ปรับมาตรการนำเข้าอาหารจากเบลเยี่ยม

ข่าวทั่วไป Monday August 16, 1999 07:57 —ThaiPR.net

กรุงเทพ--16 ส.ค.--อย.
สธ.ออกประกาศปรับมาตรการใหม่ ให้เฉพาะช็อกโกแลตที่ไม่มีนมเป็นส่วนประกอบ ใข่ขาว และผลิตภัณฑ์ที่มีไข่เป็นส่วนประอบน้อยกว่าร้อยละ 2 จากประเทศเบลเยี่ยมสามารถนำเข้าหรือจำน่ายได้ แต่ต้อบมีหนังสือรับรองจากรัฐบาลเบลเยี่ยมก่อน
น.พ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า ตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้มีประกาศกระทรวงสาะารณสุข ฉบับที่ 185 พ.ศ. 2542 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามนำเข้าหรือจำหน่าย โดยมีรายละเอียดห้ามนำเข้าหรือจำหน่ายเนื้อสัตว์ นมโค ผลิตภัณฑ์นมโค ไข่ และผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อสัตว์ นมโค ผลิตภัณฑ์นมโค หรือไข่เป็นส่วนประกอบจากประเทศเบลเยี่ยม เนื่องจากการปนเปื้อนของไดออกซิน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งนั้น ขณะนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้พิจารณาข้อมูลต่าง ๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งประสานงานระหว่างสถานฑูตไทยในประเทศเบลเยี่ยม และข้อมูลจากคณะกรรมาธิการยุโรป เมื่อประเมินความเสี่ยงจากข้อมูลทั้งหมดแล้ว สรุปได้ว่า อาหารบางประเภทมีความปลอดภัยในการบริโภค กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ออกประกาศฉบับที่ 188 พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมประกาศฯ ฉบับดังกล่าว โดยให้ช็อกโลแลตที่ไม่มีนมเป็นส่วนประกอบ ไข่ขาว และผลิตภัณฑ์ที่มีไข่เป็นส่วนประกอบน้อยกว่าร้อยละ 2 ที่มีแหล่งกำเนิดจากประเทศเบลเยี่ยมสามารถนำเข้าหรือจำหน่ายได้ แต่ต้องมีหนังสือรับรองจากหน่วยงานของรัฐบาลเบลเยี่ยมรับรองว่าปลอดภัยในการบริโถค และไม่มีการปนเปื้อนสารไดออกซิน รวมทั้งวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์นั้นไม่ได้มาจากสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์ของสัตว์ที่เลี้ยงด้วยอาหารที่มีการปนเปื้อนสารไดออกซิน และไม่ได้มาจากฟาร์มที่ถูกกักกัน ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ลงนามในประกาศฯ ดังกล่าวแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่งการรอลงในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งประกาศฯ จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
สำหรับผลิตภัณฑ์อื่นตามประกาศฯ ฉบับที่ 185 ที่ไม่ได้ยกเลิกการห้ามนำเข้าหรือจำหน่ายนั้น เนื่องจากสถานการณ์ในประเทศเบลเยี่ยมยังพบปัญหาไดออกซินในฟาร์มสัตว์ ดังเช่นที่เป็นข่าวเร็ว ๆ นี้ โดยมีการรายงานจากกรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยมระบุว่า รัฐบาลเบลเยี่ยมได้เรียกเก็บและทำงานผลิตภัณฑ์อาหารจากเนื้อหมูทั้งในประเทศและที่ส่งออกจำนวนมาก รวมทั้งสั่งปิดฟาร์มเลี้ยงหมูหลายแห่ง ดังนั้น เพื่อความมั่นใจในความปลอดภัยของผู้บิรโภค จึงเห็นควรตรสวจสอบสถานการณ์ความปลอดภัยและข้อมูลต่าง ๆ ต่อไปอีกระยะหนึ่ง หากพบว่าอาหารที่ส่งออกจากประเทศเบลเยี่ยมมีความปลอดภัย อย. จะปรับมาตรการควบคุมการนำเข้าโดยทันที น.พ.ศิริวัมน์ ทิพย์ธราดล กล่าวในที่สุด--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