กรุงเทพฯ--2 มี.ค.--สหมงคลฟิล์ม
แม้นยุทธหัตถีจะเป็นมหาศึกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์
แต่ก็หาใช่ศึกสุดท้ายที่ทำให้อโยธยามีความสุขสงบมาอีกกว่า 200 ปีไม่
หากคือการเริ่มต้นแห่งการรวบรวมบ้านเมืองและสร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับแผ่นดิน
ด้วยระยะเวลาการเตรียมงานสร้างและถ่ายทำถึง 14 ปี
คือผลงานภาพยนตร์เกริกเกียรติอันยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของ
หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
สู่บทสรุปของอภิมหากาพย์ภาพยนตร์แอ็คชั่นอิงประวัติศาสตร์
จากตำนานกษัตริย์นักรบอันเป็นที่รักของปวงชนชาวไทย กว่า 4 ศตวรรษ
๙ เมษายน ๒๕๕๘
ภาพยนตร์ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อวสานหงสา
กำหนดฉาย ๙ เมษายน ๒๕๕๘
ผู้สร้าง พร้อมมิตรโปรดักชั่น
จัดจำหน่าย สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล
บริษัทดำเนินงานสร้าง พร้อมมิตรโปรดักชั่น
กำกับภาพยนตร์ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
อำนวยการสร้าง หม่อมกมลา ยุคล ณ อยุธยา ,คุณากร เศรษฐี
บทภาพยนตร์ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ,ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์
ควบคุมงานสร้าง เบญจพร ปัญญายิ่ง
ดนตรีประกอบ เทิดศักด์ จันทร์ปาน
กำกับภาพ Stanislav Dorsic
ถ่ายภาพ อานุภาพ บัวจันทร์, Stanislav Dorsic
ลำดับภาพ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล,หม่อมราชวงศ์หญิงปัทมนัดดา ยุคล
ออกแบบงานสร้าง กรัณย์พล ทัศพร
กำกับศิลป์ นิวัฒน์ ทุมไซ,วรวุฒิ น้อยประภา,พินโย ครองชีพ
บันทึกเสียง ไชยเชษฐ์ เศรษฐี, ชวาล ฮือจีนฮึกกี้,
เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ หม่อมกมลา ยุคล ณ อยุธยา,สุกัญญา มะเรืองประดิษฐ์,สุมาลี จันก้อน
แต่งหน้าทำผม มนตรี วัดละเอียด
นักแสดง พันโท วันชนะ สวัสดี, นพชัย ชัยนาม, ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ(เตชะณรงค์), เกรซ มหาดำรงค์กุล,จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์, สรพงษ์ ชาตรี,พันเอก วินธัย สุวารี, ปราบต์ปฏล สุวรรณบาง,พันโท คมกริช อินทรสุวรรณ, นาวาอากาศโทจงเจต วัชรานันท์, นิรุตติ์ ศิริจรรยา, รัชนี ศิระเลิศ,อรรถพร สุวรรณ,สะอาด เปี่ยมพงษ์สานต์,ปันปัน-เต็มฟ้า กฤษณายุธ, รณ ฤทธิชัย,ดามพ์ ดัสกร ฯลฯ
ในปี พ.ศ. 2135 หลังพ่ายศึกยุทธหัตถี ฝ่ายหงสาวดีพระเจ้านันทบุเรง (จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์) ทรงโทมนัสที่ต้องสูญเสียพระราชโอรส จึงมีรับสั่งให้คลอกไฟเหล่าแม่ทัพนายกอง ที่ตามเสด็จพระมหาอุปราช(นภัสกร มิตรเอม) ให้ตายตกตามกัน ทั้งยังระบายพระโทสะไปที่ พระสุพรรณกัลยา (เกรซ มหาดำรงค์กุล)องค์ประกันและพระราชโอรสธิดาถึงสิ้นประชนม์ชีพ
