กรุงเทพฯ--23 มี.ค.--ซีพีเอฟ
บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารจำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ย้ำ ตรวจสอบเข้มงวดการจัดหาวัตถุดิบในห่วงโซ่การผลิตกุ้ง เพื่อยืนยันการทำประมงอย่างถูกกฏหมายและไม่มีปัญหาแรงงาน นายโฆษิต โลหะวัฒนะกุล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโสด้านการตลาดการค้าต่างประเทศ ซีพีเอฟ กล่าวว่าสืบเนื่องจากการตรวจสอบห่วงโซ่การผลิตทุกขั้นตอนของบริษัทฯเมื่อเร็วๆนี้ เป็นการตรวจสอบมากกว่าในห่วงโซ่การผลิตกุ้งที่บริษัทดำเนินธุรกิจอยู่ในขณะนี้ที่ประกอบด้วย อาหารสัตว์,ฟาร์มเพาะเลี้ยงและฟาร์มกุ้ง เพื่อป้องกันระบบการผลิตทั้งหมดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้ ปลาป่นที่มาจากผลพลอยได้จากการผลิตสินค้าปลา(by product) ที่ ซีพีเอฟ ใช้ในการผลิตอาหารกุ้งนั้นได้รับการรับรอง IFFO RS CoC ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานนานาชาติในการใช้ปลาป่นอย่างยั่งยืน ขณะที่สัดส่วนการใช้ปลาป่นที่ได้มาจากการจับปลา (by catch) เราได้จำกัดจำนวนซัพพลายเออร์ของเราเหลือเพียง 30ราย และเรือประมง 380ลำ (ที่ส่งวัตถุดิบให้กับโรงงานปลาป่น) ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่บริษัทสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้บนพื้นฐานของความยั่งยืนและปราศจากประเด็นต่างๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัทฯคงดำเนินการด้วยวิธีต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ในการตรวจสอบเอกสารและติดตามอย่างเคร่งครัดสำหรับการจัดหาปลาป่นที่ได้มาจากการจับปลา
“บริษัทฯขอยืนยันว่าการจัดหาปลาป่นในห่วงโซ่การผลิตของเราปราศจากปัญหาแรงงาน และต้องไม่ลืมประเด็นสำคัญที่ว่า ซีพีเอฟ เป็นผู้ผลิตอาหารกุ้งและเป็นผู้ผลิตกุ้งที่ได้มาจากการเลี้ยงในฟาร์ม บริษัทไม่เคยมีกองเรือประมงและไม่ได้เป็นผู้ผลิตปลาป่น” นายโฆษิต กล่าวย้ำ
ปัจจุบัน ซีพีเอฟ ซื้อปลาป่นจากโรงงานผู้ผลิต 30ราย ลดลงจากที่ผ่านมาที่ซื้อมากกว่า 50ราย โดยโรงงานปลาป่นทั้ง 30รายและเรือประมงจำนวน 380ลำ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทนั้นได้ผ่านตรวจสอบเอกสารทุกขั้นตอนจากโรงงานย้อนกลับไปจนถึงเรือประมง ตลอดจนการดำเนินการตามขั้นตอนบันทึกจำนวนลูกเรือที่ลงเรือก่อนออกจากท่าเรือ
นอกจากนี้ บริษัทฯยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการตรวจสอบเอกสารและการติดตามโรงงานปลาป่นและเรือประมงที่ส่งปลาป่นที่ได้มาจากการจับปลาให้กับบริษัทอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการตรวจสอบของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และกรมประมง ซึ่งโรงงานปลาป่น (และเรือประมงที่อยู่ในระบบของบริษัทฯดังที่กล่าวมาข้างต้น) ตกลงที่จะทำการบันทึกจำนวนและลักษณะของลูกเรือขณะที่ออกจากฝั่งและเมื่อกลับเข้าท่า การทำสมุดบันทึกการประมงและรายงานการจับปลาของเรือ รวมถึงตกลงที่จะให้มีการตรวจสอบตามปกติเพื่อรับรองการเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบให้กับ ซีพีเอฟ
นายโฆษิต กล่าวว่า ซีพีเอฟ ยังมีการตรวจสอบระบบและยืนยันความถูกต้องโดยบุคคลที่ 3 (third party) เพื่อยืนยันถึงความโปรงใสและเปิดเผยระบบห่วงโซ่การผลิตกุ้ง ซึ่งบริษัทเชื่อมั่นว่าการแก้ไขของบริษัทบรรลุผลสามารถยืนยันได้ว่าผลผลิตกุ้งของบริษัทไม่ได้มาจากปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาแรงงาน ซึ่งปัจจุบันการตรวจสอบย้อนกลับและการตรวจสอบเอกสารของ ซีพีเอฟ ยังดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเป็นอิสระ ภายใต้การตรวจสอบของ Underwriters Laboratories (UL) ซึ่งเป็นบริษัทตรวจสอบชั้นนำระดับโลก
ซีพีเอฟ เชื่อว่าคนจำนวนมากที่ทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมประมงต้องทำงานอย่างหนัก ทั้งยังเป็นชาวประมงที่มีความซื่อสัตย์และเป็นผู้สร้างวัฒนธรรมความเป็นอยู่ในท้องทะเลทั้งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ดังนั้น บริษัทจึงมีการรับซื้อปลาป่นในราคาที่สูงกว่าราคาตลาด เพื่อเป็นการสร้างมาตรฐานในระบบห่วงโซ่การผลิตของบริษัทและสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่าผลผลิตและสินค้ากุ้งของบริษัทไม่มีการทำลายสิ่งแวดล้อมและไม่มีปัญหาแรงงาน บริษัทเชื่อว่าเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องยึดมั่นในระบบดังกล่าวอย่างเข้มแข็งและซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพในการสร้างงานให้คนไทยหลายล้านคนที่ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมนี้
การดำเนินการต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น เป็นความพยายามของบริษัทฯ ในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและแรงงานในอุตสาหกรรมประมงของประเทศไทยที่เกิดขึ้น ซึ่งถูกระบุไว้ในรายงานของEnvironmental Justice Foundation หรือ EJF เมื่อกลางปีที่แล้ว เกี่ยวกับมาตรฐานแรงงานในอุตสาหกรรมประมงไทย ซึ่งประเด็นดังกล่าวจะมีผลต่อการประกาศ “ใบเหลือง”ของสหภาพยุโรปแก่ประเทศไทย จากการการทำประมงที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของNon-Illegal, Unreported, Unregulated Fishing (Non-IUU)./