โครงการทุนนักเรียนแลกเปลี่ยน เวทียอดฮิต พ่อแม่หนุน สร้างเสริมเด็กไทยยุคดิจิตอลพันธ์ใหม่ เก่งอังกฤษเป็นเลิศ ไม่กลัวฝรั่ง

ข่าวทั่วไป Friday April 22, 2005 13:42 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--22 เม.ย.--กู๊ด เน็ตเวิร์ค
บันไดขั้นหนึ่งในการส่งเสริมให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษและเป็นฐานให้ลูกก้าวเป็น ผู้นำ นักธุรกิจมืออาชีพระดับชั้นนำของประเทศต่อไปในอนาคต ของกลุ่มครอบครัวที่ค่อนข้างมีฐานะและกำลังปัจจัย ทั้งยังเป็นเวทีที่ติดอันดับฮิตของครอบครัวที่พอจะมีความพร้อมในเรื่องฐานะ และมีค่าใช้จ่ายเพียงพอที่จะสนับสนุนและสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตที่ยอดเยี่ยมให้กับตัวบุตรหลานของตัวเอง นั่นก็คือ การเป็นนักเรียนทุนแลกเปลี่ยน โดยเฉพาะระหว่างไทยกับอเมริกา ที่เป็นที่ยอมรับและมีชื่อเสียงรู้จักกันทั่วโลก
เวทีนี้จะมีส่วนได้ช่วยเหลืออย่างไรนั้น มีทัศนะจากหลากหลายครอบครัวที่ผ่านประสบการณ์ในการเลือกส่งลูกของตนเองไปใช้ชีวิตในต่างแดน มาบอกเล่าให้ฟัง แต่ก่อนที่จะได้ฟังทัศนะคติผู้มีประสบการณ์จริง มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการทุนนักเรียนแลกเปลี่ยนสักเล็กน้อย มีหลายองค์กรระหว่างประเทศที่ตั้งในสหรัฐอเมริกาที่ให้การสนับสนุนโดยการให้ทุนนักเรียนแลกเปลี่ยนกับเด็กนักเรียนไทย เพื่อไปเข้าร่วมโครงการฯ โดยจะได้รับทุนจากองค์กรระหว่างประเทศส่วนหนึ่ง และผู้ปกครองจ่ายสมทบอีกบางส่วนเพื่อไปศึกษาและเล่าเรียนที่นั่นในช่วงเวลา 1 ปี นักเรียนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่พ่อแม่ต้องการให้ลูกไปต่างประเทศเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่อาจมีงบประมาณไม่มากนัก จึงเลือกส่งไประยะสั้น 1 ปี แทน เมื่อกลับมาก็มาเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยต่อไป
การไปเรียนต่อต่างประเทศของนักเรียนไทย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสภาพเทางเศรษฐกิจเป็นหลัก หากแต่เกิดจากพ่อแม่มีความตั้งใจอยู่แล้ว ประกอบกับนักเรียนที่รู้ตัวว่าจะต้องไปเรียนต่อต่างประเทศ มีการเตรียมตัวล่วงหน้า 1-2 ปี ตั้งแต่การหาข้อมูลหรือเรียนภาษาอังกฤษเพิ่มเติม ทั้งจากสถาบันแนะแนวการศึกษาต่อต่างประเทศ และนิทรรศกาการศึกษาต่อต่างประเทศที่จัดขึ้นในบ้านเราบ่อยมาก สิ่งที่ศูนย์แนะแนวการศึกษาต่อต่างประเทศให้การช่วยเหลือ ก็คือ การได้ช่วยเหลือผู้ปกครองให้ได้รับคำแนะนำเลือกโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับความต้องการและความสามารถของนักเรียนมากที่สุด
ทั้งนี้ มูลนิธิ Aspect Foundation และมูลนิธิ Ayusa ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ร่วมกับศูนย์แนะ-แนวการศึกษาต่อต่างประเทศ EduWorld จัดโครงการคัดเลือกนักเรียนทุนแลกเปลี่ยนไทยอเมริกาขึ้น เพื่อให้ทุนการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแก่นักเรียนรระดับมัธยมศึกษา อายุ 14-18 ปี เข้าเรียนที่โรงเรียนมัธยมในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นระยะเวลา 1 ปีการศึกษา และเปิดโอกาสให้น้องๆ ได้มีโอกาสใกล้ชิดกับวัฒนธรรม และเข้าใจการใช้ชีวิตของคนอเมริกัน โดยน้องๆ ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการดังกล่าว จะได้ไปพักอาศัยอยู่กับครอบครัวอาสาสมัครชาวอเมริกันที่ต้องการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับนักเรียนต่างชาติโดยเฉพาะ กระจายไป 350 ชุมชน ทุกรัฐในสหรัฐอเมริกา ซึ่งปีที่ผ่านมา มีนักเรียนจำนวน 950 คนทั่วโลก จาก 150 ประเทศทั่วโลก นักเรียนที่กลับมายังสามารถโอนหน่วยกิจการเรียนได้อีกด้วย
