กรุงเทพฯ--16 ก.พ.--ไอเดียเวิร์คส์ คอมมิวนิเคชั่นส์
ผลการศึกษาการใช้กลยุทธ DevOps ในเศรษฐกิจยุคแอพพลิเคชั่นล่าสุดโดยบริษัทวิจัย Vanson Bourne โดยการสนับสนุนจากบริษัทซีเอ เทคโนโลยี ในชื่อการสำรวจว่า “DevOps: The Worst-Kept Secret to Winning in the Application Economy” ชี้ให้เห็นว่า กว่า 82 เปอร์เซ็นต์ ของธุรกิจระดับ เอนเทอร์ไพรซ์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ได้นำเดินงานใช้ยุทธศาสตร์แบบ DevOps หรือวางแผนที่จะนำมาใช้มากเพิ่มขึ้น จากปีก่อนถึงกว่า 12เปอร์เซ็นต์ ที่เคยสำรวจพบว่ามีเพียง 70 เปอร์เซ็นต์ในขณะนั้น
กลยุทธDevOps คือวิธีการ ที่ช่วย เสริมสร้างการประสานงานกันระหว่าง ทีมผู้สร้างและผู้ทดสอบ แอพพลิเคชั่น(Dev)เข้ากับ ทีมพนักงานผู้ที่ต้องดำเนินงานใช้งานจริงในบริษัท (Ops ) โดยบริษัทวิจัยVanson Bourne ได้ดำเนินการสำรวจเจาะลึกจากบรรดาผู้นำธุรกิจ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายไอทีระดับสูงทั่วโลกจำนวน 1425 ราย โดยในจำนวนนี้มี650 รายมาจาก 6 ประเทศใหญ่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้นคือ ออสเตรเลีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และเกาหลีใต้
จากผลการสำรวจนี้ พบว่ามี 78 เปอร์เซ็นต์ ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้เริ่มมีการติดตั้งใช้งานแล้วหรือวางแผนที่จะติดตั้ง ระบบ DevOps แล้วโดยบอกว่า กำลังวางแผนหรือคาดหวังว่าที่จะได้ผลประโยชน์ตอบแทนทางธุรกิจ จากการลงทุนในด้านDevOps นี้
ผลตอบแทนที่จะได้นี้ รวมถึง ได้แก่ การขยายการใช้ซอฟต์แวร์ได้มากหลายแพลตฟอร์มยิ่งขึ้น (ผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ระบุถึงประเด็นนี้ ) เพิ่มการทำงานประสานกันระหว่างแผนกต่างๆ (88 เปอร์เซ็นต์) ลดเวลาที่ต้องใช้ในการแก้ปัญหาและบำรุงรักษาระบบแอพพลิเคชั่น (88 เปอร์เซ็นต์) ได้ลูกค้าเพิ่มขึ้น (87 เปอร์เซ็นต์) และมีรายรับสูงขึ้น (78เปอร์เซ็นต์)
“DevOps เป็นวิธีที่สำคัญสำหรับองค์กรต่างๆในทุกวันนี้ เพราะเรากำลังมุ่งสู่ ยุคเศรษฐกิจแอพพลิเคชั่น ซึ่งน่าดีใจที่ได้เห็นว่าส่วนใหญ่ของธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออก แปซิฟิกและญี่ปุ่น ได้ใส่ใจตรงนี้ และขนาดนี้ก็เริ่มได้เก็บเกี่ยวผลสำเร็จทางธุรกิจกลับมาในแบบที่จับต้องได้แล้ว" อโศก วสันต์ รองประธานฝ่ายสายงานติดตั้งแอพพลิเคชั่นประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น บริษัทซีเอ เทคโนโลยี
ถ้าดูจากผลการสำรวจก่อนหน้านี้ ของบริษัทซีเอ เทคโนโลยี ด้านเศรษฐกิจยุคแอพพลิเคชั่น จะพบตัวเลขที่น่าสนใจ ก็คือ 43.เปอร์เซ็นต์ ของ บริษัทที่จัดว่าเป็นผู้นำในด้าน เศรษฐกิจยุคแอพพลิเคชั่นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ในขณะนี้ ได้มีการนำแนวคิด DevOps มาใช้ นำหน้า บริษัทที่ตามหลัง ซึ่งในกลุ่มบริษัทที่ตามหลังนี้ มีการตอบรับตรงนี้แค่ 4 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าส่วนใหญ่ของ ผู้นำไอทีและธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น จะเห็นความสำคัญในเรื่องระบบ DevOps แล้วก็ตาม แต่ยังมีบางรายที่ระบุว่ายังมีอุปสรรคต่างๆหลายอย่าง ที่มีผลกระทบต่อการนำแนวคิดDevOps มาใช้งาน ได้แก่ ความซับซ้อนขององค์กร (31 เปอร์เซ็นต์ ) ความยุ่งยากในการ ประเมินความคุ้มในการติดตั้งใช้งานในแง่จากแม่ ผลตอบแทนการลงทุน หรือ ROI ( 28 เปอร์เซ็นต์)
เพื่อที่จะเอาชนะปัญหาที่ท้าทายเหล่านี้ และดำเนินการนำแนวคิดDevOpsมาใช้ ทำให้หลายบริษัทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก คาดว่าจะมีการ ลงทุนต่อเนื่องภายในช่วงปีสองปีนี้ ได้แก่ การเพิ่มการฝึกอบรม สำหรับบุคลากรทั้งฝ่ายพัฒนาซอฟท์แวร์และฝ่ายปฏิบัติงาน ( 64 เปอร์เซ็นต์) และ ออกแบบกระบวนการทางธุรกิจขั้นตอนการทำงานต่างๆใหม่ เพื่อมุ่งผลักดันแนวคิด DevOps ต่อไปในองค์กร (59 เปอร์เซ็นต์)
