สวนดุสิตสรุปโพล หัวอก "แรงงานไทย"

ข่าวทั่วไป Tuesday May 6, 1997 17:35 —ThaiPR.net

กรุงเทพ--6 พ.ค.--สวนดุสิตโพล
ผู้รับผิดชอบ - "สวนดุสิตโพล" สถาบันราชภัฏสวนดุสิต
- ผศ.ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน อธิการบดี ที่ปรึกษา
- ผศ.ชัยศิลป์ ทหราวนิช รองอธิการบดี ที่ปรึกษา
- ผศ.สุขุม เฉลยทรัพย์ รองอธิการบดี ประธานดำเนินงาน
- นักศึกษาสารนิเทศศาสตร์ จำนวน 410 คน คณะทำงาน
ลักษณะการสำรวจ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research)
ความสำคัญในการสำรวจ
"แรงงานไทย" บุคลากรสาขาวิชาชีพสาขาหนึ่งที่มีความจำเป็นและสำคัญต่อ "สังคม-ไทย"
ไม่น้อยกว่าสาขาวิชาชีพอื่น แม้ว่าความสำคัญของชนกลุ่มนี้จะมีบทบาทที่โดดเด่นเป็นส่วนหนึ่ง ใน
การสร้างสังคม โดยเฉพาะ "การทุ่มเทแรงงาน" เพื่อความอยู่รอดของตนเองและสังคม ในความยากลำ
บากของ "แรงงานไทย" ดังกล่าวดูจะเป็นวิถีชีวิตที่สืบทอดยาวนาน ดังนั้นในวาระที่ "วันแรงงาน"
เวียนมาครบรอบอีกปีหนึ่ง "สวนดุสิตโพล" จึงได้สะท้อนชีวิตของ "แรงงานไทย" ออกมาในรูปแบบของ
"ปัญหา" และ "แนวทางในการแก้ไขปัญหา" เพื่อความเป็นสุขในการใช้ชีวิตร่วมกันใน "สังคมไทย"
เครื่องมือในการสำรวจ แบบสอบถามแบบเลือกตอบและเติมข้อความจำนวน 5 ประเด็น
ช่วงเวลาในการสำรวจ 10-29 เมษายน 2540
กลุ่มตัวอย่าง ผู้ประกอบอาชีพ "ใช้แรงงาน" ทั่วประเทศ จำนวน 3,279 คน
สถานภาพของกลุ่มตัวอย่าง
* กลุ่มตัวอย่างจำนวน 3,279 คน จำแนกได้ดังนี้
1. เพศ
- ชาย 1,746 คน 53.25%
- หญิง 1,533 คน 46.75%
2. การศึกษา
- ต่ำกว่ามัธยมศึกษา 2,197 คน 67.00%
- ปวช., ปวส., อนุปริญญา 1,035 คน 31.56%
- ปริญญาตรีและสูงกว่า 47 คน 1.44%
3. อาชีพ
- ชาวนา/ชาวไร่/ชาวสวน 438 คน 13.36%
- ทำงานในโรงงาน 532 คน 16.22%
- ก่อสร้าง 538 คน 16.41%
- รับจ้าง 1,649 คน 50.29%
- อื่นๆ 122 คน 3.72%
สรุปผลการสำรวจ
1. รายได้-รายจ่ายของ "แรงงานไทย" ปัจจุบัน ชาย หญิง เฉลี่ย
- มีพอกินพอใช้ 20.46 23.00 21.73
- มีพอใช้และเหลือเก็บ 11.00 12.71 11.86
- ไม่พอใช้ 39.23 40.25 39.74
- ไม่พอใช้และเป็นหนี้ 29.31 24.04 26.67
2. ทุกวันนี้ผู้ใช้แรงงาน "ยากลำบาก" หรือไม่? ชาย หญิง เฉลี่ย
*ลำบาก 50.09 70.28 60.19
*เรื่องที่ลำบากคือ รายได้น้อยกว่ารายจ่าย, ถูกเอารัดเอาเปรียบ, หนี้สินมาก, สินค้าราคา
แพง ฯลฯ
*ไม่ลำบาก 49.91 29.72 39.81
*เพราะ พอใจเท่าที่มีอยู่, ใช้จ่ายอย่างประหยัด, มีครอบครัวอบอุ่น, ไม่มีภาระรับผิดชอบ ฯลฯ