ข้าง สมเด็จพระนเรศวร (พลโทวันชนะ สวัสดี)นั้น มีพระราชประสงค์จะนำทัพปราบหงสาวดี ให้ราบคาบ มิให้ตกค้างเป็นเสี้ยนหนาม ครั้นมาได้ทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ ของพระพี่นาง และพระราชนัดดาก็ยิ่งโทมนัส จึงตัดสินพระทัยยกทัพใหญ่ หมายเหยียบหงสาวดีให้ราบเป็นหน้ากลอง ในระหว่างที่เดินทางมาถึงเมืองเมาะตะมะได้จับตัว พระยาลอ ผู้สำเร็จราชการแทน ที่พระเจ้านันทบุเรง ส่งให้มาปกครองเมือง ถูก เม้ยมะนิก (ปันปัน เต็มฟ้า กฤษณายุธ) ราชธิดาของ ศิริสุธรรมราชา เจ้าเมืองเมาะตะมะลอบสังหาร เพื่อแก้แค้นแทนบิดา พร้อมรวบรวมชาวรามัญเพื่ออาสาขอเข้าร่วมรบพม่ากับชาวอโยยา
แต่ครั้นเมื่อทัพของพระองค์เสด็จถึงหงสาวดีก็พบแต่เพียงเศษซากของมหานครอันเคยยิ่งใหญ่ ด้วยนัดจินหน่อง (นาวาอากาศโทจงเจต วัชรานันท์) ราชบุตรพระเจ้าตองอูได้วางอุบาย เชิญพระเจ้านันทบุเรงพร้อมกวาดต้อนผู้คนแลทรัพย์ศฤงคารของหงสาไปไว้ยังตองอูจนหมดสิ้น
ครั้งนั้นสมเด็จพระนเรศวร จึงทรงยกทัพตามขึ้นไปถึงเมืองตองอู มีพระราชบัญชาให้ เมงเยสีหตู(นิรุตติ์ ศิริจรรยา) เจ้าเมืองส่งตัว พระเจ้านันทบุเรงออกมาถวาย ด้านนัดจินหน่องเห็นว่าพระเจ้านันทบุเรง ที่เชิญมานั้น เป็นภัยชักศึกเข้าบ้าน จึงหมายยืมมือสมเด็จพระนเรศวรสังหารพระเจ้านันทบุเรงเสีย แต่เมื่อสมเด็จพระนเรศวร ได้ทอดพระเนตรเห็นพระเจ้านันทบุเรง ที่ทรงทุพพลภาพเป็นที่น่าสมเพช ก็ให้สลดพระราชหฤทัย ระหว่างนั้น เมงราชาญี(รณ ฤทธิชัย) เจ้าเมืองยะไข่ได้แต่งทัพเป็นกองโจร ตีลัดตัดเสบียงอยุธยามิให้ส่งข้าวน้ำขึ้นไปเลี้ยงทัพที่ล้อมพระนครตองอูอยู่ สมเด็จพระเอกาทศรถ(พันเอก วินธัย สุวารี)จึงแบ่งทัพลงมาหมายจะเผด็จศึกยะไข่มิให้เป็นหอกข้างเเคร่ แต่ทรงพลาดท่าถูกเมงราชาญีจับตัวได้ พระราชมนู(นพชัย ชัยนาม)จำต้องขันอาสานำกำลังลงมา แก้เอาสมเด็จพระเอกาทศรถกลับคืน และยกทัพกลับยังอยุธยา
ข้างฝ่ายพุกามประเทศนั้นได้บังเกิดกษัตริย์ชาตินักรบขึ้นมา แทนพระเจ้าชนะสิบทิศมีพระนามว่า พระเจ้ายองยาน ตามชื่อพระนครที่ปกครอง พระเจ้ายองยานทรงขยายแสนยานุภาพครอบคลุมดินแดนพม่าตอนบน เข้ายึดครองหัวเมืองในรัฐไทยใหญ่ทั้งหลาย และทรงกรีฑาทัพเข้าตีเมืองยองห้วยและเมืองแสนหวีซึ่งขณะนั้นล้วนเป็นเมืองประเทศราชของอยุธยา เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงล่วงรู้ก็ทรงมีพระราชดำริที่จะตัดไฟเสียแต่ต้นลม ไม่ให้อธิราชศัตรูพลิกฟื้นขึ้นมา เป็นเสี้ยนหนามแผ่นดินอยุธยาได้อีก สมเด็จพระนเรศวรจึงได้เสด็จยกกองทัพไปตีอังวะ ครั้งนั้นพระมหาเถรคันฉ่อง(สรพงษ์ ชาตรี) และพระอัครมเหสีมณีจันทร์(ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ(เตชะณรงค์)) ซึ่งกำลังทรงพระครรภ์ก็ทูลขอให้งด ซึ่งราชการสงคราม สมเด็จพระนเรศวรจึงทรงให้สัญญาว่า จะเสด็จไปทำศึกครานี้เป็นครั้งสุดท้าย