ขณะนี้ ทาง EduWorld กำลังจะจัดค่ายเตรียมความพร้อมนักเรียนทุนแลกเปลี่ยนรุ่นใหม่ รุ่นที่ 4 หลังจากที่ได้ทำการปฐมนิเทศนักเรียนกลุ่มนี้ไปแล้ว ซึ่งนักเรียนกลุ่มนี้กำลังเตรียมตัวในการไปพักอาศัยกับครอบครัว
ชาวอเมริกัน เตรียมทั้งในเรื่องฝึกภาษาเพิ่มเติม เรียนรู้วัฒนธรรมในการใช้ชีวิตประจำวันร่วมกัน ก่อนจะเดินทางไปเพื่อเตรียมเข้าเรียนในช่วงเปิดเทอมใหม่ของสหรัฐอเมริกาเดือนสิงหาคมนี้
อีกทั้งน้องๆ รุ่นใหม่เหล่านี้ ยังจะมีพี่เลี้ยงซึ่งเป็นผู้เคยมีประสบการณ์มาแล้ว จะมาเป็นอาสาสมัครคอยให้คำแนะนำทุกอย่างให้กับน้องๆ รุ่นใหม่ๆ ที่ผ่านการสอบเพื่อเข้าร่วมโครงการนักเรียนทุนแลกเปลี่ยน เพื่อทำความเข้าใจและควรเตรียมตัวอย่างไรก่อนเดินทางไปจริงต่อไปนี้ จึงเป็นหยิบยกความคิดเห็นของแต่ละครอบครัว ที่มีประสบการณ์มาแล้ว เพื่อนำขึ้นมาเป็นมุมมองและข้อคิดที่น่าสนใจ ทั้งตัวคุณพ่อคุณแม่ และน้องๆ เพื่อสะท้อนถึงสภาวะความพร้อมของแต่ละครอบครัว ด้านฐานะความพร้อมของตัวน้องๆ แม้กระทั่งรูปแบบและลักษณะของการเลี้ยงดูปลูกฝั่งการดูแลลูกๆ ตัวแทนของแต่ละครอบครัวในประเภทต่างๆ และผลดีผลเสียที่จะได้รับภายหลังจาก 1 ปีผ่านไปแล้ว ได้เป็นอย่างดี
“จุลสมบูรณ์” ครอบครัวที่วางแผนล่วงหน้าให้ลูกรัก
น้อง เอ “มานิตา จุลสมบูรณฺ” อายุ 18 ปี ปัจจุบันเรียนอยู่ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 ผู้เคยมีประสบการณ์ไปร่วมในโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย-อเมริกากับศูนย์แนะแนวการศึกษาต่อต่างประเทศ “ EduWorld” ในช่วงระหว่างเดือนสิงหาคม 2546- เดือนมิถุนายน 2547 โดยไปพักที่เมือง Phoenix เมืองหลวงของรัฐ Arizona และศึกษาที่ Tolleson Union Highschool
น้อง เอ เล่าประสบการณ์ให้ฟังว่า เดินทางไปคนเดียว ต้องไปต่อเครืองบินที่ไทเป กว่าจะถึงสนามบินที่สหรัฐขณะนั้นก็ประมาณเที่ยงคืน จากสนามบินต้องนั่งรถต่อไปถึงที่พักอีกประมาณ 30 นาที ในระยะแรกต้องปรับตัวค่อนข้างมาก ต้องไปพบกับ.คุณย่าหรือคุณยายของ ครอบครัวที่ไปพักอาศัยก่อน ซึ่งมีด้วยกัน 4 คน และต้องมีการเตรียมตัวก่อนเปิดเรียนโดยไปพูดคุยกับที่ปรึกษา โดยทางครอบครัวชาวอเมริกัน เป็นผู้ที่พาไปหา เพื่อศึกษาและดูว่าจะต้องเรียนอะไร อย่างไรบ้าง น้องเอ เล่าว่า การปรับตัวในโรงเรียน คือ ต้องไปผูกมิตรกับเพื่อนๆ ก่อน โดยอาศัยข้อดีในเรื่องการอ่อนโน้มของวัฒนธรรมไทยไปใช้
วันแรกของการไปโรงเรียนเพื่อเข้าเรียน จะมีการแนะนำตัว มีเพื่อนนักเรียนพาทัวร์โรงเรียน
แล้วจะเข้าห้องเรียนตามตารางสอนที่เรียนตามปกติ ซึ่งนักเรียนแต่ละคนจะมีตารางเรียนที่ไม่เหมือนกัน โดยเราจะเป็นผู้ที่เลือกเรียนเองในแต่ละวิชา โดยมี Classiler มาคอยดูแลเรื่องตารางเรียนให้
และจากการที่ต้องไปเรียนในแต่ละห้องเรียนที่ไม่ซ้ำห้องเรียนกันนี้เอง น้อง เอ บอกว่า ทำให้ได้
เพบเจอเพื่อนๆ จำนวนมาก รู้จักเพื่อนที่หลากหลาย เพราะจะมีเพื่อนๆ จากประเทศอื่นๆ ด้วย เนื่องจากที่โรงเรียนแห่งนี้จะมีนักเรียนจากโครงการนักเรียนแลกเปลี่ยนนานาชาติมาร่วมเรียนกันค่อนข้างมาก
เรื่องที่ค่อนข้างยากและมีปัญหาสำหรับน้อง เอ ก็คือ การทำรายงานก่อนจบซึ่งจะต้องเรียบเรียงเขียนข้อความเป็นรายงานภาษาอังกฤษทำให้ น้อง เอ ต้องไปขอเปลี่ยนมาเป็นการอ่านแทนการเขียนรายงาน
