กรุงเทพฯ--12 ก.พ.--เวเบอร์ แชนด์วิค
MasterCard Index ชี้ พม่า อินเดีย และอินโดนีเซีย ครองแชมป์ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ในตลาดเอเชียตะวันออกเชียงเหนือ ในขณะที่ไต้หวัน ญี่ปุ่น และฮ่องกง ลดฮวบ
การสำรวจล่าสุดเกี่ยวกับความเชื่อมั่นผู้บริโภค โดย MasterCard Index ระบุว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในตลาดเกิดใหม่ในเอเชียแปซิฟิกยังคงอยู่ในเชิงบวก ในขณะที่ ความเชื่อมั่นโดยรวมของภูมิภาคนี้ลดลง ซึ่งการลดลงครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากที่การสำรวจครั้งก่อน (ครึ่งแรกของปี 2557) ระบุว่าความเชื่อมั่นในภูมิภาคนี้ มีอัตราสูงที่สุดมานานกว่า 10 ปี การเปิดเผยโดย MasterCard Index นี้เป็นผลจากการสำรวจในช่วงตุลาคม ถึงพฤศจิกายน 2557 โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 8,235 คน อายุระหว่าง 18-64 ปี จาก 16 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และเป็นการสำรวจครั้งที่ 44 นับตั้งแต่เริ่มมีการสำรวจเมื่อปี 2536
ผู้ตอบแบบสอบถามจะถูกถามคำถาม 5 ข้อที่เกี่ยวกับปัจจัยทางเศรษฐกิจในช่วง 6 เดือนข้างหน้า อาทิ สภาวะเศรษฐกิจ การจ้างงาน รายได้ประจำ ตลาดหุ้น และคุณภาพชีวิต โดยคะแนนจากทั้ง 5 ตัวชี้วัด จะมีคะแนนอยู่ในช่วงระหว่าง 0-100 โดยค่า 0 แสดงทัศนคติด้านลบที่สุด ค่า 100 จะหมายถึงมุมมองด้านบวกที่สุด ส่วน 50 คือผลที่เป็นกลาง ทั้งนี้ผลสำรวจและรายงานประกอบต่างๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับผลการดำเนินงานการทางการเงินของมาสเตอร์การ์ดทั้งสิ้น
ประเด็นสำคัญในแต่ละประเทศ
- บังกลาเทศเป็นประเทศเดียวที่มีการพัฒนามากที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ทำให้ย้ายบังกลาเทศจากกลุ่มที่มีความเชื่อมั่นด้านบวกมาอยู่ในกลุ่มที่มีทัศนคติด้านบวกที่สุดด้วยดัชนีที่ 83.3 จุด เพิ่มขึ้น 16.9 จุด จึงทำให้บังกลาเทศเป็นตลาดเดียวที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคาเพิ่มขึ้นระดับสองจุด
- พม่า อินเดีย และอินโดนีเชีย เป็นกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่มีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคมากที่สุด โดยดัชนีอยู่ที่ 97.2 จุด 01.6 จุด และ 90.1 จุด ตามลำดับ
- ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในประเทศฟิลิปปินส์ เพิ่มขึ้น 7.7 จุด จึงทำให้ประเทศฟิลิปปินส์อยู่ในกลุ่มประเทศที่อยู่เชิงบวก (77.1 จุด) ในขณะที่ประเทศมาเลเซียพบกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลง 11.5 จุด ส่งผลให้ดัชนีของประเทศมาเลเซียในครึ่งปีหลังของปี 2557 อยู่ที่ 49.9 จุด ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ต่ำกว่าค่ากลางๆ ที่ 50 จุด นับตั้งแต่วิกฤติทางการเงินในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2552
- ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในประเทศเวียดนามและประเทศไทยยังเป็นบวกมาก โดยดัชนีอยู่ที่ 85.3 จุด และ 83.6 จุดตามลำดับ
- ในขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในประเทศจีน (เพิ่มขึ้นมา 2.7 จุด ทำให้ดัชนีอยู่ที่ 85.3 จุด ในครึ่งหลังของปี 2557) และประเทศเกาหลีใต้ (เพิ่มขึ้นมา 1.7 จุด ทำให้ดัชนีอยู่ที่ 43.6 จุด) ยังคงที่หรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อยส่งผลให้ทั้งสองประเทศถูกจัดว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ส่วนประเทศอื่นในแถบใกล้เคียง ซึ่งนำโดย ประเทศไต้หวัน (มีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลง 23.8 จุด ทำให้ดัชนีอยู่ที่ 33.8 จุด) ญี่ปุ่น (ลดลง 17.6 จุด ทำให้ดัชนีอยู่ที่ 34.2 จุด) และฮ่องกง (ลดลง 13.5 จุด ทำให้ดัชนีอยู่ที่ 40.9 จุด) ความเชื่อมั่นผู้บริโภคของทั้งสามประเทศกลับอยู่ในจุดต่ำกว่าเกณฑ์ที่เป็นกลางในการสำรวจครั้งนี้
- การสำรวจชี้ให้เห็นความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดลงในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งลดลง 3.2 จุด ทำให้ดัชนีอยู่ที่ 34.1 จุด ในครึ่งหลังของปี 2557 จึงทำให้ประเทศออสเตรเลียอยู่ในกลุ่มที่อยู่ด้านลบ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ดัชนีของประเทศออสเตรเลียตกลงมาต่ำสุดตั้งแต่วิกฤตการณ์ทางการเงินในปี 2552 ขณะเดียวกัน ดัชนีของประเทศนิวซีแลนด์นั้นอยู่คาบเส้น หลังจากดัชนีตกลงมา 9.4 จุด ทำให้ดัชนีของประเทศนิวซีแลนด์อยู่ที่ 56.4 จุด
มร. ปิแอร์ เบอร์เรท์ ที่ปรึกษาของมาสเตอร์การ์ด ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกที่ลดลงไปเล็กน้อยแสดงให้เห็นถึงทัศนคติของผู้คนที่ยังคงอยู่ในด้านบวกแต่ระมัดระวัง ผู้ริโภคทั่วภูมิภาคกำลังรอสัญญาณของการเติบโตอย่างมั่นคงทางเศรษฐกิจและโอกาสที่ตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดที่เกิดใหม่เช่น ประเทศพม่า อินเดีย และอินโดนีเซียมีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอยู่ในด้านบวกที่สุด โดยอาจมาจากความคาดหวังในอนาคตที่สดใส หรือความคาดหวังจากรัฐบาลชุดใหม่ ในทางกลับกัน ตลาดที่พัฒนาแล้วเช่นประเทศไต้หวัน ญี่ปุ่น และฮ่องกง กลับมีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เป็นบวกน้อยกว่ามาก ซึ่งในตลาดดังกล่าว สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการก็คือสัญญาณที่บ่งบอกถึงการพัฒนาและเติบโตในระยะยาวรวมทั้งโอกาส ซึ่งโอกสดังกล่าวต้องหายไปเนื่องจากวิกฤติทางการเมืองครั้งล่าสุดของฮ่องกงและค่าเงินเยนที่อ่อนตัวลงในญี่ปุ่น” มร. เบอร์เรท์ กล่าว