กรุงเทพฯ--4 ก.พ.--เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เผยแผนการพัฒนาสถาบัน สู่การเป็นสถาบันชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 1 ใน 10 ของภูมิภาคอาเซียน สอดรับกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่กำลังใกล้เข้ามา มุ่งบรรลุพันธกิจทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ “การพัฒนาและเพิ่มเติมหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อรองรับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมทั้งในและต่างประเทศ” และ “การบริการวิชาการและถ่ายทอดองค์ความรู้สู่สังคมเพื่อช่วยพัฒนาและแก้ไขปัญหาของชุมชน สังคมและประเทศชาติ” พร้อมเผยแผนงบประมาณ ประจำปี พ.ศ.2558 รวมกว่า 1,789 ล้านบาท สู่การลงทุนโครงการMega Project ตอกย้ำสถาบันชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย อันได้แก่“โครงการก่อสร้าง” อาทิ KMITL Convention Hall หอประชุมใหญ่ 5000ที่นั่ง การก่อสร้างทางเดิน sky walk , อาคารเรียนรวมและปฏิบัติการคณะครุศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ “การจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการศึกษา”อาทิ เครื่องเอ็กซ์เรย์ดิฟแฟรกชัน (X-ray Diffraction)เครื่องแก๊สโครมาโทรกราฟ-แมสสเป็กโทรมิเตอร์ ) ระบบไฟสตูดิโอถ่ายทำภาพยนตร์ ห้องปฏิบัติการทางภาษา“โครงการวิจัย”อาทิ โครงการการประยุกต์ใช้เซ็นเซอร์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่สำหรับระบบข้อมูลจราจรแบบไม่พึ่งพา โครงการการวางผังพื้นที่ผลิตพืชอาหารบริเวณชุมชนเมืองกรุงเทพฯและปริมณฑล และโครงการการพัฒนาการตรวจจับการเคลื่อนไหว 3 มิติ เพื่อควบคุมหุ่นยนต์กู้ภัย เพื่อใช้ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้“ทุนการศึกษาและบริการวิชาการ”อาทิ ทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนขาดแคลนกว่า 900 ทุน ทุนต่อเนื่องเรียนฟรีตลอด 4 ปี พร้อมว่าใช้จ่ายส่วนตัว ทุนเรียนดีสำหรับนักศึกษาที่มีผลการเรียนโดดเด่นทุนพัฒนาคุณภาพทางวิชาการของนักศึกษา อาจารย์ ฯลฯสำหรับนักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครองและประชาชนทั่วไป สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หมายเลขโทรศัพท์ 02-329-8111 หรือเข้าไปที่www.kmitl.ac.thศาสตราจารย์ ดร. โมไนย ไกรฤกษ์ รักษาการแทนอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังกล่าวว่า เป้าหมายที่สำคัญของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในปี พ.ศ. 2558 คือการยกระดับสถาบันไปสู่การเป็นสถาบันการศึกษาอันดับหนึ่งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีจุดเด่นในด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศ ภายใต้แนวคิด “รากฐานนวัตกรรมสร้างชาติ:The Nation of Innovation” ซึ่งหมายถึง การเป็นสถาบันที่ไม่ได้มุ่งผลิตนักศึกษาให้มีความเชี่ยวชาญทางสาขาวิชาชีพของตนเท่านั้น แต่เราต้องการพัฒนาทั้งอาจารย์ บุคลากรและผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ในเชิงบูรณาการโดยจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญทั้งในสาขาวิชาของตน และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ของตนในการคิดค้นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศชาติอย่างสูงสุดควบคู่กันไป ผ่านการใช้กลยุทธ์การดำเนินงานเพื่อพัฒนาสถาบันตลอดจนการกำหนดวิสัยทัศน์ให้สอดรับกับการปรับเปลี่ยนเชิงสังคมในระดับภูมิภาค โดยมุ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนามาตรฐานการศึกษา บุคลากร และการวิจัยค้นคว้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะได้เป็น 1 ใน 10 สถาบันอุดมศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของภูมิภาคอาเซียน ในปี พ.