ส่วนเรื่องกิจกรรมต่างๆ ในโรงเรียนนั้น น้องเอ ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก มีทั้งการเข้า Club ดูแลกิจกรรมไทยทุกอย่างในโรงเรียน เป็นนักกีฬาบาสเก็ตบอลในช่วงการแข่งขันกีฬาของโรงเรียน
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะได้ไปสัมผัสกับประสบการณ์จริงนั้น น้อง เอ เล่าว่า คุณแม่ต้องการและอยากให้ลูกๆ ได้ไปเรียนในโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมมาก เนื่องจาก ต้องการให้ลูกๆได้มีประสบการณ์จริงในการไปอยู่และติดต่อกับชาวต่างชาติ ฝึกภาษาท่ามกลางเหตุการณ์จริง และต้องการให้ได้เพื่อนๆ จากต่างแดน
น้อง เอ บอกว่า ประสบการณ์ที่ได้เข้าโครงการแลกเปลี่ยนนี้ เพื่ออนาคตแล้วคุ้มค่ามาก คุ้มกับ
ค่าใช้จ่ายที่เราต้องเตรียมตัวในการอยู่ต่างประเทศ ประมาณ 200 ดอลล์ ต่อเดือน หรือประมาณ 8,000 บาท
ต่อเดือน ซึ่งน้องเอยังบอกอีกว่า ถ้าเรารู้จักประหยัดและใช้เงินอย่างเหมาะสมถูกต้อง ก็อาจจะใช้จริงเพียงแค่
ไม่ถึง 100 ดอลล์ต่อเดือน แต่ก่อนที่จะได้รับคัดเลือกให้เป็นนักเรียนโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย-เอม
ริกา คือ เริ่มต้นมาจากที่ตัวเองเข้าไปสอบข้อเขียนก่อน ผ่านข้อเขียนแล้ว มาสอบสัมภาษณ์ต่อ แต่ด้วยพื้นฐาน
ของตัวน้องเอ ที่ไม่ค่อยเก่งภาษาอังกฤษ พอฟังและพูดได้บ้าง อาศัยที่ช่วงที่สัมภาษณ์นั้น คือ ต้องกล้าที่จะ
พูด กล้าแสดงออก ไม่เกิดความรู้สึกเครียด พูดคุยไปเรื่อยๆ น้อง เอ จึงผ่านการคัดเลือกเข้ามามีส่วนร่วมใน
โครงการนี้ได้
อีกสิ่งที่ได้กลับมานั้น น้อง เอ เล่าว่า ช่วยทำให้เราออกสำเนียงการใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างถูก
ต้อง การนึกใช้คำศัพท์ในแต่ละคำง่ายขึ้น และคิดคำศัพท์ที่จะใช้ตอบโต้ในการพูดเร็วขึ้น มีความรับผิดชอบมากขึ้น แก้ปัญหาด้วยตัวเองได้ เพราะจากวัฒนธรรมของเขาเอง ทำให้ต้องทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง ทั้งการค้นหาข้อมูลต่างๆ การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าห้องเรียน จากปกติจะทำบ้าง ไม่ทำบ้าง เพราะมีแม่บ้านค่อยดูแลอยู่แล้ว
“ในยุคปัจจุบันนี้ หากใครรู้ภาษาอังกฤษ ก็จะได้เปรียบทั้งในเรื่องการทำงาน และมีโอกาสก้าว
หน้าในหน้าที่การงานมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเราต้องไปทำงานต่างประเทศด้วยแล้ว จะได้รับการ
พิจารณาเป็นพิเศษ” น้องเอ กล่าวความคิดเห็น
“หากเราจำกัดการเรียนรู้เฉพาะในประเทศ ก็จะทำให้เราแคบ เมื่อมองออกไป จะยังมีประเทศ
ต่างๆ ทั่วโลก อีกหลายประเทศ ที่ทำให้เราได้ความรู้ที่กว้างขึ้น ทั้งด้านภาษา และวัฒนธรรม การมีเพื่อนใน
ไทยนั้นหาง่าย แต่การมีเพื่อนจากต่างประเทศ หลากหลายความสัมพันธ์ที่แตกต่างกัน ทำให้เปิดโลกการเรียน
รู้ของตัวเราเอง และสิ่งนี้เอง ต้องขอขอบคุณคุณพ่อ คุณแม่ ที่กระตุ้นให้เราได้มีโอกาสเรียนรู้”
“การไปเรียนรู้เมืองนอกในลักษณะเช่นนี้ ไม่ได้เสียหายอะไร อย่ามองแต่ในแง่ลบ อย่างเรื่องที่ผู้
ปกครองหลายๆ คนกลัวเรื่องความปลอดภัย นั้น เอว่า ปลอดภัยแน่นอน เพราะ Host เขาจะมีการดูแลเรา
ตลอด ถ้าจะไปไหน กลับบ้านช้า หรือไม่ จะ ติดต่อกันได้อย่างไร เหมือนกับเป็นพ่อแม่และผู้ปกครองที่ดีให้
กับเรา ตลอดช่วงการพักอาศัย และยังมีเจ้าหน้าที่อีก 2 คน ที่คอยประสานงานกับ Host และนักเรียน โดยจะ