เมื่อเสด็จถึงเมืองเชียงใหม่ก็ยั้งทัพจัดกระบวนอยู่หนึ่งเดือน แล้วให้ทัพสมเด็จพระเอกาทศรถยกขึ้นไปทางเมืองฝาง ส่วนกองทัพหลวงยกไปทางเมืองหาง ตั้งค่ายหลวงประทับอยู่ที่ทุ่งแก้ว อยู่มาสมเด็จพระนเรศวรทรงพระประชวรจึงโปรดให้ข้าหลวงรีบเชิญเสด็จพระเอกาทศรถมาเฝ้า ครั้นมาถึงได้ 3 วัน สมเด็จพระนเรศวรก็เสด็จสวรรคตเมื่อวันจันทร์ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2148 สมเด็จพระเอกาทศรถจึงได้อัญเชิญพระบรมศพสมเด็จพระนเรศวรกลับกรุงศรีอยุธยาราชธานี
พ.ศ.2544- พ.ศ.2558
ตลอดระยะเวลากว่า14ปีในการเตรียมงานสร้าง
เปิดกล้องบวงสรวง ใช้เวลาถ่ายทำยาวนานร่วมทศวรรษ
ทุ่มทุนสร้างสูงที่สุด ระดมนักแสดงระดับแถวหน้าของเมืองไทยมากที่สุด
หลังจากความสำเร็จอย่างมหาศาลที่ยังไม่เคยมีภาพยนตร์ไทยเรื่องใดในประวัติศาสตร์เคยทำได้มาก่อนของ “สุริโยไท” ภาพยนตร์ดราม่าเชิงประวัติศาสตร์ที่ว่าด้วยเกียรติประวัติและความเสียสละอันยิ่งใหญ่ของสมเด็จพระศรีสุริโยไท วีรสตรีผู้หาญกล้าที่ได้รับการยกย่องในประวัติศาสตร์ชาติไทยที่หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคลหรือท่านมุ้ยได้ทรงถ่ายทอดลงบนแผ่นฟิล์มและออกฉายในปีพุทธศักราช2544ไม่มีใครคาดคิดว่าทันทีที่ภาพยนตร์เรื่องสุริโยไทออกฉายเป็นที่ประจักษ์สายตาต่อผู้ชมคือจุดเริ่มต้นของย่างก้าวต่อมาที่เรียกได้ว่าจะกลายเป็นบันทึกครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยที่เรียกได้ว่าเป็นย่างก้าวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติชีวิตการสร้างภาพยนตร์ของท่านมุ้ย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นการเตรียมงานสร้าง ค้นคว้าข้อมูลหลักฐานต่างๆ ตลอดจนพงศาวดาร จดหมายเหตุ ย้อนกลับไปของประวัติศาสตร์ในอดีตตลอดช่วงระยเวลากว่า4ศตวรรษที่ดำเนินต่อเนื่องมาตราบจนปัจจุบันทั้งที่ได้รับการบันทึกและไม่เคยถูกบันทึกมาก่อนจากหลักฐานที่มีอยู่จริงที่เป็นลายลักษณ์อักษร คำบอกกล่าวหรือเรื่องราวที่มีการเล่าขานต่อเนื่องกันมาทั้งในประเทศและต่างประเทศทั้งในส่วนของไทยเอง พม่า ชนกลุ่มน้อยใหญ่ รวมไปถึงบันทึกของชาวตะวันตกที่ได้แวะเวียนเข้ามาในแต่ละช่วงเวลาในแต่ละยุคสมัยที่เอ่ยอ้างและกล่าวถึง “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช” กษัตริย์นักรบวีรบุรุษผู้ห้าวหาญผู้ซึ่งรวบรวมปึกแผ่นผืนดินเป็นหนึ่งเดียว พร้อมกับประกาศอิสรภาพ ความเป็นไทจนเกิดเป็นประเทศไทยจนถึงทุกวันนี้” ยังไม่รวมกับการที่ท่านมุ้ย พร้อมด้วย รศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ที่ปรึกษาและผู้ร่วมเขียนบทภาพยนตร์ได้ออกเดินทางตามรอยประวัติศาสตร์ออกสำรวจและเข้าไปสัมผัสในทุกพื้นที่และดินแดนต่างๆที่เคยเกิดขึ้นจริงเพื่อรวบรวมหลักฐานและเกร็ดข้อมูลทางประวัติศาสตร์และข้อถกเถียง ตลอดจนสมมติฐานต่างๆอันนำไปสู่ การเตรียมงานสร้างภาพยนตร์ไทยอิงประวัติศาสตร์ระดับตำนานเพื่อเตรียมเนรมิตรภาพในประวัติศาสตร์ที่ยังไม่เคยมีใครได้เคยเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวให้ออกมาใกล้เคียงความเป็นจริงในที่สุด ซึ่งในเวลาต่อมาได้รับการบันทึกว่าเป็นโปรเจกต์ภาพยนตร์แอ็คชั่นอิงประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่กว่าภาพยนตร์เรื่องใดในอดีต