ศ.2563 ใน 3 แนวทางหลัก ได้แก่1. “การร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาชั้นนำทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับโลก”การทำวิจัยร่วม การจัดประชุมวิชาการในระดับนานาชาติ ตลอดจนการจัดโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมสำหรับอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรของสถาบันฯ ได้เห็นต้นแบบระบบการศึกษาจากต่างชาติ ได้เรียนรู้ในวิชาต่างๆ ที่ในประเทศไทยยังไม่มีการเปิดสอน และได้เปิดประสบการณ์ใหม่ๆ ที่สามารถนำมาต่อยอดในการพัฒนาหลักสูตรหรือการสร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ พร้อมกับการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมไปด้วย ปัจจุบัน สจล. มีการร่วมมือกับสถาบันการศึกษาชั้นนำกว่า 20 สถาบัน อาทิการแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตร์การอาหารและหลักสูตรเทคโนโลยีการจัดและบริการอาหารระหว่างคณะอุตสาหกรรมเกษตรกับมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติปิงตุง และมหาวิทยาลัยหยวนเป่ย ไต้หวันการร่วมมือกันระหว่างวิทยาลัยนานาชาติกับมหาวิทยาลัยกลาสโกว์สหราชอาณาจักร ในการพัฒนาหลักสูตรทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท และความร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นในการแลกเปลี่ยนนักศึกษา และอาจารย์ เป็นต้นอย่างไรก็ตามทางสถาบันฯ มุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในประเทศอาเซียนต่อไปในอนาคต เพื่อพัฒนาบุคลากรและนักศึกษาให้มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับในระดับภูมิภาค ตลอดจนระดับโลก2. “การพัฒนาและเพิ่มเติมหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อรองรับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมทั้งในและต่างประเทศ” โดยปัจจุบันสถาบันฯเปิดสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก มีทั้งหลักสูตรทั่วไปและหลักสูตรภาคสมทบกว่า 60 หลักสูตร ประกอบด้วยคณะทั้งหมด 7 คณะ 4 วิทยาลัยและมีอีกหนึ่งวิทยาเขตอยู่ในจังหวัดชุมพร และมีนักศึกษาทุกสาขาวิชาและระดับการศึกษาประมาณ 23,000 คน ซึ่งจำนวนนักศึกษามีแนวโน้มเพิ่มจำนวนขึ้นทุกปีเนื่องจากการเพิ่มจำนวนของหลักสูตรต่างๆในแต่ละคณะ และได้เล็งเห็นปัญหาว่า ขณะนี้ ประเทศไทยยังขาดบุคลากรในหลายสาขาอาชีพ อาทิ สถาปนิกซอฟต์แวร์และนักพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ และโทรศัพท์มือถือ ฯลฯจึงได้มีการเพิ่มหลักสูตรวิชาต่างๆ ของสถาบันฯ อาทิ การเปิดหลักสูตรวิศวกรรมซอฟต์แวร์สำหรับระบบเคลื่อนที่ (Mobile Software Engineering)ของวิทยาลัยนานาชาติ เพื่อรองรับปัญหาด้านการขาดแคลนบุคลากรในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทยเนื่องจากปัจจุบันอุปกรณ์เหล่านี้ได้กลายเป็นสิ่งที่คนทั่วโลกต่างมีความต้องการ แต่บุคลากรที่ประกอบอาชีพทางด้านนี้ยังมีค่อนข้างน้อย นอกจากนี้ ยังมีการร่างหลักสูตรใหม่ที่คาดว่าจะเปิดสอนในอนาคต