มีการพบปะกันทุกๆ สัปดาห์ ติดต่อสื่อสารกันทางโทรศัพท์โดยตลอด และจะมีกิจกรรมร่วมกันโดยตลอดอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง อย่างไรก็ตาม น้องเอ กล่าวว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวเด็กเองด้วย ถ้าหากเห็นสิ่งที่ไม่ดี ก็อย่าไปทำมัน ทำและนำในสิ่งที่ดีของเขามา และต้องกล้าแสดงดออก สำหรับเรื่องเซ็กซ์นั้น สิ่งที่เห็นเป็นเรื่องปกติ เพียงแต่ตัวเราต้องรู้จักตัวเรา และมีความระมัดระวังดูแลตัวเอง
ครอบครัว “เพชรมณี” แบบเลี้ยงลูกเหมือนไข่ในหิน
ครอบครัว “เพชรมณี” โดยมีคุณแม่ มาลินี เพชรมุณี เป็นทั้งคุณพ่อและคุณแม่ ของลูกสาวคนเก่ง “ภัครพร สุภัครพงษ์กุล” หรือ น้อง คริสตี้ ” ซึ่งขณะนี้น้องคริสตี้ เรียนอยู่ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 อายุ
14 ปี กล่าวถึงการส่งลูกมาสอบคัดเลือกเข้าโครงการทุนแลกเปลี่ยนไทย-เอมริกาว่า ดีใจที่ครั้งแรกที่ส่งลูกสาวมาสมัครก็สามารถสอบได้ทุนในโครงการแลกเปลี่ยนได้ เพราะลูกชายคนโตซึ่งเป็นพี่ชายของน้องคริสตี้ ก็เป็นนักเรียนทุนของสหรัฐอเมริกาเหมือนกัน ในช่วงที่เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งขณะนี้เรียนอยู่ชั้น ม.6 แล้ว
คุณแม่ มาลินี กล่าวว่า ตนเองไม่ได้คำนึงถึงในรายละเอียดของการสอบแข่งชิงทุนโครงการแลกเปลี่ยนกับเขาอะไรมากนัก คือ เพียงแค่ต้องการให้โอกาสกับเขา และไม่ได้เคยคิดว่าจะต้องให้อะไรกับเขา
ก่อนไหม อย่างลูกชายคนโต ตัวของเขาเองมีความคิดว่าจะลองมาสอบดู และก็ไม่ได้เป็นนักเรียนโรงเรียนอินเตอร์อะไรกํบเขาเลย แต่พอมาสอบแล้ว สามารถสอบผ่านได้ จึงให้โอกาสลูกๆ ได้ไปเรียน และตัวเองไม่ได้รู้สึกเป็นกังวล เพราะเห็น ลูกไปก้าวหน้า ไม่ต้องมานั่งห่วง เพราะ เราสามารถติดต่อกับลูกๆ โดยตรงได้ตลอดเวลาในช่วงที่ลูกไปพักอาศัยอยู่กับครอบครัวของชาวอเมริกัน ทั้งการโทรศัพท์ และการติดต่อผ่านอีเมลล์
ทั้งนี้ เด็กหรือลูกของเราจะไปได้ดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับตัวของเด็กเอง ยิ่งหากเด็กได้ไปอยู่กับ Host ที่ดี และลูกๆ มุ่งมั่นรักดี ก็จะได้ประโยชน์กับตัวลูกๆ เอง ตรงกันข้าม ส่งไปแล้ว ลูกๆ ไม่สนใจก็จะไม่
ได้ประโยชน์ Host ที่ดีจะช่วยสอนในสิ่งที่ดี จะทำให้เด็กเกิดความมุ่งมั่น มีความตั้งใจ
ส่วน น้อง คริสตี้ ซึ่งชื่นชอบดนตรีมาก มีความสามารถพิเศษด้านดนตรีอย่างมาก เพราะน้อง
คริสตี้ สามารถเล่นได้ทั้งเปียนโน ไวโอลิน ขลุย และดนตรีชิ้นอื่นๆ อีก ซึ่งคุณแม่จะเป็นผู้ที่คอยติดตามการ
เรียนและดูแลลูกโดยตลอด พาไปเรียน ส่งเสริมการศึกษาเพิ่มเติม และวางอนาคตให้มาโดยตลอด ซึ่งเรื่อง
ดนตรีนี้ คุณแม่ได้ฝึกฝนน้องคริสตี้ให้มาในแนวดนตรีนี้มาตั้งแต่เล็กๆ อายุ 3-4 ขวบแล้ว เพื่อเป็นรากฐานให้
กับตัวน้องคริสตั้ ซึ่งคุณแม่มองว่า วันหนึ่งวันใดไม่มีคุณแม่แล้ว ลูกๆ จะเรียนจบกันได้อย่างไร อาชีพเสริม
ด้านดนตรีนี้จะช่วยเลี้ยงตัวลูกได้ อย่างลูกชายขณะนี้สามารถแต่งเพลงเองได้แล้ว เพราะว่า การประสบ
ความสำเร็จได้ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเรียนเพียงอย่างเดียว
ด้านค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงในการส่งลูกเข้าโครงการนักเรียนทุนแลกเปลี่ยน คุณแม่มาลินีกล่าว
ว่า ถ้าตัดสินใจแล้ว เรื่องค่าใช้จ่ายนั้น ก็ต้องทำให้ได้ และจะให้ในสิ่งที่ควรจะให้ อธิบายในสิ่งที่ดีให้เขาเข้าใจ ทุกวันนี้มีสิ่งที่เป็นของจริงมีให้เขาเห็นเขาดูอยู่แล้ว อย่างเรื่องความฟุ้งเฟ่อ คนเราต้องยอมรับตัวเองอย่าเห็นคนอื่นเข้ามี แล้วอย่าเอาความอยากมาทำให้ตัวเอง ทำในสิ่งที่ไม่ดี เป็นต้น
