลาการที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาสัมปทานอีกแล้ว
(7) บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด และที่ปรึกษากฎหมายของบริษัทฯ ได้พิจารณาเงื่อนไขแห่งการยืนยันการบอกเลิกสัญญาสัมปทานนี้ ตลอดจนการตอบโต้ของบริษัท โฮปเวลล์ (แห่งประเทศไทย) จำกัด อย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว เห็นว่าตามความเป็นจริงนั้นการบอเลิกสัญญาสัมปทานตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อ 27 หาได้รับการปฎิบัติตามโดยคู่สัญญาฝ่ายรัฐไไม่ และการที่ได้กำหนดให้บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ให้ย้ายออกไปจากพื้นที่สัมปทาน ซึ่งบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด และที่ปรึกษากฎหมายของบริษัทฯ ได้ร่วมกันพิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำของคู่สัญญาฝ่ายรัฐดังกล่าวนั้น คือการยึด การครอบครอง เข้ายึดพื้นที่สัมปทาน หรือการเวนคืนพื้นที่สัมปทานตามที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 29 นั่นเอง ขณะนี้บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด กำลังดำเนินการตระเตรียมเคลื่อนย้ายบรรดาสัมภาระ โรงงาน บรรดาอุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ ออกจากพื้นที่สัมปทาน ซึ่งกรณีนี้ตามที่ได้กำหนดในสัญญาข้อ 29 นั้น บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ย่อมทรงสิทธิที่จะเรียกร้องให้ชดใช้บรรดาค่าเสียหายทั้งหลายทั้งปวงจากคู่สัญญาฝ่ายรัฐได้
(8) กระทรวงคมนาคมและรฟท. ได้มีหนังสือฉบับลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 ซึ่งได้ระบุข้อเรียกร้องให้บริษัทโฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ต้องจ่ายเงินค่าประกันสัญญาจำนวน 500 ล้านบาท ภายในเวลา 15 วัน โดยจ่ายผ่านทางธนาคารกรุงเทพฯ จำกัด (มหาชน) ให้ทางธนาคารดังกล่าวได้ปฎิบัติตามเงื่อนไข และข้อกำหนดแห่งสัญญาค้ำประกัน ซึ่งได้ออกให้โดยธนาคารลงวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2534 เงื่อนไขและข้อกำหนดแห่งการเรียกร้องของคู่สัญญาฝ่ายรัฐกำลังได้รับการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนรอบคอบโดยบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด และปรึกษากฎหมายของบริษัทฯ ในระหว่างเวลาแห่งการพิจารณาดังกล่าวนั้น ธนาคารดังกล่าวได้รับการขอร้องจากบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ให้งดการจ่ายเงินจำนวนที่ได้ระบุเอาไว้ในหนังสือค้ำประกันสัญญาจำนวนนี้แก่คู่สัญญาฝ่ายรัฐ
(9) บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด มีความเสียในที่คู่สัญญาฝ่ายรัฐมิได้ปฎิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ในสัญญาสัมปทานในการบอกเลิกสัญญาแต่ได้ดำเนินการก่อให้เกิดการยืด การครอบครอง หรือเวนคืนพื้นที่สัมปทานบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้จ่ายเงินลงทุนไปแล้วในโครงการนี้เป็นจำนวนเงินประมาณ 600,000,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด จำเป็นต้องดำเนินการตามความเหมาะสมเพื่อให้มีการชดใช้ค่าเสียหาย
(10) บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) ใคร่ขอขอบคุณประชาชนชาวไทยทั้งหมด ที่ได้ให้ความสนับสนุนโครงการนี้มาตั้งแต่ต้นและได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งหวังตั้งใจ แท้จริงโดยไม่สนใจต่ออุปสรรคและปัญหาทั้งปวง เพื่อให้โครงการนี้ได้ดำเนินต่อไปเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรของกรุงเทพมหานคร บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ใคร่เรียนต่อปวงชนชาวไทยว่าเราพร้อมอยู่เสมอและมีเจตต์จำนงแน่วแน่จะมีบทบาทในการสร้างสรรค์โครงการนี้
(11) ในระหว่างเหตุการณ์อันเป็นอุปสรรคทั้งหลายนี้ บริษัท โฮปเวลล์ โฮลดิ้ง จำกัด จะแจ้งแก่บรรดาผู้ถือหุ้นทั้งหลายของบริษัทฯ เพื่อให้ได้รับทราบโดยทั่วกันถึงการดำเนินการที่บริษัทฯ จะได้ปฎิบัติต่อไปอันเกี่ยวกับกรณีการบอกเลิกสัญญาสัมปทานของคู่สัญญาฝ่ายรัฐ โดยคำสั่งแห่งคณะกรรมการอำนวยการของบริษัท โฮปเวลล์ โฮลดิ้ง จำกัด ปีเตอร์ ยิบ วาห์ ลี เลขานุการ
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อฮ่องกง บริษัทฟอร์เรสท์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด โรสแมรี่ เซอเยอร์ โทร. (852) 9096-4432, พอล แมริเอจ โทร. (852) 9026-4275 กรุงเทพ บริษัท โบเซลล์ แพ็ตเตอร์สั จำกัด ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทร. (662) 637-027-9--จบ--