ได้แก่ หลักสูตรสถาปัตยกรรมชุมชน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และหลักสูตรนาโนอิเลคทรอนิกส์ วิทยาลัยนาโนเทคโนโลยี เป็นต้นซึ่งสถาบันฯ มุ่งหวังว่า การเปิดหลักสูตรใหม่เหล่านี้จะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถของบัณฑิตให้พร้อมสำหรับการแข่งขันในตลาดแรงงานของประชาคมอาเซียนและนานาประเทศ3. “การบริการวิชาการและถ่ายทอดองค์ความรู้สู่สังคมเพื่อช่วยพัฒนาและแก้ไขปัญหาของชุมชน สังคมและประเทศชาติ” โดยสถาบันฯ มีเป้าหมายให้อาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษานำความรู้ ทักษะ และความสามารถในศาสตร์ต่างๆมาใช้ร่วมกับนวัตกรรมที่ทันสมัย พร้อมทั้งสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับสังคม เพื่อให้เกิดการพัฒนางานวิจัยอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมในอนาคต โดยในปี 2557 นี้ สถาบันฯ จะมีการจัดโครงการเพื่อสังคมในรูปแบบต่างๆ โดยร่วมมือกับหน่วยงานรัฐและภาคเอกชนจากภายนอกกว่า 100 โครงการ อาทิ โครงการจัดอบรมสมรรถนะของครูเพื่อต่ออายุใบประกอบวิชาชีพ ซึ่งคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมได้ทำร่วมกับคุรุสภา โครงการออกแบบและพัฒนาพื้นที่ชุมชนมาบเอื้อง เพื่อการพัฒนาที่ดินทางการเกษตรอย่างยั่งยืน ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ เป็นต้นทั้งนี้สำหรับปีงบประมาณ 2558 ทางสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ได้รับงบประมาณจากรัฐบาลสนับสนุน ทั้งสิ้น 1,789.3604 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมศักยภาพการเรียนการสอนในฐานะสถาบันชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยในด้านต่างๆ ได้แก่· แผนงานขยายโอกาสและพัฒนาคุณภาพการศึกษาอันได้แก่ค่าที่ดิน-ค่าก่อสร้าง สำหรับขยายพื้นที่อาคารเรียนและปฏิบัติการเทคโนโลยี อาทิ อาคารเรียนรวมและปฏิบัติการคณะครุศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และวิทยาเขตชุมพรฯ โครงการก่อสร้างทางเดิน sky walk , KMITL Convention Hall หอประชุมใหญ่ 5000ที่นั่งค่าครุภัณฑ์ ค่าวัสดุการศึกษา อาทิ เครื่องเอ็กซ์เรย์ดิฟแฟรกชัน (X-ray Diffraction) เครื่องแก๊สโครมาโทรกราฟ-แมสสเป็กโทรมิเตอร์ ถังปฏิกรณ์ชีวภาพพร้อมชุดควบคุมอัตโนมัติ (Fermentor) ระบบไฟสตูดิโอถ่ายทำภาพยนตร์ พร้อมอุปกรณ์ และห้องปฏิบัติการทางภาษาค่าใช้จ่ายบุคลากร ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน เงินอุดหนุนนักศึกษา ทุนการศึกษาและบริการวิชาการ อาทิ ทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนขาดแคลนกว่า 900 ทุน ทุนต่อเนื่องเรียนฟรีตลอด 4 ปี พร้อมว่าใช้จ่าย ทุนเรียนดีสำหรับนักศึกษาที่มีผลการเรียนโดดเด่นทุนพัฒนาคุณภาพทางวิชาการของนักศึกษา อาจารย์ ฯลฯ· แผนงานส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา รวมโครงการวิจัยจำนวน 79 โครงการ อาทิ โครงการการประยุกต์ใช้เซ็นเซอร์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่สำหรับระบบข้อมูลจราจรแบบไม่พึ่งพา โครงการการวางผังพื้นที่ผลิตพืชอาหารบริเวณชุมชนเมืองกรุงเทพฯและปริมณฑล และโครงการการพัฒนาการตรวจจับการเคลื่อนไหว 3 มิติ เพื่อควบคุมหุ่นยนต์กู้ภัย เพื่อใช้ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น· แผนงานดำเนินการตามกรอบข้อตกลงของประชาคมอาเซียน และแผนงานอนุรักษ์ ส่งเสริม และพัฒนาศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม อาทิ โครงการพิเศษของนักศึกษา โครงการชมรมต่างๆ โครงการส่งเสริมภาษาอังกฤษ ภาษาต่างๆนอาเซียนนอกจากสถาบันจะมีงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลแล้ว สถาบันยังมีเงินรายได้ของสถาบันเองสบทบอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งทำให้สถาบัน มีการพัฒนาองค์ความรู้และถ่ายทอดไปยังสังคมอยู่เสมอ ตลอดจนผลิตบุคลากรทางการศึกษาที่มีศักยภาพสู่วงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยอย่างเต็มกำลัง ซึ่งสามารถการันตีคุณภาพได้ จากการได้รับรางวัลเป็นจำนวนมากของนักศึกษา อาทิ รางวัลอันดับ 1 รถแข่งประหยัดพลังงานจากการแข่งขัน TSAE Auto Challenge 2014-2015 Student Formula,รางวัลการนำเสนอยอดเยี่ยมจากการประชุมวิชาการ 2014 Thailand-Japan Microwave (TJMW2014) จัดโดย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังกับ IEICE Technical Committee และ รางวัลผู้ชนะเลิศการเวิร์คช็อปภายใต้หัวข้อ “How to protect villages from flash flood” จากการประชุมนานาชาติ The 21st Tri-University international Joint Seminar & Symposium 2014 (Tri-U 2014) เป็นต้น รวมถึงการได้รับรางวัลและทุนของบุคลากร เป็นจำนวนมาก อาทิ ทุนโครงการแลกเปลี่ยนทางการศึกษาระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศไทย “Fulbright Thai Visiting Scholar Program” (TVS 2015), รางวัลนักวิจัยยอดเยี่ยมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก “ASPIRE Prize 2014” (APEC Science Prize for Innovation, Research and Education)และรางวัลการพัฒนานวัตกรรม “Leading Innovation Award” จาก International Intellectual Property Network Forum (IIPNF)2014 เป็นต้น ทั้งนี้ สถาบันฯ มีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ทุกก้าวเดินไปข้างหน้าของสถาบัน มีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติอย่างยั่งยืนสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำในประเทศไทย เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ยาวนาน และยังคงยึดมั่นสู่เป้าหมายในการผลิตกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาที่ขาดแคลนเพื่อตอบสนองต่อความต้องการในการพัฒนาประเทศเป็นสำคัญ ตลอดจนการวิจัย เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ และสร้างนวัตกรรมที่จะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นและภูมิภาคองค์รวม อย่างไรก็ตาม การผลิตบัณฑิตและบุคลากรที่มีคุณภาพ จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมควบคู่ไปด้วย ซึ่งทางสถาบันฯได้มีการปลูกฝังค่านิยมการดำรงตนเป็นคนดีให้กับนักศึกษามาโดยตลอด ให้ตระหนักถึงบรรทัดฐานของสังคมรวมถึงรู้จักอนุรักษ์ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอันดีของชาติ เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษาได้นำคุณธรรม มีจริยธรรม ไปปรับใช้ในการดำรงชีวิตในอนาคต อันสอดรับกับแนวคิดการเป็นรากฐานนวัตกรรมสร้างชาติ ที่ทางสถาบันฯเน้นย้ำเสมอมา ศาสตราจารย์ ดร.โมไนย กล่าวสรุปสำหรับนักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครองและประชาชนทั่วไป สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หมายเลขโทรศัพท์ 02-329-8111 หรือเข้าไปที่www.kmitl.ac.th