ครอบครัว “ฉายศิริ” แบบฉบับ แม่ที่ห่วงลูกมาก
คุณ สมพร ฉายศิริ คุณแม่ของ น้อง ส้ม (รติมา ฉายศิริ) อายุ 18 ปี และ น้องมด (ผานิต ฉายศิริ) อายุ 19 ปี บอกว่า ลูกสาวของแม่ทั้ง 2 คนได้มีโอกาสไปเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย —อเมริกามาแล้ว น้องส้ม ไปเรียนที่ Lowry high School ที่รัฐ Nevada น้องมด เรียนที่ Oregon Davis High School เดิมไม่เคยมีความคิดเลยที่จะตั้งใจให้ไป หรือให้มีการเตรียมตัวมาก่อน แต่เพราะน้องส้ม มีความต้องการที่จะลองมาสอบดู ก็ลองมาสอบดู และสอบได้ทั้ง 2 คน เมื่อสอบได้แล้วถือว่าเป็นโอกาสที่ดีที่เราได้มาแล้ว เพื่อเป็นการส่งเสริมประสบการณ์ให้แก่เขาได้ ส่วนเรื่องเงินที่จะสนับสนุนให้กับเขาส่วนหนึ่งนั้น คิดว่าไม่เป็นปัญหา
“เรื่องความกลัว คุณแม่มีมากเลย เพราะเป็นเรื่องของคนที่ไม่รู้สถานการณ์ข้างหน้า ที่ต้องปล่อยให้ลูกทั้ง 2 คน ไปต่างถิ่นซึ่งไกลมาก มีปัญหาแล้วใครจะช่วยได้ จะมีการติดต่อกับใครได้อย่างไรบ้าง Host ที่ไปพักด้วยจะเป็นอย่างไร เป็นห่วงมากๆ เลย บ้านที่เคยมีเสียง มันเงียบหายไปแบบฉับพลัน ช่วงเดือนแรกๆ ยังไม่รู้ช่องทางการติดต่อสื่อสารที่สะดวกและติดต่อกันง่ายขึ้น แต่พอไปสักระยะหนึ่งมีการปรับตัวดีขึ้น ติดต่อสื่อสารทำได้ง่ายขึ้น และใช้ติดต่อทางอินเตอร์เน็ตกันมากขึ้น”
สิ่งที่ได้หลังจาก ลูกกลับมาแล้ว เรื่องหลักเลยก็คือ เรื่องภาษา ทำให้เขามีความมั่นใจในด้านภาษาทั้งคำศัพท์และสำเนียงที่จะพูดคุยได้อย่างดีที่เดียว ยิ่งสำเนียงด้วยแล้ว เหมือนกับคนของชาติเขาเลย ความมั่นใจในตัวเองในด้านต่างๆ มีมาก กล้าแสดงออก ได้ดี และมีความรับผิดชอบต่อตัวเอง การค้นหาข้อมูลต่างๆ ที่เป็นภาษาอังกฤษทำได้อย่างง่ายดาย และรวดเร็ว เขาไม่เคยกลัวเรื่องภาษาอังกฤษอีกเลย
คุณแม่ สมพร ยังได้ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์กับครอบครัวอื่นที่กำลังจะส่งลูกไปต่างประเทศในโครงการนักเรียนทุนแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม เช่นเดียวกันด้วยว่า จากประสบการณ์ที่ได้ส่งลูกๆ ได้ไปใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวอื่นที่เป็นชาวอเมริกัน สำหรับเด็กไทยจะไม่มีปัญหา หากเป็นเด็กชาติอื่นแล้วจะมีปัญหามากกว่า เพราะวัฒนธรรมไทยในเรื่องความอ่อนน้อมถ่อมตนกับผู้ใหญ่สำหรับเด็กไทยแล้ว เป็นที่ชื่นชอบของครอบครัวชาวอเมริกันมาก แต่ก็มิใช่ว่าเป็นเรื่องการฟังเขาทุกอย่างนะค่ะ เพราะ Host แต่ละครอบครัวก็จะไม่เหมือนกัน โดย Host จะเป็นคนคัดเลือกเรา ดังนั้น เราจะต้องให้รายละเอียดให้มากที่สุด ควรจะบอกนิสัย ความชอบ ไม่ชอบ และสิ่งต่างๆ ให้ละเอียด เพื่อให้ Host ได้รู้จักตัวตนที่แท้จริงของเรามากที่สุด ทุกคนจะอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
คุณแม่ สมพร ยังให้ความคิดเห็นด้วยว่า เมื่อโลกเปิดกว้างมากขึ้น ภาษาต้องมาก่อนเป็นอันดับหนึ่ง ส่วนเรื่องวิชาการคิดว่าเป็นอันดับ 2 การที่เราไม่ได้ภาษาเรียนแบบคนไทยๆ ธรรมดาๆ เพียงเท่านี้ลำบากแล้วค่ะ การเสริมสร้างความมั่นใจในการใช้ภาษา จะเป็นการเปิดโอกานที่มากกว่าในอนาคตได้อย่างดี ซึ่งคุณแม่มีการสอนลูกในเรื่องการดำเนินชีวิตโดยการให้เรียนรู้ความจริงด้วยเหตุผล เพราะทุกอย่างมีเหตุผล เด็กก็จะปรับตัวได้ง่าย ไม่ให้ใช้แต่อิโมชั่นนอล การให้เขาอยู่กับความเป็นจริง ก็จะทำให้เขาปรับตัวได้ง่ายกว่า
