กรุงเทพฯ--30 มี.ค.--เวเบอร์ แชนวิค
ผลสำรวจจากมาสเตอร์การ์ดเผย หญิงไทยมีศักยภาพในการเป็นผู้นำทางธุรกิจสูงสุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ผู้หญิงไทยแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางศักยภาพความด้านเป็นผู้นำทางธุรกิจ สูงที่สุด
ผู้หญิงไทยเป็น 1 ใน 10 ประเทศ ได้รับการศึกษาระดับอุดมศึกษามากกว่าผู้ชาย
ผู้หญิงไทยดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารในองค์กรสูงเป็นอันดับ 3 ของภูมิภาค
จากรายงานการสำรวจดัชนีความก้าวหน้าของสตรี ที่จัดทำขึ้นล่าสุด (ครึ่งปีหลังของปี 2557) โดยมาสเตอร์การ์ด เผยว่าหญิงไทยได้พิสูจน์ให้เห็นถึงศักยภาพในการเป็นผู้นำทางธุรกิจสูงสุด แม้จะเป็นเพศที่ถูกมองว่าอ่อนแอกว่าในหลายๆประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในขณะที่ ดัชนีความก้าวหน้าในศักยภาพของเพศหญิงในประเทศไทยในปี 2558 เพิ่มขึ้น 20.4 จุด เป็น 62.7 ผู้หญิงจำนวนมากในประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคถูกจำกัดโอกาสในการเป็นผู้นำทางธุรกิจแม้พวกเธอจะมีการศึกษาที่เหมาะสมก็ตาม
ผลสำรวจพบว่าการสำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษาและภาวะผู้นำในธุรกิจในประเทศไทยมีความเกี่ยวพันกัน (ผู้หญิงที่มีการศึกษาในระดับอุดมศึกษามีดัชนีอยู่ที่ 123.6 และมีโอกาสในการเป็นผู้นำธุรกิจอยู่ที่ 62.7) จากการสำรวจทั้งหมด 16 ประเทศ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกพบว่า ผู้หญิงใน 10 ประเทศ ได้รับการศึกษาระดับอุดมศึกษามากกว่าผู้ชาย ประเทศฟิลิปปินส์ (ดัชนีการศึกษาระดับอุดมศึกษาอยู่ที่ 130.8; มีดัชนีความเป็นผู้นำธุรกิจอยู่ที่ 92.5) และ ประเทศนิวซีแลนด์ (มีดัชนีการศึกษาระดับอุดมศึกษาอยู่ที่ 146.3; และดัชนีความเป็นผู้นำธุรกิจอยู่ที่ 70.2) ประเทศไทยติด 1 ใน 5 ประเทศ (นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ศรีลังกา) ซึ่งมีคะแนนความสามารถที่ 100 คะแนน นั่นหมายความว่าผู้หญิงในประเทศเหล่านี้มีการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาหรืออุดมศึกษาเท่าเทียมหรือมากกว่าผู้ชาย
ประเทศไทยยังมีอัตราการลดลงสูงสุดอยู่ (ดัชนีที่ 59.4, ลดลง 7.2 จุด ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2557) ทำให้ดัชนีของประเทศไทยนั้นถดถอยลงที่สุด หนทางสู่ความเท่าเทียมทางเพศยังคงต้องการการพัฒนาอย่างมากในประเทศ ถึงแม้ผู้หญิงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะได้รับการศึกษามากกว่าผู้ชาย แต่แนวโน้มที่จะนำไปสู่ความเท่าเทียมทางเพศในด้านการเป็นผู้นำทางธุรกิจ การเป็นเจ้าของธุรกิจ และการมีส่วนร่วมทางการเมือง ยังคงเป็นไปอย่างล่าช้าในหลายๆ ประเทศ
ความเป็นผู้นำทางธุรกิจ ยังคงเป็นปัจจัยที่อ่อนไหวที่สุดในปีที่แล้ว (และตั้งแต่ปี 2007)