ยิ่งไปกว่านั้น มี 59 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้เผยว่า จะลงทุนในบริษัทที่ปรึกษา ที่มีการใช้งานด้านDevOps เพื่อให้มาช่วยตน ในการติดตั้งใช้งานระบบดังกล่าว ซึ่งตรงนี้ได้ย้ำให้เห็น ว่ามีแรงกดดันต่อธุรกิจต่างๆ เพื่อให้นำเสนอซอฟต์แวร์สู่ตลาดได้เร็วขึ้นกว่าที่เคยเป็นมาในอดีต
นอกจากนี้ยังมีประเด็นสำคัญที่น่าสนใจจากการสำรวจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ดังต่อไปนี้
เพื่อที่จะวัดความสำเร็จของการติดตั้งใช้งานตามแนวคิด DevOps มี 48 เปอร์เซ็นต์ ของบริษัทระดับ เอนเทอร์ไพรซ์ในภูมิภาคนี้ ที่วัดความสำเร็จไปที่ ตัวแปรนอกธุรกิจอย่างเช่น การเพิ่ม รายได้ เร่งเวลาสู่ตลาดและปรับปรุงศักยภาพในการแข่งขันกับคู่แข่ง ในทางกลับกัน มีอีก 42 เปอร์เซ็นต์ได้วัดความสำเร็จของการติดตั้งใช้งาน โดยมองกลับไปที่ตัวแปรภายใน อาทิเช่น ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย แอพพลิเคชั่นมีจุดบกพร่องน้อยลง เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของ แอพพลิเคชั่น และการประสานงานที่ดีขึ้นระหว่างแผนกต่างๆ อย่างไรก็ตาม บรรดาบริษัทที่จัดว่าเป็นผู้นำ ในยุคแอพพลิเคชั่น จะมีแนวโน้มที่จะดูจากตัวแปรภายนอก มากกว่า โดย คิดเป็นอัตรากว่า 68 % เมื่อเทียบกับ กลุ่มบริษัทที่ถูกจัดว่าล้าหลังกว่า (28 เปอร์เซ็นต์)
มี 39 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้ระบุถึงความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพของแอพพลิเคชั่นของตน โดยถือเป็นตัวผลักดันสำคัญ ที่ทำให้ต้องมีการนำแนวคิด DevOps มาใช้ ซึ่ง มีประเด็นเกี่ยวข้องดังนี้
1. ความกดดันที่จะต้อง เปิดตัวใช้งานซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่น ให้เร็วขึ้นกว่าเดิมเพื่อตอบสนองความต้องการ ของลูกค้า หรือเพื่อบุกตลาดใหม่ๆ (32 เปอร์เซ็นต์)
2. จำเป็นต้องเพิ่มความสะดวกและความพึงพอใจในการใช้งานของผู้ใช้งาน
3. จำเป็นที่จะต้อง มีการใช้งานซอฟต์แวร์ในหลายระบบแพลตฟอร์มต่างๆ ให้มากขึ้น และต้องทำพร้อมกันในคราวเดียว (28 เปอร์เซ็นต์)
ขณะนี้ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีกว่า 30% ของธุรกิจ เอนเทอร์ไพรซ์ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ได้มีการนำแนวคิดDevOpsมาใช้งานแล้ว และมีอีก 49 เปอร์เซ็นต์ กำลังวางแผนที่จะเดินหน้าในเรื่องนี้ภายในช่วงเวลา 2 ปีถัดจากนี้ ซึ่งข้อมูลตรงนี้จัดว่าเป็นตัวเลขที่สูงที่สุด ทั้งในระดับภูมิภาค และในระดับโลก
มี 45 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามได้คิดว่า การทดสอบประสิทธิภาพ ถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการนำแนวคิดDevOps มาใช้งาน ตามมาด้วยประเด็นของ การ มอนิเตอร์ ประสิทธิภาพของแอพพลิเคชั่น (39 เปอร์เซ็นต์) และการทดสอบด้านฟังก์ชันการใช้งานต่างๆ (34 เปอร์เซ็นต์)
รูปแบบการสำรวจ
บริษัทวิจัย Vanson Bourne ได้ดำเนินการสำรวจ ที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทซีเอ เทคโนโลยีให้ทำการศึกษาความเห็นจากผู้นำด้านไอที และผู้นำตามสายธุรกิจต่างๆจำนวนกว่า 1425 ราย จากทั่วโลก ที่อยู่ในธุรกิจระดับเอนเทอร์ไพรซ์ และจัดมีรายได้ ขององค์กรมากกว่า 500 ล้านเหรียญต่อปี หรือมากกว่า โดยมาจากสายธุรกิจต่างๆ อาทิเช่น บริการการเงิน สาธารณสุข ธุรกิจค้าปลีก โทรคมนาคม สื่อและบันเทิง โดยการสำรวจนี้ ได้ทำ ขึ้นใน 13 ประเทศทั่วโลก เช่น ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา บราซิล อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ สเปน ออสเตรเลีย จีน อินเดีย และญี่ปุ่น