“ธิติธำรงกุล” ครอบครัว เลี้ยงลูกแบบคนไทยแท้
คุณแม่ “ศรัณญา ธิติธำรงกุล” ของน้อง มุก (ธัญธิญา ธิติธำรงกุล ) อายุ 17 ปี เป็นนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสายน้ำฝึ้ง ลูกสาวคนโตของครอบครัว มีประสบการณ์ไปเรียนที่ Davidson Academy School รัฐ Tennessee คุณแม่กล่าวว่า ปกติส่งให้น้องมุกเรียนหลายอย่าง ทั้งกีฬา ดนตรี ภาษาอังฤษ และจากการที่ไปเรียนภาษาที่ ECC ได้เห็นการประชาสัมพันธ์เรื่องโครงการนักเรียนทุนแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม น่าสนใจดี ลูกๆ ก็สนใจ จึงไปลองสอบ ซึ่งนอกจากจะสัมภาษณ์ลูกแล้ว เขายังจะสัมภาษณ์พ่อแม่ด้วย ซึ่งเมื่อมาคำนวณเรื่องความพร้อมในเรื่องค่าใช้จ่ายแล้ว ก็พอจะส่งให้ไปได้ และที่สำคัญคือ ตัวเขาเองก็อยากลองไปสัมผัสกับเขาด้วย
“ที่จริงแล้วเป็นห่วงเขามาก เพราะเราเลี้ยงลูกแบบเป็นคนไทยแท้ ครั้งนี้ก็เป็นครั้งแรกที่ปล่อย
ไป และคิดว่าเป็นการตัดสินใจที่ไม่ผิด คุ้มค่ามาก เพราะปกติน้องมุก เป็นเด็กที่ไม่ค่อยมีการปรับตัว แต่พอส่งไปแล้ว 3 เดือนแรกมีปัญหามาก เพราะน้องมุก เป็นคนที่ไม่ค่อยพูด ประกอบกับไปอยู่กับครอบครัวชาวอเมริกันที่ไปพักอาศัยอยู่ด้วยนั้น มีอาชีพเป็นนักขาย จึงมักจะเดินทางไปตามรัฐต่างๆ บ่อย ไม่ค่อยอยู่บ้าน จึงขอเปลี่ยน ครอบครัวพักอาศัยใหม่มาเป็นครองครัวที่เหมาะกับลูกมากขึ้น และได้ ครอบครัวที่มีการดูแลเด็ก ไปไหนไปกันทั้งครอบครัวมาช่วยดูแล”
สุดท้ายแล้ว ต้องขอบคุณครอบครัวชาวอเมริกันครอบครัวนี้อย่างมาก ที่เขาดูแลลูกของเราเหมือนกับลูกของเขา ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เหมือนกับตัวของคุณแม่ ทำให้พัฒนาการและการปรับตัวของน้องมุก ดีขึ้นมาก ๆ เลย
หลังจากกลับมากยิ่งมีการพัฒนาการที่ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ มีการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างอย่างชัดเจน ทั้งหนึ่งมีความรับผิดชอบมากขึ้น สองมีมนุษยสัมพันธ์ดีขึ้นมาก สามความมีระเบียบก็มีมากขึ้น สี่สามารภช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น กล้าคิดกล้าแสดงออกแตกต่างจากเมื่อก่อนจะขี้อาย ไม่ค่อยพูด และถ้ามีโอกาสอีกก็จะให้น้องมินท์ น้องสาวของน้องมุกไปด้วย จะดีมาก เพราะเห็นตัวอย่างทีดีอย่างนี้มาแล้ว สิ่งที่สอนน้องมุกเมื่อต้องไปอาศัยอยู่กับครอบครัวชาวอเมริกัน ก็คือ อย่าทำตัวมีปัญหาให้กับครอบครัวของเขา ต้องทำตัวแบบง่ายๆ พยายามปรับตัวให้เขากับสิ่งแวดล้อมของเขาให้ได้ เป็นเด็กดี สุภาพ อ่อนน้อม และต้องมีมนุษย์สัมพันธ์ดีด้วย อีกทั้งต้องประหยัด อนาคตอยากให้ลูกเรียนคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ ในสาขาที่เกี่ยวกับดนตรี ซึ่งได้ให้น้องมุกเรียนเปียนโนมาตั้งแต่เล็ก น้องมุกมีผลงานในโรงเรียนดนตรียามาฮ่าดี ทางโรงเรียนต้องการให้น้องมุกมาเป็นคุณครูสอนดนตรีให้กับเด็กเล็ก ขณะนี้ผ่านการอบรมของโรงเรียนดนตรียามาฮ่าแล้ว
ครอบครัว “อิทธิอนุวัตร์” บังคับให้เรียน เตรียมลูกตั้งแต่แรก
คุณ จิน (สุจินตนา อิทธิอนุวัตร์) คุณแม่ของน้อง แทน (รัชชพล อิทธิอนุวัตร์) อายุ 18 ปี ลูกชายคนที่สอง ภายหลังจากที่ลูกชายคนโตไปเรียนภาษาที่ต่างประเทศด้วยทุนของตัวเอง แล้วมีโอกาสที่สามารถอยู่ต่อได้ จึงให้อยู่ต่อ จึงอยากให้น้องแทน ลองมาสอบ ซึ่งน้องแทนเลือกที่จะมาสอบในโครงการนักเรียนทุนแลกเปลี่ยนกับทางศูนย์แนะแนวการศึกษาต่อต่างประเทศ EduWorld และสามารถสอบเข้าโครงการได้ ไปเรียนที่ Paisley High School รัฐ Oregon
