บีเอ็มดับบลิวเดินหน้าลงทุนในไทยตั้งโรงงานประกอบใหม่ พร้อมพัฒนาการกระจายสินค้าและบริการ

ข่าวทั่วไป Tuesday October 6, 1998 14:57 —ThaiPR.net

กรุงเทพ--6 ต.ค.--BMW
กลุ่มบีเอ็มดับบลิวของเยอรมันจะตั้งโรงงานผลิตแห่งใหม่ในประเทศไทย เพื่อประกอบรถยนต์บีเอ็มดับบลิว และโรเวอร์สำหรับตลาดในประเทศไทย กลุ่มบีเอ็มดับบลิวประกาศอย่างเป็นทางการในวันนี้ว่าได้จัดตั้งบริษัทใหม่ เพื่อดำเนินธุริจในประเทศไทย คือ บีเอ็มดับบลิวแมนู แฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อรับผิดชอบด้านโรงงานประกอบและบริษัท บายเยอริชเช่อ โมโทเรน แวคร์เค่อ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อดำเนินงานด้านการตลาด โดยบริษัททั้งสองจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการ โดยได้มีพิธีเปิดที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2541
โรงงานแห่งใหม่จะตั้งอยู่ที่ นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ในเขตพื้นที่พัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศไทย ซึ่งจะเริ่มดำเนินงานก่อสร้างในอีก 2-3 สัปดาห์ ใช้เงินลงทุนขั้นแรกมากกว่า 1,000,000,000 บาท (หรือกว่า 43 ล้านมาร์คเยอรมัน) โดยโรงงานที่สร้างขึ้นนี้จะทำหน้าที่ประกอบรถยนต์ บีเอ็มดับบลิว แลนด์โรเวอร์ และโรเวอร์ และจะเริ่มดำเนินการผลิตได้ในช่วงต้นปี 2543 เป็นปีแรก โรงงานประกอบรถยนต์แห่งนี้จะทำให้มีการจ้างพนักงานขั้นต้น 250 คนและภายในปี 2547 จะสามารถเพิ่มสมรรถนะการประกอบรถได้ถึง 10,000 คัน และจะมีว่าจ้างพนักงานรวมกันถึง 500-600 คน
บีเอ็มดับบลิวจะยังคงรักษาความสัมพันธ์ และประกันธุรกิจที่ยาวนานกับหุ้นส่วนของกลุ่มบีเอ็มดับบลิวในประเทศไทยนั่นคือ กลุ่มลีนุตพงษ์สำหรับรถบีเอ็มดับบลิว และกลุ่มเผอิญโชค สำหรับโรเวอร์ ดังนั้นจึงมีการวางแผนว่า บริษัท บีเอ็มดับบลิว แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด จะเป็นแหล่งประกอบรถจากโครงตัวถังที่พ่นสีแล้ว จากโรงงานผลิตแต่ละแห่งของทั้งสองกลุ่ม ในอดีตหุ้นส่วนทั้งสองได้ลงทุนจำนวนมาก ในอุปกรณ์เครื่องจักรเหล่านี้ เพื่อให้สอดคล้องกับคุณภาพมาตรฐานบองบีเอ็มดับบลิวทั่วโลกพร้อม ๆ ไปกับการจัดส่งชิ้นส่วน และส่วนประกอบเพิ่มเติมจากบริษัทต่าง ๆ ของไทย การลงทุนของบีเอ็มดับบลิวในประเทศไทยจะให้งานที่มั่นคงแก่พนักงานเพิ่มเติมอีก 500-600 คน "การตัดสินใจสำหรับการตั้งโรงงานนี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า กลยุทธ์ระยะยาวของบริษัทไม่ควรจะถือตามบรรยากาศเศรษฐกิจในปัจจุบัน หรือระดับต้นทุนต่ำชั่วคราว การก่อตั้งโรงงานผลิตเป็นการลงทุนระยะยาวเสมอ" ดร. วอล์ฟกัง ไรท์เลอร์ กรรมการบริหารสายการตลาดและผลิตภัณฑ์ บีเอ็มดับบลิว เอจี กล่าว
ดร.วอล์ฟกัง ไรท์เลอร์ กล่าวเพิ่มเติมว่าที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทย และโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานที่วางแผนไว้หรือแล้วเสร็จสมบูรณ์ ทำให้ประเทศไทยเป็นที่ตั้งที่ดีเลิศสำหรับโรงงานประกอบรถยนต์ ซึ่งก็หมายความว่าจะเป็นการรองรับ ทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และบีเอ็มดับบลิวมีกลยุทธ์ที่ชัดเจนเพื่อใช้ข้อดีนี้
บีเอ็มดับบลิวมีจุดประสงค์ที่จะส่งออกผลิตภัณฑ์ ไปยังประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้จากโรงงานผลิตแห่งใหม่ในประเทศไทย แต่ก่อนที่บริษัทจะเริ่มขั้นตอนที่สองนี้ได้ต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาลของประเทศในภูมิภาคนี้ด้วย ว่าจะต้องสร้างสภาพแวดล้อมการเมือง และการค้าที่เชิญชวน ทุกวันนี้โครงการทางเศรษฐกิจและกฎหมายของประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนมากจะยืดถือตามวิธีการที่ค่อนข้างจะชาตินิยม รวมทั้งสร้างอุปสรรคขัดขวางอย่างสูงต่อการนำเข้า ฉะนั้นจึงยังไม่มีความเหมาะสมในทางเศรษฐกิจที่โรงงานแห่งใหม่ในประเทศไทยนี้จะส่งไปยังประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคนี้ แต่อย่างไรก็ตามบีเอ็มดับบลิวจะมาประกอบรถยนต์ในประเทศไทยเพื่อส่งไปยังประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคนี้ แต่อย่างไรก็ตามลักษณะเช่นนี้จะเปลี่ยนไปทันที ถ้าประเทศกลุ่มอาเซียน (ASEAN) จะดำเนินการตามข้อตกลงอาฟต้า (AFTA) ที่ได้มีการเสนอและอภิปรายร่วมกันหลายครั้ง การเกิดขึ้นมาของตลาดเดียวใน "อาเซียน" จะให้ทั้งพื้นฐานที่แข็งแกร่ง เพื่อการดำเนินการของบีเอ็มดับบลิว ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และ ยังให้แรงจูงใจเพื่อบริษัทระดับโลกอื่น ๆ ให้มาลงทุนในภูมิภาคนี้ บีเอ็มดับบลิวได้คาดการณ์ไว้แล้วว่ามีทางเป็นไปได้ที่จะเกิดเขตการค้าเสรี ในแผนการลงทุนของบีเอ็มดับบลิวในประเทศไทย บีเอ็มดับบลิว จึงได้ซื้อที่ดินถัดไปจากสถานที่ตั้งโรงงานของบีเอ็มดับบลิว ในเขตพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออกโดยถือเป็นส่วนหนึ่งของการขยายตัวในอนาคต ซึ่งบีเอ็มดับบลิวจะต้องมีการลงทุนเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตและสร้างงานมากขึ้นในประเทศไทย
ดร.ไรท์เลอร์ กล่าวอย่างชัดเจนว่า "โครงการเศรษฐกิจที่อิสระและเปิดกว้างในเอเซียตะวันออกเฉียงใจะเป็นส่วนที่เอื้ออำนวยให้บีเอ็มดับบลิวขยายโรงงานผลิตใหม่ในประเทศไทยในอนาคตอันใกล้นี้--จบ--

แท็ก เยอรมัน  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