3. "แรงงานไทย" เคย "ท้อแท้" หรือ "หมดหวังในชีวิต" หรือไม่? ชาย หญิง เฉลี่ย
* เคย 56.57 58.43 57.50
* เพราะ ไม่ประสบผลสำเร็จในชีวิต, พบแต่อุปสรรคมีปัญหามาก, รายได้ไม่พอใช้จ่าย ฯลฯ
* ไม่เคย 43.43 41.57 42.50
* เพราะ มีความมานะอดทน /ต่อสู้ชีวิต, พอใจในสิ่งที่มีอยู่, สามารถแก้ปัญหาได้ ฯลฯ
4. "แรงงานไทย" ตั้งความหวังไว้ในอนาคตข้างหน้าอย่างไรบ้าง? ชาย หญิง เฉลี่ย
* ตั้งความหวังไว้ 70.39 83.44 76.92
* คือ มีความหวังเป็นอยู่ที่ดีกว่าปัจจุบัน, มีครอบครัวที่อบอุ่น, มีกิจการเป็นของตนเอง, มีงาน
และการศึกษาที่ดี, มีที่พักอาศัยมั่นคงฯลฯ
* อยู่ไปวันๆ ไม่ได้ตั้งความหวังอะไร 29.61 16.56 23.08
* เพราะ พอใจเท่าที่มีอยู่, ไม่มีภาระต้องรับผิดชอบ, เรียนน้อย/ไม่มีความรู้, ไม่มี
ความหวังในชีวิต
5. "แรงงานไทย" ต้องการ "ความช่วยเหลือ" ดังนี้
- ความช่วยเหลือจาก "รัฐบาล" ชาย หญิง เฉลี่ย
อันดับที่ 1 ช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจ, ควบคุมราคาสินค้า 52.21 44.06 48.13
อันดับที่ 2 เพิ่มเงินเดือน/ค่าจ้าง/สวัสดิการให้ดีขึ้น 36.39 45.46 40.93
อันดับที่ 3 ทำงานเพื่อประเทศชาติอย่างจริงจัง 5.38 4.18 4.78
อันดับที่ 4 ช่วยเหลือด้านการศึกษา/เพิ่มที่เรียน 3.01 3.15 3.08
* อื่นๆ เช่น ความปลอดภัยในชีวิต ฯลฯ 3.01 3.15 3.08
- ความช่วยเหลือจาก "ฝ่ายค้าน" ชาย หญิง เฉลี่ย
อันดับที่ 1 ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลอย่างจริงจัง 53.49 66.80 60.15
อันดับที่ 2 สามัคคีกัน 32.56 15.02 23.79
อันดับที่ 3 ดูแลผลประโยชน์ของประชาชน 13.95 18.18 16.06
- ความช่วยเหลือจาก "นายจ้าง" ชาย หญิง เฉลี่ย
อันดับที่ 1 เพิ่มเงินเดือน/ค่าจ้าง/สวัสดิการให้ดีขึ้น 45.82 53.79 49.81
อันดับที่ 2 ความเสมอภาค/ความยุติธรรม 18.14 22.04 21.09
อันดับที่ 3 ความปลอดภัยในการทำงาน 16.95 12.16 14.55
อันดับที่ 4 สร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน 14.56 10.01 12.29
อันดับที่ 5 มีเครื่องมือพร้อมและทันสมัย 4.53 - 2.26
- ความช่วยเหลือจาก "สังคมไทย" ชาย หญิง เฉลี่ย
อันดับที่ 1 ความช่วยเหลือเกื้อกูล/ความมีน้ำใจ 37.86 45.71 41.79
อันดับที่ 2 ความไม่เห็นแก่ตัว 20.06 27.29 23.67
อันดับที่ 3 ความสงบสุข/ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 28.16 11.84 20.00
อันดับที่ 4 ความเสมอภาค/ความยุติธรรม 8.74 7.58 8.16
อันดับที่ 5 ความสามัคคี 5.18 7.58 6.38
--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