“ก่อนหน้านั้น น้องแทน จะเป็นคนพูดไม่เก่ง ไม่กล้าพูด ขี้อาย และขี้กลัว แต่พอกลับมาสารพัดขี้ทั้งหลายที่มีอยู่ในตัวน้องแทนทิ้งหายไปหมด มีความเป็นตัวของตัวเอง กล้าแสดงออกมากขึ้น และทำให้ตัวเองมีความเชื่อมั่นในตัวลูกมากขึ้นด้วย ในการที่ลูกจะต้องไปสัมพันธ์กับคนอื่น ยอมรับค่ะ ว่า เป็นโอกาสที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับตัวเองได้อย่างมาก การได้สิ่งที่เรียกว่า ความเชื่อมั่นในตัวเองมานี้ มันคุ้มค่าได้มากกว่า เงินหาซื้อไม่ได้ ที่ยอมลงทุนตรงนี้ เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด ได้กลับมามากกว่า เป็นสิ่งที่เราจะสนับสนุนเขา”
ช่วงแรกก่อนที่น้องแทนจะเดินทางไป กลัวค่ะ ร้องไห้คิดถึงลูก 3 เดือน คนทั้งบ้าน ต่างผมลง คิดว่าเขาจะได้อะไรกลับมาบ้าง เขาจะเป็นอย่างไร จึงต้องมีการเตรียมตัวลูกก่อนที่จะเดินทาง ทั้งการพูดคุยเพื่อให้กำลังใจในการที่เขาเดินทางไป จะได้สิ่งใดที่สะท้อนกับมาบ้าง ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับเขาเตรียมตัวลูกก่อนเลย ให้คำแนะนำต้องทำตัวอย่างไร เมื่อต้องไปอยู่กับครอบครัวที่ไม่ใช่วัฒนธรรมเดียวกับเรา เห็นเขาทำงานอะไรอยู่ก็ช่วยเขาทำ อย่านิ่งดูดาย สงสัยอะไรก็ต้องสอบถาม รักตัวเอง เมื่อเห็นสิ่งใดที่เป็นสิ่งอบายมุข ก็ต้องเดินหนีออกมา ทำตัวให้น่ารัก พยายามเขากับเพื่อนๆ ให้ได้ ใช้ประสบการณ์จากลูกคนโตมาใช้กับลูกคนเล็ก
ภาษาอังกฤษของลูกก่อนไปอยู่ในระดับปานกลาง แต่ได้มีการเตรียมลูกตั้งแต่เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แรกๆ ต้องบังคับให้เรียน ทุกวันต้องพาไปเรียน สิ่งที่ได้คิดว่าไม่มากนัก คือ ได้ฟัง ตอนที่ส่งน้องแทนไปซัมเมอร์ที่สิงคโปร์ช่วง 2 เดือน ก็ไม่ได้หวังอะไรและคิดอะไรมากนัก
อนาคตด้านการศึกษาของเขานั้น ไม่จำเป็นต้องเรียนเก่ง แต่อยากให้เขาอยู่ในสังคมแล้วเอาตัวรอดได้ กล้าคิดกล้าทำ เชื่อมั่นในตัวเอง มีจิตใจที่ดี เป็นคนดี เก่งคิดดีกว่า คิดดีทำดีพูดดี จะอยู่ในสังคมได้ดีกว่า และสิ่งที่ไม่เคยละเลยคือ การดูแลเพื่อให้ได้ความใกล้ชิด ให้กำลังใจทุกครั้งที่ลูกมีปัญหา เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่น และ ต้องให้เขาคิดเป็น โดยที่เขาสามารถต่อยอดหรือสานต่อธุรกิจได้ ไม่ว่าจะการเป็นลูกจ้างหรือทำธุรกิจเล็กๆ
เปลี่ยนมุมมองเด็กยุคใหม่ ลบความคิดเดิมๆ
น้อง “โทนี่” หรือ ธนะเดช จตุรพรพิทักษ์ หนึ่งในดวงใจของคุณแม่ สาวิตรี และคุณพ่อ พิทักษ์ จตุรพรพิทักษ์ ปัจจุบันอายุ 19 ปี เรียนที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ คณะนิเทศศาสตร์ วางแผนอนาคตของตนเองว่า ต้องการไปเรียนต่อปริญญาโทที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในสาขาเดียวกัน เหตุผลที่ผลักดันตัวเองชิงทุนนักเรียนแลกเปลี่ยน เพราะว่าอยากเรียนรู้ประสบการณ์ชีวิตในสหรัฐอเมริกาว่าเป็นอย่างไร ที่นอกเหนือจากเมืองไทยมี และนับว่าเป็นผลมาจากการผลักดันกำลังสำคัญจากคุณพ่อและคุณแม่ โดยเฉพาะคุณพ่อจะผลักดันให้เรียนภาษาและฝึกฝนด้านภาษามาโดยตลอด ที่บ้านของโทนี่เองจะมีการพูดคุยกันเป็นภาษาอังกฤษกัน และทำมาตั้งแต่เด็กๆ
