กรุงเทพ--25 ก.ย.--บ.ไมโครซอฟท์
ไมโครซอฟท์ ประกาศแต่งตั้งโซลูชั่นโพรไวเดอร์ชุดใหม่ 22 ราย จากมืออาชีพด้านเทคโนโลยีและระบบคอมพิวเตอร์ทั่วประเทศไทย หวังเปิดช่องทางตลาดและขยายบริการแนวลึกสู่ลูกค้าระดับองค์กรอย่างทั่วถึง และสอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน พร้อมประกาศใช้โลโก้ตัวใหม่ล่าสุด "Microsoft Certified Solution Provider" เพื่อป้องกันการแอบอ้างจากบริษัทและองค์กรที่ไม่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ สร้างความมั่นใจแก่ลูกค้า และตอกย้ำภาพลักษณ์แห่งคุณภาพและบริการระดับมาตรฐานสากล
นายพีระพงษ์ เอื้อสุนทรวัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า "การแต่งตั้ง Microsoft Certified Solution Provider ชุดใหม่สำหรับปีนี้ เป็นการขยายฐานคู่ค้าเพื่อรองรับธุรกิจระบบคอมพิวเตอร์และซอฟท์แวร์ของไมโครซอฟท์ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการอย่างสูง โดยเฉพาะในองค์กรที่ต้องการปรับตัวสู่ระบบการทำธุรกิจสมัยใหม่ นอกจากนี้ ยังเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายกระจายบริการเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาระบบการทำงานในองค์กร โดยการใช้เทคโนโลยีและซอฟท์แวร์ของไมโครซอฟท์ตอบสนองความต้องการเฉพาะด้านอย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพสูงสุด รับกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทั้งนี้ ไมโครซอฟท์ได้คัดเลือกเฉพาะบริษัทและองค์กรอิสระระดับมืออาชีพที่มีชื่อเสียง ประสบการณ์ และความชำนาญตรงตามมาตรฐานที่ไมโครซอฟท์กำหนด เพื่อสามารถแก้ปัญหาและสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้าได้อย่างเต็มที่"
นายพีระพงษ์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับโลโก้ที่ใช้รับรองโซลูชั่นโพรไวเดอร์ของไมโครซอฟท์อย่างเป็นทางการตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จะเพิ่มคำว่า "Certified" เข้าไปด้วย เพื่อให้ลูกค้าสามารถแยกแยะได้ง่ายขึ้นระหว่างบริษัทหรือองค์กรทั่วไปที่มักจะใช้คำว่า "Microsoft Solution Provider" แอบอ้างเพื่อเรียกลูกค้าอยู่เสมอ กับโซลูชั่นโพรไวเดอร์ที่ไมโครซอฟท์ได้แต่งตั้งและรับรองอย่างเป็นทางการ โดยผ่านขั้นตอนการคัดเลือกอย่างพิถีพิถัน เพื่อให้ได้โซลูชั่นโพรไวเดอร์ และคู่ค้าที่เหมาะสมเป็นตัวแทนของไมโครซอฟท์ในการให้บริการแก่ลูกค้าองค์กรให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ
สำหรับปัจจัยพื้นฐานในการคัดเลือกโซลูชั่นโพรไวเดอร์ของไมโครซอฟท์ ได้แก่ แผนงานและเป้าหมายทางธุรกิจที่ชัดเจนและสอดคล้องเป็นทิศทางเดียวกัน ความเข้าใจผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์อย่างลึกซึ้ง มีเจ้าหน้าที่ประจำที่ได้รับประกาศนียบัตรจากไมโครซอฟท์ (Microsoft Certified Professional) มีความเชี่ยวชาญอย่างกว้างขวางครอบคลุมเทคนิควิธีการแก้ปัญหาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ทั่วไป และความชำนาญเฉพาะด้าน ที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในธุรกิจต่างประเภทกัน
รูปแบบการให้บริการแก้ปัญหาและพัฒนาระบบการทำงานในแนวลึกเพื่อเพิ่มผลผลิตสูงสุดขององค์กรของ Microsoft Certified Solution Provider ทั้ง 22 ราย แบ่งออกเป็น Infrastructure and System Integrator ได้แก่ การให้บริการ ติดตั้ง ออกแบบ และดูแลระบบ เช่น ระบบ File Server ระบบ Print Server ระบบ E-mail และการเชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายขนาดเล็ก (LAN) และขนาดใหญ่ (WAN) Solution Developer ได้แก่ การพัฒนาซอฟท์แวร์สำเร็จรูปสำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น ระบบโรงงานอุตสาหกรรม และระบบค้าปลีก (Customer Application Developer ได้แก่ การให้บริการเขียนโปรแกรมและสร้างระบบตามความต้องการเฉพาะของลูกค้าแต่ละราย Consulting ได้แก่ การให้บริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ Technical Training Service ได้แก่ การให้บริการฝึกอบรมการใช้งานซอฟท์แวร์โปรแกรมต่าง ๆ และ Internet and Intranet Specialist ได้แก่ บริการออกแบบและวางระบบอินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ต โดยใช้เทคโนโลยีของไมโครซอฟท์เป็นหลัก
