กรุงเทพฯ--16 ก.พ.--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “การขออนุญาตเดินทางไปต่างประเทศของ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 12 – 13 กุมภาพันธ์ 2558 จากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทั่วทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,252 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการขออนุญาตเดินทางไปต่างประเทศของ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยความน่าจะเป็นด้วยวิธีแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4
จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อกรณีที่ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขออนุญาตเดินทางไปต่างประเทศ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 47.68 ระบุว่า ควรให้ศาลเป็นผู้พิจารณา รองลงมา ร้อยละ 25.33 ระบุว่า คสช. ไม่ควรอนุญาต เพราะ อยู่ในช่วงระหว่างการดำเนินคดี ควรรอให้ศาลพิจารณาคดีให้เสร็จสิ้นก่อน และเกรงว่าจะเป็นการลี้ภัยทางการเมือง ไปแล้วไม่กลับมาเลย ร้อยละ 23.16 ระบุว่า คสช. ควรอนุญาต เพราะ เป็นสิทธิส่วนบุคคลที่สามารถจะกระทำได้ และถือว่าไม่ได้กระทำความผิดอะไรร้ายแรง และร้อยละ 3.83 ไม่แน่ใจ / ไม่ระบุ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อกรณี หาก น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้รับอนุญาตจาก คสช./ศาล ให้เดินทางไปต่างประเทศ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 35.22 ระบุว่า เชื่อว่าไปและจะกลับมาตามกำหนด รองลงมา ร้อยละ 32.75 ระบุว่า เชื่อว่าไปแล้วจะไม่กลับมาเลย ร้อยละ 14.46 ระบุว่า เชื่อว่าไปและกลับ แต่จะไม่กลับมาตามกำหนด ร้อยละ 2.64 ระบุว่า เชื่อว่าจะไม่เดินทางไปต่างประเทศเลย ร้อยละ 14.94 ไม่แน่ใจ / ไม่ระบุ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 20.69 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ร้อยละ 19.33 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 19.65 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 20.37 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 19.97 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 56.15 เป็นเพศชาย และ ร้อยละ 43.85 เป็นเพศหญิง ตัวอย่างร้อยละ 2.26 มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ร้อยละ 22.64 มีอายุ 25 – 39 ปี ร้อยละ 58.58 มีอายุ 40 – 59 ปี และร้อยละ 16.52 มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 93.00 นับถือศาสนาพุทธ ตัวอย่างร้อยละ 6.20 นับถือศาสนาอิสลาม และตัวอย่างร้อยละ 0.81 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ ตัวอย่างร้อยละ 11.77 สถานภาพโสด ตัวอย่างร้อยละ 86.29 สมรสแล้ว และตัวอย่างร้อยละ 1.94 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่างร้อยละ 29.13 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ตัวอย่างร้อยละ 31.39 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.41 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ตัวอย่างร้อยละ 24.43 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และตัวอย่างร้อยละ 6.63 จบการศึกษา สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตัวอย่างร้อยละ 15.87 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ตัวอย่างร้อยละ 13.28 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ตัวอย่างร้อยละ 27.37 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ตัวอย่าง ร้อยละ 12.96 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ตัวอย่างร้อยละ 15.55 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ตัวอย่างร้อยละ 13.85 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และ ตัวอย่างร้อยละ 1.13 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 11.50 ไม่มีรายได้ ตัวอย่างร้อยละ 23.16 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 ตัวอย่างร้อยละ 27.16 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อเดือน 10,001 – 20,000 ตัวอย่างร้อยละ 13.18 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ตัวอย่างร้อยละ 7.27 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อเดือน 30,001 – 40,000 ร้อยละ 10.78 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มากกว่า 40,001 บาท ขึ้นไป และร้อยละ 6.95 ไม่ระบุรายได้