สิ่งที่ได้รับกลับมาจากประสบการณ์ครั้งนั้น คือ ทำให้มีความรับผิดชอบต่อตัวเองมากขึ้น มีความเป็นผู้ใหญ่ สามารถใช้ชิวิตคนเดียวได้อย่างมีความสุข เราไปเอาสำเนียงการพูดของเขาเพิ่มเติม และทำให้สำเนียงการออกเสียงและการพูดของเราดีขึ้นมาก เปลี่ยนความคิดเดิมๆ กล้าพูดคุยกับชาวต่างประเทศมากขึ้น เป็นประโยชน์อย่างมากโดยเฉพาะเด็กในสังคมยุคใหม่ ต้องมีความคิดเป็นตัวของตัวเอง ทำในสิ่งที่ถูกต้อง มีสามัญสำนึกที่ดีเป็นของตนเอง เป็นประสบการณ์ชีวิตที่สนุกมาก
ส่วนในสิ่งที่ไม่ดีจากประสบการณ์ที่ไปที่สหรัฐอเมริกา ของน้อง “โทนี่” บอกว่า สำหรับผมแล้วไม่เจอเลยครัว ถ้าพบเจอ ก็จะต้องแก้ไขปัญหาทันที แต่ทางที่ดีคือ เราเลี่ยงในสิ่งที่ไม่ดีดีกว่า เอาตัวรอดก่อนดีกว่า ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ใดก็ตาม
เล็งเห็นอนาคต ชีวิตนี้มีค่า รักประเทศไทยเพิ่มขึ้น
น้องจ๋า (ภิรติ วศินชัย) ปัจจุบันอายุ 17 ปี เรียนอยู่ที่โรงเรียนสายปัญญา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีประสบการณ์ไปเป็นนักเรียนทุนแลกเปลี่ยน ที่ North High School รัฐ Wisconsin กล่าวว่า กลับมาแล้วทำให้สามารถดูแลตัวเองได้ดีมาก ไม่ต้องให้คุณแม่ต้องมาเป็นห่วง ตอนที่ไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ต้องใช้ความอดทนมากๆ ระยะแรกๆ คิดถึงมาก นึกแต่ว่า เมื่อไหร่จะถึงเวลากลับบ้าน แต่มา ณ ปัจจุบันนี้ มามองย้อนกลับไปดูแล้ว ยอมรับค่ะว่า สิ่งที่ได้กลับมามีอะไรๆ ที่มากกว่ามาก ช่วยส่งเสริมอนาคตของเราได้ ทำให้เราเปิดโลกว้างขึ้น มีความคิดและแนวทางในการเลือกที่จะทำงานหรือเรียนต่อได้มากกว่า ซึ่งปกติคุณแม่ซึ่งทำธุรกิจนำเข้าเสื้อผ้า จะตามใจในสิ่งที่คุณแม่มองเห็นแล้วว่ามีประโยชน์ต่อตัวลูก
“ เป็นโอกาสที่ดี ที่ควรจะไขว่ขว้าอย่างมาก เพราะจากที่ได้สังเกตุ ชีวิตช่วงนี้ของวัยรุ่น มักจะเป็นชีวิตที่ไม่ค่อยมีอะไรมากนัก แทนที่ไปเดินที่ยวสยามสแควร์แล้วกลับบ้าน การได้ไปสัมผัสเช่นนี้ จะทำให้เห็นชีวิตที่มีค่ามากขึ้น สำหรับการมองประเทศไทยก่อนที่จะไปร่วมในโครงการนักเรียนทุนแลกเปลี่ยนนี้ เป็นสิ่งที่ตัวเองมองแล้วเห็นว่า เป็นอะไรที่น่าเบื่อมาก แต่พอกลับมา กลับรักประเทศไทยมากขึ้น เป็นลูกกตัญญูกับคุณแม่มากขึ้น เพราะด้วยความที่นั่นไม่ใช่เมืองไทย ทำให้ต้องช่วยเหลือตัวเองอย่างมาก ความอบอุ่นจะมีน้อย ที่ประเทศไทยของเรามีความอบอุ่น
ดาวเด่นใช้ชีวิตในเมืองนอกแบบประหยัดสุดๆ
น้อง เอก (ธีรพงศ์ นภาพงษ์จันทรา) ปัจจุบันอายุ 18 ปี ปัจจุบันเรียนอยู่ที่โรงเรียนทิวไผ่งาม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้มีประสบการณ์ในการเป็นนักเรียนทุนแลกเปลี่ยนของมูลนิธิ Aspect Foundation ไปเรียนที่ Anderson High School ตั้งอยู่ที่รัฐ Indiana ซึ่งน้องเอกจะเป็นผู้ที่มาเล่าประสบการณ์ให้น้องๆ รุ่นใหม่ๆ ฟังถึงเรื่องการใช้เงินอย่างประหยัดเมื่อไปเรียนอยู่ที่สหรัฐ เพราะเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่า เก่งในเรื่องการประหยัดค่าใช้จ่ายอย่างมาก ซึ่งมีคุณพ่อเป็นเจ้าของโรงกลึง คุณแม่เปิดร้านขายเครื่องสำอาง
นอกเหนือจากที่ทางองค์กรระหว่างประเทศที่ให้ทุนการศึกษาส่วนหนึ่งแล้ว ทางเราเองก็จะต้องเตรียมเงินไว้เป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวในต่างประเทศด้วย ถึงแม้ว่าเราจะพักอาศัยอยู่กับครอบครัวชาวอเมริกันก็ตาม โดยทางศูนย์แนะแนวการศึกษาต่อต่างประเทศ EduWorld จะเป็นผู้คอยให้คำแนะนำและดูแลในการใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศ โดยในสภาวะนั้น เราต้องเตรียมเงินไว้ประมาณ 200 เหรียญต่อเดือน
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