ผู้หญิงไทยแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางศักยภาพสูงที่สุด ในขณะที่นิวซีแลนด์มีตัวเลขอยู่ที่ (50.6) และฟิลิปปินส์ (50.1) ซึ่งมีเพียงสองประเทศนี้เท่านั้นที่มีสัดส่วนผู้หญิงมากกว่า 50 คนต่อผู้ชาย 100 คนที่เป็นเจ้าของธุรกิจ ระดับผู้บริหารในองค์กรและระดับผู้นำในคณะรัฐบาล
ดัชนีความก้าวหน้าของสตรี ที่จัดทำขึ้นโดยมาสเตอร์การ์ด
ประเทศ คะแนน การจ้างงาน การมีส่วนร่วม การจ้างงานประจำ ความ การศึกษา การศึกษา ความเป็นผู้นำ เจ้าของธุรกิจ ตำแหน่งผู้บริหารในองค์กร ระดับผู้นำในคณะรัฐบาล
โดยรวม ในการทำงาน สามารถ ระดับมัธยม- ระดับอุดม-
ศึกษา ศึกษา
นิวซีแลนด์ 77.3 91.3 83.4 107.8 100.0 104.9 146.3 50.6 43.7 70.2 42.2
ออสเตรเลีย 76.0 90.8 82.5 104.5 97.3 94.6 135.3 49.7 50.6 56.5 43.0
ฟิลิปปินส์ 72.6 76.5 63.4 92.4 100.0 107.2 130.8 50.1 36.4 92.5 37.3
สิงคโปร์ 70.5 86.2 74.3 109.8 97.9 100.0 95.8 41.5 42.1 50.3 33.8
ไต้หวัน 63.0 90.2 81.4 110.0 97.6 95.3 105.8 28.4 25.2 26.9 33.9
เวียดนาม 66.0 81.8 90.1 74.2 100.0 111.2 102.1 35.2 42.0 32.3 32.1
ฮ่องกง 63.2 86.9 75.5 110.0 97.6 95.3 105.3 29.7 25.4 45.3 22.9
จีน 63.3 91.2 83.6 99.6 98.4 96.9 111.5 28.7 40.3 19.2 30.6
ไทย 59.4 88.1 80.3 96.6 100.0 106.5 123.6 23.7 32.9 62.7 6.5
อินโดนีเซีย 57.3 78.4 61.4 100.3 91.1 97.0 85.5 26.3 29.9 30.3 20.2
มาเลเซีย 53.6 75.9 57.5 100.6 98.8 97.6 128.7 20.5 28.9 18.0 16.6
เกาหลีไต้ 51.6 83.2 69.1 106.0 85.9 100.0 73.8 19.2 30.6 12.4 18.6
ญี่ปุ่น 48.8 83.3 69.4 102.8 94.8 100.3 90.0 14.7 20.6 12.8 12.1
อินเดีย 44.2 59.8 35.8 99.9 85.7 94.3 78.0 16.8 13.2 27.6 13.1
บังกลาเทศ 44.6 83.3 69.3 102.4 87.6 117.0 76.8 12.1 11.7 6.2 24.7
ศรีลังกา 46.2 68.2 46.5 100.5 100.0 104.8 235.9 14.5 13.4 37.1 6.1
รายงานดัชนีความก้าวหน้าของสตรีที่จัดทำขึ้นโดยมาสเตอร์การ์ดนี้ ถือเป็นเครื่องมือสำหรับการวัดจุดยืนของผู้หญิงในเชิงสังคมและเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยดัชนีนี้ประกอบไปด้วย 3 ปัจจัยหลักที่มีรากฐานมากจากปัจจัยชี้วัดย่อย ได้แก่ การจ้างงาน(การมีส่วนร่วมในการทำงานและการจ้างงานประจำ) ความสามารถ (การศึกษาระดับมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษา) และความเป็นผู้นำ (เจ้าของธุรกิจ ตำแหน่งผู้บริหารในองค์กร และผู้นำทางการเมือง)
คะแนนข้างต้นแสดงถึงสัดส่วนของผู้หญิงต่อผู้ชาย 100 คนสำหรับแต่ละหมวดหมู่ คะแนนที่สูงกว่า 100 คะแนน จะถูกตัดออกให้เหลือ 100 เพื่อให้ได้คะแนนดัชนีชี้วัดโดยรวมที่ 100 คะแนน เพื่อให้แน่ใจว่าแต่ละองค์ประกอบจะไม่ทำให้คะแนนโดยรวมทั้งหมดของผลสำรวจชิ้นนี้เอนเอียงไปทางใดทางหนึ่ง
สำหรับรายงานของผลสำรวจฉบับสมบูรณ์ สามารถดูได้ที่: www.masterintelligence.com