ในทุกๆด้านรวมทั้งผลงานระดับมาสเตอร์พีซก่อนหน้าของท่านอย่าง “สุริโยไท” นับตั้งแต่ทุนสร้าง ,จำนวนนักแสดงหลักเหล่าและนักแสดงสมทบ ตลอดจนบรรดาซูเปอร์สตาร์ระดับแนวหน้าของเมืองไทยมากที่สุดและนักแสดงสมทบที่ร่วมเข้าฉากมากมายผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในภาพยนร์จากจำนวนนับหมื่นคนยังไม่รวมจำนวนช้างม้าวัวควายและสัตว์ต่างๆที่ต้องเข้าฉากอีกมากมาย ภายหลังจากที่ภาพยนตร์เรื่องสุริโยไทเข้าฉาย หลังจากนั้น3ปีต่อมา “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชภาคแรกที่ใช้ชื่อว่าองค์ประกันหงสา” จึงได้เริ่มต้นทำเปิดกล้องถ่ายทำพร้อมด้วยพิธีบวงสรวงขึ้นเป็นครั้งแรกในวันที่11ธ.ค.2547 ที่กองพลทหารราบที่ 9 (ค่ายสุรสีห์) ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรีที่ถูกเนรมิตรให้เป็นเมืองอโยธยาเมื่อราว400กว่าปีก่อน โดยมีสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในพิธีบวงสรวงเปิดกล้องภาพยนตร์ และทรงทอดพระเนตรการถ่ายทำโดยมีนักแสดงเข้าร่วมฉากถ่ายทำกว่า 1,000 คน และหลังจากนั้นได้มีการถ่ายทำอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงต้นปีพ.ศ.2558 ก่อเกิดเป็นภาพยนตร์ “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” ที่มาพร้อมด้วยจำนวนภาคต่อของภาพยนตร์ที่มีการถ่ายทำที่ตั้งใจไว้จากเดิม3ภาคกลายเป็น6ภาค โดยมีเหล่านักแสดงคุณภาพทุกรุ่นทั่วฟ้าเมืองไทยจากในอดีตจนถึงปัจจุบันร่วมเป็นส่วนหนึ่งและถ่ายทอดการแสดงในบทบาทและตัวละครต่างๆทั้งที่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์และที่ถูกเพิ่มขึ้นมาในภาพยนตร์
ด้วยระยะเวลาในการถ่ายทำยาวนานต่อเนื่องกว่า14ปี นับตั้งแต่การเริ่มต้นเตรียมงานสร้างและใช้เวลาในการถ่ายทำอย่างยาวนานกว่าทศวรรษ จาก “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช : องค์ประกันหงสา” ปฐมบทของวีกรรมอันยิ่งใหญ่ของตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตามมาด้วย “ประกาศอิสรภาพ” ในภาคที่2 , “ยุทธนาวี”ในภาคที่3 ต่อเนื่องด้วย“ศึกนันทบุเรง” ในภาคที่4 และ “ยุทธหัตถี”ในภาคที่5 จนกล่าวได้ว่านี่ “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” คือภาพยนตร์ไทยเรื่องสุดท้ายที่ได้รับการบันทึกในประวัติศาสตร์ว่าใช้ระบบการถ่ายทำด้วยกล้องฟิล์มภาพยนตร์
สู่บทสรุปส่งท้ายแห่งอภิมหากาพย์ภาพยนตร์แอ็คชั่น
อิงประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล
ของกษัตริย์นักรบยอดวีรบุรุษที่อยู่ในหัวใจ
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
อันเป็นที่รัก เคารพและศรัทธาของคนไทยมากว่า4ศตวรรษ
9 เมษายน พ.ศ.2558 พร้อมมิตร โปรดักชั่น และ สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด พร้อมแล้วที่จะนำผู้ชมและคนไทยทั้งแผ่นดินเดินทางย้อนเวลากว่า4ศตวรรษสู่บทสรุปของอภิมหากาพย์ภาพยนตร์แอ็คชั่นอิงประวัติศาสตร์ที่สร้างจากตำนานกษัตริย์วีรบุรุษนักรบไทยอันเป็นที่รักและศรัทธาของปวงชนชาวไทยมาอย่างยาวนาน เพื่อถ่ายทอดหลากหลายเรื่องราวในตำนานที่หลายคนไม่เคยรู้ บ้างยังคงเป็นที่ถกเถียง ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น กับอีกหลายศึกสงครามและข้อขัดแย้งที่มีมาอย่างยาวนานระหว่างไทยกับพม่าซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจากอภิมหาศึกแห่งประวัติศาสตร์ยุทธหัตถีจบลง พระราชประวัติของพระนเรศวรที่ยังคงดำเนินต่อ ไม่ว่าจะเป็นการที่พระองค์ยังคงทรงออกศึกสมรภูมิรบกับอาณาจักรต่างๆอีกหลายครั้งหลยคราก็เพื่อมวลประชาราษฎร์ของพระองค์ รวมไปถึงหลากหลายชะตากรรมชีวิตที่ยังคงดำเนินต่อของผู้คนในประวัติศาสตร์ที่อยู่รายล้อมรอบตัวของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทั้งในฝั่งอโยธยาและนอกอาณาจักร การเปลี่ยนผ่านถ่ายอำนาจการปกครองจากอาณาจักรหงสาวดี ราชธานีของพม่าที่เคยรุ่งเรืองและยิ่งใหญ่เหนือชมพูทวีปในอดีตที่กลับมลายหายสิ้นไปจากแผนที่ การล่มสลายของหงสาวดีและการก้าวขึ้นมาเรืองอำนาจของอาณาจักรใหม่ๆอย่างเกตุมวดีตองอู เหตุผลสำคัญที่ทำให้สมเด็จพระนเรศวรต้องเปิดศึกครั้งใหม่ทั้งๆที่อโยธยาไม่เคยชักศึกไกลถึงหงสามาก่อน เกิดอะไรขึ้นกับพระเจ้านันทบุเรงภายหลังจากสูญเสียพระมหาอุปราชาที่ทรงสวรรคตจากการศึกยุทธหัตถี หลากหลายสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ว่ากันว่าชีวิตทหารไพร่พลพม่ารามัญนับหมื่นนับแสนที่พ่ายแพ้จากศึกในประวัติศาสตร์ล้วนตกต้องทัณฐ์มหันต์ถูกสั่งให้สุมไฟเผาทั้งเป็นรวมไปถึงวิบากกรรมที่พระสุพรรณกัลยาทรงรับไว้จากผลกระทบดังกล่าวนำไปสู่การสิ้นสุดในสถานภาพของการเป็นองค์ประกันหงสาอย่างแท้จริง และยังมีอีกหลากหลายเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์การบุกเข้าตีตองอูของกองทัพอโยธยา , การณ์กลับตาลปัตรเมื่อสมเด็จพระเอกาทศรถถูกเมงราชาญีเจ้าเมืองยะไข่จับตัวไป รวมไปถึงการเสด็จสู่สวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชฯลฯ
รวบรวมเหล่านักแสดงระดับตำนานถ่ายทอดการแสดงสุดเข้มข้นสู่บทสรุปส่งท้ายอันยิ่งใหญ่ พลโทวันชนะ สวัสดี ,จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์, ปีเตอร์-นพชัย ชัยนาม , เกรซ มหาดำรงค์กุล,แอฟ ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ(เตชะณรงค์),พ.อ.วินธัย สุวารี, นาวาอากาศโทจงเจต วัชรานันท์, สรพงษ์ ชาตรี,ปราบต์ปฎล สุวรรณบาง ,พันโทคมกริช อินทรสุวรรณ,นภัสกร มิตรเอม, พร้อมด้วยเหล่านักแสดงระดับคุณภาพมาร่วมเพิ่มความเข้มข้นอย่างถึงขีดสุดในบทบาทของตัวละครที่เข้ามามีบทบาทใน ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช:อวสานหงสา ไม่ว่าจะเป็น นิรุตติ์ ศิริจรรยา ในบทเมงเยสีหตูเจ้าของนครเกตุมวดีตองอู ,สะอาด เปี่ยมพงษ์สานต์ รัชนี ศิระเลิศ ในบทพระมเหสีผู้อยู่เคียงข้างเมงเยสีหตูพระราชมารดาของนัดจินหน่อง ,ปันปัน เต็มฟ้า กฤษณายุธในบทเม้ยมะนิกราชธิดาที่มีเชื้อสายรามัญ-พม่าของศิริสุธรรมราชา เจ้าเมืองเมาะตะมะ ผู้ซึ่งนำชาวรามัญมาร่วมกับชาวอโธยาเพื่อรบกับพม่า ,รณ ฤทธิชัยในบทเมงราชาญีเจ้าเมืองยะไข่โจรสลัดที่ลอบตัดเสบียงและคร่าชีวิตชาวเมาะตะมะ, ดามพ์ ดัสกรรับบทสีหรั่นสหายรบคู่ใจของเมงราชาญี,อาร์ท อรรถพร สุวรรณ,แฟรงค์ สมศักดิ์ แก้วลือ,ไกรลาศ เกรียงไกรรับบทพระยาลอ ผู้สำเร็จราชการที่ถูกส่งมาปกครองเมืองเมาะตะมะ ฯลฯ
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช:อวสานหงสา กล่าวได้ว่าคือบทสรุปส่งท้ายอย่างสมบูรณ์ของโปรเจกต์ภาพยนตร์ไทยที่คาดว่าจะเป็นอีกหนึ่งหมุดหมายที่จะถูกจารึกลงในบันทึกอีกหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยถึงวีรกรรมอันหาญกล้าของกษัตริย์นักรบผู้อันเป็นที่เคารพรักและศรัทธาของปวงชนชาวไทยมาตลอด4ศตวรรษ ผู้รวบรวมผืนแผ่นดินอโยธยาให้เป็นไทยมาจนถึงทุกวันนี้ โดยถ่ายทอดบางส่วนของพระราชประวัติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชจนสิ้นราชการของพระองค์โดยจบลงที่พระองค์ทรงสวรรคต
พร้อมประจักษ์ทุกสายตากับอภิมหาภาพยนตร์ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นผลงานระดับมาสเตอร์พีซเรื่องยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล กับภาพยนตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในหัวใจคนไทย “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช: อวสานหงสา” 9 เมษายนนี้ทุกโรงภาพยนตร์
ข้อมูลเพิ่มเติม ปันปัน เต็มฟ้า กฤษณายุธ" รับบทป็นเม้ยมะนิก
เป็นราชธิดาของศิริสุธรรมราชา เจ้าเมืองเมาะตะมะซึ่งเป็นราชบุตรของพระเจ้าบุเรงนอง แต่เนื่องด้วยศิริสุธรรราชามีมเหสีที่มีหน่อเนื้อเชื้อไขของรามัญจึงหาได้เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้านันทบุเรงไม่ ลอบฆ่าพระยาลอซึ่งคือผู้สำเร็จราชการจากหงสาที่พระเจ้านันทบุเรงแต่งตั้งให้มาปกครองเมาะตะมะ สาเหตุเพราะโกรธแค้นที่พระราชบิดาและมารดาถูกสังหาร และชาวมอญทั้งหลายยังถูกกดขี่ อดอยาก ล้มตายเลยตั้งใจจะสมทบกับชาวอโยธยาหลังจากหนีไปอยู่กับพวกโจรป่าและชาวรามัญรอสมทบกับการมาของพระนเรศเพื่อหวังสมทบและอาสาเข้าร่วมรบกับพม่า