กรุงเทพฯ--13 มี.ค.--เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.)กระทรวงอุตสาหกรรม รุกขับเคลื่อนอุตสาหกรรมแฟชั่นไทย ปี 58 สู่การเป็นที่ยอมรับในวงการแฟชั่นระดับอาเซียน ผ่านกลยุทธ์สร้างพื้นที่เพื่อส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแฟชั่นภายใต้แนวคิด “ดี สเปซ” (DSpace) ดีไซน์ (Design)ดีเวลลอป(Developed) และดำเนินการโดยดีไอพี (DepartmentofIndustrialPromotion: DIP) กลยุทธ์การพัฒนาอุตสาหกรรมแฟชั่นครบวงจรสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ (ValueCreation) ตั้งแต่กระบวนการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์การพัฒนาตราสินค้าการเชื่อมโยงสู่เครือข่าย (Supply Chain) ทั้งภาคการผลิตและธุรกิจ การต่อยอดสู่ช่องทางการค้ารวมทั้งการขยายโอกาสทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศผ่านกิจกรรม “ดี สเปซ” (D Space): “ThailandFashionDesignBrands Developed by DIP”ภายใต้ 2 กิจกรรมสำคัญ ได้แก่ “กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์และต่อยอดตราสินค้าสู่อาเซียน” และ “กิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในอุตสาหกรรมแฟชั่น”
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า อุตสาหกรรมแฟชั่นเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจโดยเฉพาะประเทศไทยมีความได้เปรียบในหลายด้าน ได้แก่ ทักษะฝีมือ โลจิสติกส์ความพร้อมด้านวัตถุดิบ ตลอดจนได้สะสมความเชี่ยวชาญด้านการผลิตมาอย่างยาวนาน จึงทำให้อุตสาหกรรมแฟชั่นทั้ง3 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเครื่องหนังและรองเท้า และ อัญมณีและเครื่องประดับ มีความโดดเด่นเป็นที่ยอมรับในระดับสากลโดยในปี 2557 มีมูลค่าส่งออกต่อปีสูงกว่า 607,200 ล้านบาทและก่อให้เกิดการจ้างงานรวมกว่า 2.2 ล้านคน กระทรวงอุตสาหกรรมจึงตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมแฟชั่นจึงได้ดำเนิน “โครงการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมแฟชั่นไทย” โดยดำเนินการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมแฟชั่นทั้งด้านการเพิ่มผลิตภาพการผลิตและการพัฒนานวัตกรรมการออกแบบให้ตรงกับความต้องการตลาดเป้าหมาย สร้างเสริมปัจจัยที่จะก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มต่อสินค้าแฟชั่นแบรนด์ไทยทั้งในเชิงการสร้างเอกลักษณ์ของสินค้า สร้างการจดจำตราสินค้าให้แบรนด์ไทยสามารถแข่งขันได้ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
ดร.อรรชกา กล่าวต่อว่า จากที่ปัจจุบันอุตสาหกรรมแฟชั่นมีการแข่งขันสูงทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ฉะนั้นผู้ประกอบการไทยจึงจำเป็นต้องพัฒนาตนเองโดยสิ่งสำคัญคือต้องทำให้สินค้านั้นเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายด้วยการสร้างตราสินค้าให้เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับในวงการแฟชั่นและคนทั่วไป นอกจากนี้ คุณภาพของสินค้าแฟชั่นก็เป็นสิ่งสำคัญที่บ่งชี้ถึงมาตรฐาน เอกลักษณ์และคุณค่าของสินค้านั้นๆอย่างไรก็ดีการที่จะทำให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ ผู้ประกอบการจะต้องได้รับความรู้ความเข้าใจ คำแนะนำและประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันในตลาดการค้า และยกระดับความสามารถในการกำหนดราคาให้สูงกว่าสินค้าประเภทเดียวกันที่ยังไม่มีตราสินค้าถือเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value creation) ให้กับอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี
นายอาทิตย์ วุฒิคะโร อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกล่าวเพิ่มเติมว่ากสอ. ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดำเนินกิจกรรมด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการต่อยอดตราสินค้าในอุตสาหกรรมแฟชั่น ซึ่งตรงกับความต้องการของกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนังและรองเท้า อัญมณีและเครื่องประดับจึงได้จัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมผู้ประกอบการแต่ละวิสาหกิจให้ได้รับการต่อยอดสินค้าเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ของตนเองให้เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับในวงการแฟชั่นระดับอาเซียน ตามยุทธศาสตร์การส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรมให้เกิดการเชื่อมโยงกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อการแข่งขันในระดับสากล ผ่านกิจกรรม “Thailand FashionDesign Brands Developed byDIP”ภายใต้ “กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์และต่อยอดตราสินค้าสู่อาเซียน”และ “กิจกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในอุตสาหกรรมแฟชั่น” ในกรอบแนวคิดหลัก ดีสเปซ (DSpace) ซึ่งอักษร D ประกอบด้วย 1. การออกแบบ(Design) คือการออกแบบผลิตภัณฑ์ (สำเร็จรูป) ให้สอดรับกับแนวโน้มแฟชั่นและตรงตามความต้องการของตลาดและสร้างจุดขาย รวมทั้งสร้างสรรค์วัตถุดิบให้มีคุณภาพมีความหลากหลายและมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ตรงกับการนำไปผลิตผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป 2. การพัฒนา(Developed)คือการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในอุตสาหกรรมแฟชั่น ทั้งในเรื่องบุคลากร นักออกแบบกระบวนการผลิต และการนำนวัตกรรมมาใช้ และ 3.ดำเนินการอย่างบูรณาการโดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DepartmentofIndustrialPromotion:DIP)ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการสู่การพัฒนาเป็นศูนย์กลางแฟชั่นของอาเซียน
อย่างไรก็ตาม กิจกรรมดังกล่าวเป็นเสมือนการสร้างพื้นที่ในการพัฒนาอุตสาหกรรมแฟชั่นตั้งแต่กระบวนการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การพัฒนาตราสินค้าเชื่อมโยงสู่เครือข่าย (SupplyChain)ทั้งภาคการผลิตและธุรกิจ ตลอดจนต่อยอดสู่ช่องทางการค้ารวมทั้งการขยายโอกาสทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์และตราสินค้าแฟชั่นไทยสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ (ValueCreation) โดยคาดหวังให้ผู้ประกอบการทั้ง 3 กลุ่มอุตสาหกรรมสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และต่อยอดตราสินค้าให้มีมูลค่าเพิ่ม หรือแนวความคิดการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆตลอดจนสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์และตราสินค้าเผยแพร่ให้เป็นที่รับรู้ในตลาดอาเซียน โดยตั้งเป้าส่งเสริมให้เกิดการใช้วัตถุดิบที่พัฒนาขึ้นในประเทศมากยิ่งขึ้น มีการจับจ่ายใช้สอยผลิตภัณฑ์ที่เป็นแบรนด์ไทยเพิ่มขึ้น ทั้งจากความต้องการภายในประเทศและจากนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศมีการสั่งซื้อหรือส่งออกวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปจากอุตสาหกรรมแฟชั่นไปต่างประเทศเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีการยอมรับแบรนด์ไทยในภูมิภาคอาเซียนและภูมิภาคอื่น ๆ เป็นต้น ทั้งนี้ คาดว่าในปี 2558 จะมีผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 1,900 คน และกิจการไม่น้อยกว่า 370 กิจการ เข้าร่วมในกิจกรรมการพัฒนาต่าง ๆนายอาทิตย์ กล่าว
กระทรวงอุตสาหกรรมจึงมอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม?จัดงานแถลงข่าวความพร้อมในการจัดกิจกรรม “Thailand Fashion Design Brands Developed by DIP” เมื่อเร็วๆนี้ ณ ลานคริสตัล คอร์ท ชั้น เอ็ม ศูนย์การค้าสยามพารากอนโดยมีผู้เชี่ยวชาญในแวดวงอุตสาหกรรมแฟชั่นร่วมให้ความรู้ในงานเสวนา “ThailandFashionIndustry” “ASEANNEWPERSPECTIVE” โดยคุณสมชัย ส่งวัฒนา จากแบรนด์“FLYNOW”และแฟชั่นโชว์สุดอลังการจากนักแสดง-นางแบบชื่อดังคุณแพนเค้ก-เขมนิจ จามิกรณ์ โดยมีผู้ประกอบการแบรนด์แฟชั่นและประชาชนทั่วไปร่วมงานเป็นจำนวนมาก
สำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแฟชั่นที่สนใจเข้ารับการส่งเสริมและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่กิจการ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา 1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทร. 023678219, 023678221, 023678290 และติดตามข่าวสาร กิจกรรม โครงการต่าง ๆ ได้ที่ www.dip.go.th หรือwww.facebook.com/dip.pr หรือTwitter: DIPThailand