กรุงเทพฯ--6 มี.ค.--newsperfect
จากวิกฤตราคายางพาราตกต่ำ ผนวกกับการให้เงินสนับสนุนการล้มยางเพื่อปลูกพืชทดแทนของ สำนักงานสงเคราะห์กองทุนสวนยาง (สกย.) ที่จะเริ่มนำมาใช้ในปี 2558 – 2565 ทีมีแนวทางการสนับสนุนให้ล้มยางและปลูกปาล์มน้ำมัน ปีละ 100,000 ไร่ ซึ่งเมื่อรวมกับพื้นที่ที่เริ่มขยายการปลูกไปทางภาคตะวันออกและภาคอีสาน และการล้มต้นปาล์มเก่าที่อายุมาก จะทำให้การใช้กล้าปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นถึงปีละ 400,000 ไร่ทีเดียว ปาล์มน้ำมันจึงถือเป็นพืชดาวเด่นที่แปลงเพาะกล้า เริ่มลงทุนขยายกันมากขึ้น นอกจากนี้ยังได้มีการจัดให้หน่วยงานในกลุ่มประเทศอาเซียน ได้เข้ามาศึกษาดูงานเพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจโดยเริ่มจากประเทศพม่า และจะขยายไปยังกัมพูชาและฟิลิปปินส์ต่อไป แปลงเพาะกล้าเพื่อจำหน่าย และได้รับการจดทะเบียนจากกรมวิชาการเกษตรในปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 300 แปลง ซึ่งส่วนมาก จะไม่ได้พิจารณาการซื้อเมล็ดปาล์มและต้นกล้า ราคาถูกๆเหมือนยุคเดิม เพราะปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่สามารถเก็บเกี่ยวได้มากกว่า 20 ปี แต่แปลงเพาะจะเลือกพันธุ์ปาล์มที่ให้ผลผลิตสูง ทนแล้ง เปอร์เซนต์น้ำมันดี และมีตัวอย่างของผลผลิตที่เห็นผลได้ชัดเจน
นายโกศล นันทิลีพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีไอ อะโกรเทค จำกัด กล่าวว่า ทิศทางของปาล์มน้ำมันมีแนวโน้มดีมาก และสัมพันธ์กับเกษตรกรชาวสวนปาล์มที่เริ่มใส่ใจในเรื่องพันธุ์และการจัดการสวนอย่างจริงจัง ชาวสวนปาล์มรุ่นใหม่ จึงจะระบุพันธุ์ปาล์มที่ต้องการกับแปลงเพาะได้เลย ว่าต้องการพันธุ์ไหนและด้วยระยะเวลาที่ผ่านมา ซีพีไอ ไฮบริด ได้พิสูจน์ให้ชาวสวนปาล์มได้เห็นแล้วว่า เป็นพันธุ์ปาล์มที่ดี มีศักยภาพ จึงมีแปลงเพาะที่สนใจได้ติดต่อเข้ามาที่บริษัทฯ เพื่อขอซื้อเมล็ดงอกและต้นกล้าเล็กอยู่หลายราย
"บริษัท ซีพีไอ อะโกรเทค จำกัด จึงได้วางแผนการทำธุรกิจเจาะแปลงเพาะขึ้น โดยทางบริษัท ซัพพลาย เมล็ดงอก ( Germinated seed ) และต้นกล้าปาล์มเล็ก (อายุ 3-4 เดือนหลังลงปลูก) โดยแถมพ่วงบริการเรื่องการจัดการโรงเรือน เทคนิคการอนุบาล โดยส่งนักวิชาการของบริษัทฯ เข้าให้คำแนะนำตั้งแต่ลงปลูก จนถึงพร้อมจำหน่าย และมีการวางแผนการตลาด ในเรื่องของการจัดทำอุปกรณ์ส่งเสริมการขายให้กับแปลงเพาะและช่วยโปรโมททางสื่อต่างๆ ให้อย่างเป็นระบบ ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็น ระบบเฟรนไชส์ได้ เพียงแต่เราเป็นคนแนะนำเท่านั้น ส่วนการจัดทำจัดซื้อเราให้อิสระกับแปลงเพาะเป็นผู้ตัดสินใจเลือก ซัพพลายเออร์เองทั้งสิ้น" นายโกศลกล่าว
โดยในต้นปีที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้จัดอบรมสำหรับผู้ประกอบการแปลงเพาะ ซึ่งได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างดีจนต้องขยายออกเป็น 2 รุ่น สำหรับผู้ที่สนใจการทำธุรกิจแปลงเพาะกล้าปาล์ม สามารถติดต่อได้ที่ 02 679 9166 ต่อ 294 หรือnutthawut.k@cpi-th.com