"การร่วมมือกับ Microsoft Certified Solution Provider ในครั้งนี้ นับเป็นการอำนวยประโยชน์ให้กับทุกฝ่าย กล่าวคือ ลูกค้าองค์กรจะได้ความคุ้มค่าสูงสุดจากเทคโนโลยีและซอฟท์แวร์ของไมโครซอฟท์ ในขณะนี้ไมโครซอฟท์ สามารถขยายฐานลูกค้าและให้บริการได้อย่างทั่วถึงผ่านทางโซลูชั่นโพรไวเดอร์ทั่วประเทศ ส่วนคู่ค้าหรือโซลูชั่นโพรไวเดอร์จะได้รับการสนับสนุนจากไมโครซอฟท์อย่างเต็มที่ในทุก ๆ ด้าน เช่น การใช้ซอฟท์แวร์ใหม่ ๆ ข้อมูลด้านเทคนิค ตัวอย่างโปรแกรมสาธิตการใช้ผลิตภัณฑ์ สิทธิพิเศษในการเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการตลาด และสิทธิการใช้โลโก้ Microsoft Certified Solution Provider เพื่อส่งเสริมการขาย" นายพีระพงษ์ กล่าวในที่สุด
Microsoft Certified Solution Provider ที่ได้รับการแต่งตั้งทั้ง 22 แห่ง ได้แก่ บริษัท บางกอก ดาต้า เซนเตอร์ จำกัด, บริษัท พารา แอดวานซ์ อินโฟเทค จำกัด, บริษัท ซีดีจี ไมโครซิสเต็มส์ จำกัด, บริษัท คอร์ปอเรท ซอฟท์แวร์ ซิสเต็มส์ จำกัด, บริษัท ดาต้าแมท จำกัด (มหาชน), บริษัท ดาต้าโปร คอมพิวเตอร์ ซิสเต็มส์ จำกัด, บริษัท ดี ซี พี ที จำกัด, บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล รีเสิร์ช คอร์ปปอร์เรชั่น จำกัด, บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล ซอฟท์แวร์ แฟคตอรี่ จำกัด, บริษัท ไอโซเน็ท จำกัด, บริษัท ลานนา คอมพิวเตอร์ ซัพพลาย จำกัด, บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินเตอร์กราฟ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท เมโทร ซิสเต็มส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), บริษัท มัลติมีเดียเทคโนโลยี จำกัด, บริษัท สามารถ คอร์ปอเรชั่น จำกัด, บริษัท เอสซีที คอมพิวเตอร์ จำกัด, บริษัท สยาม เทลเทค คอมพิวเตอร์ จำกัด, บริษัท สยามยูนิซิส จำกัด, บริษัท ซินเนอร์ยี อินโพเทค จำกัด, บริษัท อัพฟรอนท์ โซลูชั่น ซิสเต็มส์ จำกัด, บริษัท เวิร์คโฟลว์ ออโตเมชั่น จำกัด, บริษัท ซายลอจิก จำกัด
ไมโครซอฟท์ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2518 และเป็นผู้นำการพัฒนาและการตลาดของซอฟท์แวร์สำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer-PC) ทางบริษัทฯ มีซอฟท์แวร์หลายประเภทให้เลือกใช้ทั้งสำหรับที่ทำงานและที่บ้าน ทั้งนี้ ซอฟท์แวร์ทุกตัวพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกในการใช้งานและประโยชน์สูงสุดจากเครื่องพีซี ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) เป็นผู้พัฒนาและขายสินค้าไมโครซอฟท์ เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าในประเทศไทย และมีบริการหลังการขายให้แก่ผู้ซื้อลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์อย่างถูกต้อง โดยลูกค้าปลีกสามารถติดต่อขอรับบริการได้ที่ศูนย์บริการทางเทคนิคของไมโครซอฟท์ (Microsoft Technical Support) โทร. 613-7208-11 ส่วนลูกค้าประเภทองค์กรและหน่วยงาน ไมโครซอฟท์เสนอบริการพิเศษผ่านศูนย์บริการทางเทคนิค ASC บริษัท ดิจิตอล อิควิปเม้นท์ คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด โทร. 312-0500 ต่อ 2475 บริษัท โปรเฟสชั่นแนล เมนเทแนนซ์ เซอร์วิส จำกัด โทร. 656-9862-71 บริษัท โมเดิร์นฟอร์ม โอเอ จำกัด โทร. 261-2700 ต่อ 303 และบริษัท เดอะแวร์ลูซิสเต็มส์ จำกัด โทร. 308-2900 ต่อ 1620
หมายเหตุ: Microsoft เป็นเครื่องหมายการค้าาที่จดทะเบียนและ Windows เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัท ไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น
รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อสอบถามได้ที่ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด คุณอรวรรณ อินทรวัลทิพย์ โทร. 266-3300 ต่อ 115 E-mail: orawani@microsoft.com-- จบ--