กรุงเทพ--3 พ.ย.--กระทรวงสาธารณสุข
จากการสำรวจผลกระทบจากเศรษฐกิจยุคเงินบาทลอยตัว โดยเฉพาะกลุ่มตกงาน พบว่ามีความเครียดสูงขึ้นถึง 80% หรือฟุ่งสูงกว่าเดิม 5 เท่าตัว ในจำนวนนี้พบว่าร้อยละ 9 คิดหาทางคลี่คลายปัญหาด้วยการประเดิมชีวิตตนเอง กระทรวงสาธารณสุขเร่งขยายคลินิคคลายเคลียด โดยไฟเขียวให้ภาคเอกชนเปิดดำเนินการได้
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ เกี่ยวกับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ในการแก้ปัญหาความเครียดของประชาชนในยุคค่าเงินบาทลอยตัว ภายหลังเป็นประธานเปิดงานมหกรรมคลายเครียด ที่กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี เมื่อเช้าวันนี้ว่า เนื่องจากขณะนี้สภาพเศรษฐกิจของประเทศไทยกำลังส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของประชาชนเป็นอย่างมาก และไม่อาจจะแก้ไขได้สำเร็จในเร็ววัน โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ตกงานพบว่า มีความเครียดสูงกว่ากลุ่มอื่น โดยสาสุดจากการสำรวจตลาดแรงงานเมื่อช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา พบว่าคนกลุ่มนี้มีความเครียดสูงถึง 80% ซึ่งสูงกว่าเดิมถึง 5 เท่าตัว จากที่ผ่านมาคนดังกล่าวมีปัญหาความเครียดเพียง 17% เท่านั้น และที่ำสำคัญไปกว่านี้ยังพบว่า ผู้ที่ตกงานประมาณร้อยละ 9 ได้มองหาช่องทางออกของปัญหา โดยคิดทำร้ายตัวเองแต่ยังไม่ถึงขั้นลงมือ ทั้งนี้คาดว่าในอีก 3 ถึง 6 เดือนข้างหน้าปัญหาหาจะรุนแรงมากขึ้น เพราะกำลังด้านการใช้จ่ายของประชาชนต้องสูงขึ้นแต่ขณะเดียวกันรายได้เข้ากระเป๋าอาจเท่าเดิมหรือลดลงกว่าเดิมก็ว่าได้
"แต่เท่าที่ผ่านมาคนไทยส่วนใหญ่มักไม่ตระหนักว่าความเครียดเป็นปัญหา จึงไม่ค่อยได้ใส่ใจกับคนรอบข้าง พอเกิดปัญหาแล้วจึงหันมาย้อนหาเหตุผลภายหลัง ซึ่งทำให้ประเทศชาติเกิดความสูบเสีย ดังนั้น เพื่อวางมาตรการการรองรับปัญหาเครียดของคนในชาติ คนจึงได้มีนโยบายให้กระทรวงสาธารณสุข เร่งขยายคลินิตคลายเครียดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยให้จัดตั้งอย่างน้อยจังหวัดละ 1 แห่ง ซึ่งที่ผ่านมาก่อนหน้าที่เศรษฐกิจยังไม่ถดถอย เราดำเนินการได้ 80 แห่ง ในจำนวนนี้อยู่ในเขตกทม.เพียง 30 แห่ง ทั้งนี้ภายในสิ้นปีนี้ กระทรวงสาธารณสุขจะตั้งคลินิคคลายเครียดในกทม.ให้ได้อย่งน้อย 50 แห่ง ซึ่งคาดว่าจะช่วยคลี่คลายความรุนแรงของสังคมได้หากพูดไปแล้วในการตื่นตัวรองรับปัญหาจากเศรษฐกิจตกต่ำของประเทศต่าง ๆ ที่ผ่านมา นับว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ตื่นตัวทางด้านนี้แห่งเดียวในโลกก็ว่าได้ และส่วนใหญ่เป็นการดำเนินการโดยภาครัฐ"
นายสมศักด์ กล่างต่อไปว่า ในการจัดตั้งคลินิคคลายเครียดครั้งนี้ ตนมีนโยบายจะให้ภาคเอกชนที่ความพร้อมเปิดดำเนินการได้ เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านงบประมาณ โดยหลักการของคลินิคดังกล่าวจะเน้นให้บริการโดยไม่เพิ่มความเดือนร้อนให้ประชาชน และลดการใช้เทคโนโลยี ทั้งนี้จะเน้นที่การฝึกปฎิบัติที่ประชาชนสามารถทำด้วยตนเองได้ อาทิ การฝึกนั่งสมาธิ การออกกำลังกาย การฝึกการหายใจเข้าออกคลายเครียดเป็นต้น โดยกรมสุขภาพจิต จะอบรมเทคนิคดังกล่าวให้เป็นเวลา 3 วัน
ทางด้านนายแพทย์ปรีชา อินโท อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันกรมสุขภาพจิตได้ร่วมกับภาคเอกชนจัดทำคู่มือคลายเครียดประมาณ 50,000 ฉบับ โดยประชาชนสามารถขอรับบริการได้ที่ปั๊มน้ำมัน ปตท.บริษัทไทยประกันชีวิต และที่กรมสุขภาพจิต นอกจากนี้ในส่วนของประชาชนที่อยู่ต่างจังหวัดยังสามารถขอรับบริการได้ที่โรงพยาบาลในสังกัดกรมสุขภาพจิต 13 แห่งทั่วประเทศ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ --จบ--