กรุงเทพฯ--3 มี.ค.--เชฟโรเลต ประเทศไทย
- จีเอ็ม และเชฟโรเลต ประเทศไทย มีพนักงานผู้หญิงทำงานในตำแหน่งสำคัญมากมายตั้งแต่ในส่วนการผลิตไปจนถึงการตลาด
- พนักงานผู้หญิงของจีเอ็ม ประเทศไทย จีเอ็ม เพาเวอร์เทรน และเชฟโรเลต ประเทศไทยมีจำนวนประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ของพนักงานทั้งหมดซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม
- 8 มีนาคมเป็นวันสตรีสากล
เจนเนอรัล มอเตอร์ส ถือเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมยานยนต์ในด้านการส่งเสริมความก้าวหน้าในหน้าที่การงานให้กับพนักงานผู้หญิง ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด คือ การสนับสนุนให้แมรี่ บาร์ร่า เติบโตจากตำแหน่งวิศวกรขึ้นเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้นำของบริษัทภายในเวลา 30 ปี
บาร์ร่ามอบความเชื่อมั่นให้ผู้หญิงหลายคนดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงดูแลการดำเนินธุรกิจสำคัญในอุตสาหกรรมยานยนต์ซึ่งครอบครองโดยผู้ชายมายาวนาน หนึ่งในนั้นคือ อลิเชีย โบเลอร์-เดวิส รองประธานอาวุโสฝ่ายคุณภาพและดูแลลูกค้าระดับโลก ซึ่งทั้งบาร์ร่าและอลิเชียเดินทางเยือนศูนย์การผลิตจีเอ็ม ประเทศไทยในจังหวัดระยองเมื่อปีที่แล้ว
“ถือเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ต้อนรับการมาเยือนของคุณแมรี่และคุณอลิเชียที่ศูนย์การผลิตของเรา” คุณอัญชนา ศุรติขจร ผู้อำนวยฝ่ายการรับประกันความพึงพอใจลูกค้าและคุณภาพระดับภูมิภาค จีเอ็ม ประเทศไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว “ในฐานะที่เป็นผู้หญิง ดิฉันยินดีทีได้มีบุคคลต้นแบบภายในบริษัทที่ให้การสนับสนุนการทำงานอย่างเต็มที่และยกย่องความสำเร็จของเราในการผลิตรถที่ดีที่สุดและการบริการหลังการขายให้แก่ลูกค้าเชฟโรเลต ดิฉันมีกำลังใจเป็นอย่างมากที่ได้รับทราบว่าจีเอ็มมุ่งมั่นให้การสนับสนุนความก้าวหน้าในอาชีพการงานให้แก่ผู้หญิง”
คุณสกุณา ทีฆปัญญา ผู้จัดการฝ่ายรับประกันคุณภาพ จีเอ็ม เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวแสดงความชื่นชมว่า “ระหว่างการพูดคุย คุณอลิเชียไม่เพียงให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจเท่านั้นแต่เธอยังแบ่งปันแนวคิดส่วนตัวที่เน้นย้ำคุณค่าของความเป็นตัวของตัวเอง ความกล้าหาญและความมุ่งมั่น เราต้องเป็นตัวของตัวเองและมุ่งมั่นตามความเชื่อของเรา เราต้องมีความกล้าหาญที่จะรับความเสี่ยงและทดลอง
สิ่งใหม่ตลอดจนความมุ่งมั่นอุตสาหะในการทำงานไม่ว่าจะต้องเผชิญกับความท้าทายมากเพียงใดก็ตามซึ่งเป็นคำแนะนำที่ดีเยี่ยมสำหรับทั้งผู้หญิงและผู้ชายที่ทำงานในจีเอ็ม ประเทศไทย”
จากการสำรวจของแคททาลิสต์ (Catalyst) หน่วยงานที่ไม่แสวงหาผลกำไรระบุว่าจีเอ็มมีผู้หญิงดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง 6 คนจากทั้งหมด 24 คนซึ่งมากที่สุดในกลุ่มบริษัทฟอร์จูน 500 นอกจากนี้ผู้หญิงยังดำรงตำแหน่งคณะกรรมการบริหารของจีเอ็ม 4 คนจาก 14 คน มากกว่าบริษัทชั้นนำในระดับเดียวกันในปีพ.ศ. 2553 พนักงานผู้หญิงที่ทำงานในอุตสาหกรรมยานยนต์มีจำนวนน้อยกว่า 21 เปอร์เซ็นต์
แต่ปัจจุบันพนักงานประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ของจีเอ็ม ประเทศไทย จีเอ็ม เพาเวอร์เทรน และเชฟโรเลต ประเทศไทย เป็นผู้หญิง โดยดำรงตำแหน่งสำคัญในหลากหลายด้านทั้งด้านวิศวกรรม การเปิดสายการผลิตรถใหม่ การรับประกันคุณภาพ การพัฒนาเครือข่ายผู้จัดจำหน่าย และการตลาด
“เมื่อดิฉันเริ่มทำงานกับเจนเนอรัล มอเตอร์สเมื่อ 16 ปีที่แล้ว ดิฉันเป็นเพียงผู้หญิงคนที่สามในฝ่ายวิศวกรรมการผลิต หลังจากการทำงานเพียงสามปีกับจีเอ็ม ดิฉันย้ายไปทำงานฝ่ายการผลิตและเป็นผู้หญิงคนแรกที่ดำรงตำแหน่งผู้จัดการรอบการผลิตภายในศูนย์การผลิตยานยนต์ การทำงานตรงนั้นได้ดิฉันต้องเชื่อมั่นในตนเองอย่างมากและเชื่อว่าเพศไม่ควรเป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จในอุตสาหกรรมที่มีผู้ชายเป็นหลัก ดิฉันยังต้องพิสูจน์ตนเองกับเพื่อนร่วมงานว่าดิฉันสามารถทำงานนี้ได้และดิฉันอยู่ในตำแหน่งนี้ไม่ใช่เพราะดิฉันเป็นผู้หญิงแต่เป็นเพราะดิฉันสามารถทำงานนี้ได้” คุณฮวนนิต้า อัลคันทาร่า ผู้อำนวยการโรงพ่นสีและประธานกลุ่มสตรีจีเอ็ม ประเทศไทยกล่าว
“ดิฉันไม่เคยคิดว่าผู้หญิงและผู้ชายมีความแตกต่าง ดังนั้นผู้หญิงสามารถทำงานในตำแหน่งเดียวกับที่ผู้ชายทำได้ ถ้าคุณต้องการเป็นผู้นำ คุณต้องปฏิบัติตนเหมือนกับเป็นผู้นำ คุณต้องแสดงให้ทีมและพนักงานคนอื่นๆ เห็นว่าคุณสามารถเป็นผู้นำได้ คุณไม่สามารถทำงานตามความรับผิดชอบแค่นั้น แต่คุณต้องทำงานให้ดีที่สุดในตำแหน่งของคุณ ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ มีแนวคิดริเริ่มและทำให้เหนือกว่าความคาดหมายในตำแหน่งของคุณ” สรัญญา ญาติเสมอ ผู้จัดการกลุ่มวิศวกรรมเพาเวอร์เทรน จีเอ็ม ประเทศไทยและจีเอ็ม เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว
การเพิ่มบทบาทของผู้หญิงในตำแหน่งสำคัญที่มีอำนาจในการตัดสินใจช่วยส่งเสริมธุรกิจของจีเอ็มได้เป็นอย่างดี รายงานของบริษัทวิจัยนีลเส็นเมื่อปีพ.ศ. 2554 ระบุว่าผู้หญิงสามารถผลักดันหรือช่วยผลักดันการตัดสินใจซื้อรถได้มากเท่าเทียมกับผู้ชายทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก
“การมีผู้หญิงทำงานในหลากหลายตำแหน่งหน้าที่ทั่วทั้งองค์กรจะทำให้เราสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างครอบคลุมครบถ้วน” โบเลอร์-เดวิส กล่าว
โบเลอร์-เดวิส กล่าวถึงความท้าทายของผู้หญิงในอุตสาหกรรมนี้ว่า “การเป็นผู้หญิงทำงานในอุตสาหกรรมที่ครอบครองโดยผู้ชายนั้นจะต้องเริ่มต้นที่ความมุ่งมั่นในการแสดงความสามารถที่เหนือกว่าและมีความอุตสาหะในการรับมือกับความหลากหลาย การแสดงความมุ่งมั่นทุ่มเทด้วยการทำงานอย่างยอดเยี่ยมให้ผู้อื่นได้เห็นจะช่วยขจัดคำถามที่ว่าคุณเหมาะสมกับงานหรือไม่”
“อย่างไรก็ตามความมุ่งมั่นอย่างเดียวคงไม่เพียงพอแต่ต้องขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมขององค์กรที่จะให้ความสำคัญและตอบแทนคนที่ทำงานหนักที่สุดและเฉลียวฉลาดที่สุดในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมให้กับลูกค้าและสร้างผลการดำเนินงานที่ดีให้แก่บริษัทโดยไม่แบ่งแยกเพศเชื้อชาติหรือรสนิยมทางเพศ จีเอ็มมีความมุ่งมั่นในการส่งเสริมความก้าวหน้าทางอาชีพการทำงานของพนักงานมากกว่าอีกหลายบริษัทในอุตสาหกรรมยานยนต์”