กรุงเทพฯ--7 เม.ย.--กลุ่มสารนิเทศการคลัง กระทรวงการคลัง
“เศรษฐกิจไทยในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ยังคงมีสัญญาณการชะลอตัวทั้งจากการใช้จ่ายภาคเอกชนและการส่งออก อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยได้รับแรงสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวที่สามารถขยายตัวในระดับสูง และภาคอุตสาหกรรมที่เริ่มกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ นอกจากนี้ เสถียรภาพเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในเกณฑ์ดี”
นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2558ว่า “เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ยังคงมีสัญญาณการชะลอตัวทั้งจากการใช้จ่ายภาคเอกชนและการส่งออก อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยได้รับแรงสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวที่สามารถขยายตัวในระดับสูง และภาคอุตสาหกรรมที่เริ่มกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ นอกจากนี้ เสถียรภาพเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในเกณฑ์ดี” ทั้งนี้ สถานการณ์เศรษฐกิจไทยล่าสุดในรายละเอียดพบว่า
การบริโภคภาคเอกชนในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ส่งสัญญาณชะลอลง สะท้อนจากยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ที่จัดเก็บบนฐานการบริโภคภายในประเทศ ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.4 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 9.5 ต่อปี โดยภาพรวมยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ หดตัวที่ร้อยละ -2.1 ต่อปีตามการหดตัวของการจัดเก็บบนฐานการนำเข้าที่หดตัวร้อยละ -8.4 ต่อปี สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 มาอยู่ที่ระดับ 68.4 เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย และการทรงตัวในระดับต่ำของราคาพืชผลทางการเกษตร อย่างไรก็ดี ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคเริ่มส่งสัญญาณบวกกลับมาขยายตัวสูงถึงร้อยละ 32.5 ต่อปี ซึ่งมาจากการนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เสื้อผ้ารองเท้าและผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ ผักผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผักผลไม้ และนาฬิกาและส่วนประกอบ เป็นต้น นอกจากนี้ ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขยายตัวได้เล็กน้อยที่ร้อยละ 0.7 ต่อปี จากการปรับตัวดีขึ้นของยอดขายรถจักรยานยนต์ในเขตภูมิภาคเป็นสำคัญที่ขยายตัวร้อยละ 11.9 ต่อปี
การลงทุนภาคเอกชนในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ยังคงชะลอตัว โดยการลงทุนภาคเอกชนในหมวดก่อสร้างสะท้อนจากปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์หดตัวที่ร้อยละ -2.4 ต่อปี สำหรับภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ส่วนหนึ่งเกิดจากการเร่งโอนอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากการคาดการณ์ของภาคเอกชนถึงการบังคับใช้ภาษีใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการรับมรดก โดยขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 10.4 ต่อปีแต่หดตัวร้อยละ -3.4 ต่อเดือน สำหรับการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ หดตัวเช่นกันที่ร้อยละ -9.6 ต่อปี อย่างไรก็ดี มีสัญญาณดีขึ้นบ้างจากปริมาณนำเข้าสินค้าทุนที่ขยายตัวร้อยละ 5.9 ต่อปี
สถานการณ์ด้านการคลังในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 สะท้อนบทบาทนโยบายการคลังในการสนับสนุนเศรษฐกิจไทย ผ่านการขาดดุลงบประมาณ โดยรัฐบาลขาดดุลงบประมาณในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 จำนวน 8.5 พันล้านบาท มาจากการจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักการจัดสรรให้ อปท.) ได้จำนวน 149.8 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.5 ต่อปี อย่างไรก็ตาม การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 เบิกจ่ายได้จำนวน 150.4 พันล้านบาท หรือหดตัวร้อยละ -13.7 ต่อปี
สำหรับอุปสงค์จากต่างประเทศผ่านการส่งออกสินค้าในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 หดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า โดยหดตัวที่ร้อยละ -6.1 ต่อปี โดยการส่งออกที่กลับมาหดตัวมีปัจจัยสำคัญมาจากการส่งออกสินค้าในหมวดสินค้าเกษตร แร่และเชื้อเพลิง ยานยนต์ และอุตสาหกรรมเกษตร โดยตลาดส่งออกที่หดตัวลง ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และอาเซียน-5 เป็นหลัก
นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ชี้แจงข้อมูลเศรษฐกิจไทยเพิ่มเติมว่า สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทานพบว่า ภาคการท่องเที่ยวต่างชาติที่สามารถขยายตัวในระดับสูงเป็นแรงสำคัญในการสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย โดยข้อมูลเบื้องต้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 มีจำนวน 2.69 ล้านคนขยายตัวร้อยละ 29.6 ต่อปี และในช่วง 13 วันแรกของเดือนมีนาคม 2558 มีจำนวน 1.10 ล้านคน ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 27.6 ต่อปี สะท้อนการเติบโตที่แข็งแกร่งของภาคการท่องเที่ยวต่างประเทศ สำหรับ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) กลับมาขยายตัวเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 22 เดือน ที่ร้อยละ 3.5 ต่อปี อย่างไรก็ดี ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 มาอยู่ที่ระดับ 88.9 จากความกังวลต่อสภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจในประเทศ การชะลอการใช้จ่าย และคำสั่งซื้อภายในประเทศที่อ่อนแอโดยเฉพาะกำลังซื้อในภาคเกษตร จากราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง นอกจากนี้ ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 กลับมาหดตัวที่ร้อยละ -3.8 ต่อปี และ -1.3 ต่อเดือน ตามการหดตัวของผลผลิตข้าวเปลือก และยางพารา เป็นสำคัญ ส่วนผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง
ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.8ของกำลังแรงงานรวม หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 3.16 แสนคน ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปหดตัวตามการลดลงของราคาน้ำมันดิบโลกเป็นสำคัญมาอยู่ที่ร้อยละ -0.5 ต่อปี สำหรับเสถียรภาพภายนอกประเทอยู่ในระดับที่มั่นคงโดยทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูงที่ 156.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นประมาณ 2.7 เท่าสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้
รายละเอียดเพิ่มเติมปรากฏตามเอกสารแนบ
เอกสารแนบ
รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2558
“เศรษฐกิจไทยในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ยังคงมีสัญญาณการชะลอตัวทั้งจากการใช้จ่ายภาคเอกชนและการส่งออก อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยได้รับแรงสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวที่สามารถขยายตัวในระดับสูง และภาคอุตสาหกรรมที่เริ่มกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ นอกจากนี้ เสถียรภาพเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในเกณฑ์ดี”
1. การบริโภคภาคเอกชนในเดือนกุมภาพันธ์ 2558ส่งสัญญาณชะลอลงสะท้อนจากยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บบนฐานการบริโภคภายในประเทศ ณ ราคาคงที่ในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ที่ขยายตัวได้ร้อยละ 2.4 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 9.5 ต่อปี ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บบนฐานการนำเข้า ณ ราคาคงที่ ยังคงหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -8.4 ต่อปี ซึ่งส่งผลให้ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 หดตัวที่ร้อยละ -2.1 ต่อปี สอดคล้องกับปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ที่ยังคงหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -12.5 ต่อปี และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 อยู่ที่ระดับ 68.4ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า โดยเป็นการปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลต่อความไม่แน่นอนในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย และการทรงตัวในระดับต่ำของราคาพืชผลทางการเกษตรโดยเฉพาะข้าวและยางพารา อย่างไรก็ดี ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ขยายตัวเป็นบวกเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ 0.7 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่าขยายตัวที่ร้อยละ 2.0 ต่อเดือน เนื่องจากการปรับตัวดีขึ้นของยอดขายรถจักรยานยนต์ในเขตภูมิภาคเป็นสำคัญ โดยขยายตัวร้อยละ 11.9 จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -2.2 ต่อปีนอกจากนี้ ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 พบว่า ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 32.5 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่าขยายตัวที่ร้อยละ 10.0 ต่อเดือน โดยมาจากการนำเข้าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เสื้อผ้ารองเท้าและผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ ผักผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผักผลไม้ และนาฬิกาและส่วนประกอบ ซึ่งขยายตัวร้อยละ 48.4 32.6 73.2 และ 52.1 ต่อปี เป็นต้น
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน 2556 2557 2557 2558
Q1 Q2 Q3 Q4 ม.ค. ก.พ. YTD
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (%yoy) -0.7 0.4 -0.2 0.3 2.3 -0.9 -2.0 -2.1 -2.0
%qoq_SA / %mom_SA -1.8 -1.2 0.6 1.3 2.1 -3.1 -
ปริมาณนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค (%yoy) 4.5 1.5 -3.9 0.4 0.4 8.8 -0.2 32.5 13.7
%qoq_SA / %mom_SA -3.4 3.4 0.3 7.8 -7.7 10.0 -
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง (%yoy) -6.1 -41.4 -55.3 -37.7 -38.3 -27.9 -11.4 -12.5 -12.0
%qoq_SA / %mom_SA -23.9 0.8 -6.6 0.2 -6.5 -2.7 -
ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ (%yoy) -6.0 -14.3 -20.8 -18.2 -8.1 -7.8 14.5 0.7 6.9
%qoq_SA / %mom_SA -8.0 -2.0 6.7 -4.1 -0.1 2.0 -
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค 70.2 65.0 59.9 61.2 69.3 69.6 69.7 68.4 68.2
2. การลงทุนภาคเอกชนในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ยังคงชะลอตัว โดยการลงทุนภาคเอกชนในหมวดก่อสร้างสะท้อนจากปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 พบว่าหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -2.4 ต่อปี แต่เมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออก(m-o-m SA) พบว่า สามารถขยายตัวได้ร้อยละ 2.2 ต่อเดือน สะท้อนให้เห็นว่าการลงทุนในหมวดการก่อสร้างยังคงทรงตัว อย่างไรก็ดี ภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ยังคงขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 10.4 ต่อปี ส่วนหนึ่งเกิดจากการเร่งโอนอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากการคาดการณ์ของภาคเอกชนถึงการบังคับใช้ภาษีใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการรับมรดก สำหรับการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -9.6 ต่อปี อย่างไรก็ดี มีสัญญาณดีขึ้นจากปริมาณนำเข้าสินค้าทุนที่ขยายตัวได้ร้อยละ 5.9 ต่อปี
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน 2556 2557 2557 2558
Q1 Q2 Q3 Q4 ม.ค. ก.พ. YTD
เครื่องชี้การลงทุนก่อสร้าง
ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ (%yoy) 18.1 -2.3 -5.6 -5.9 -2.1 3.4 12.0 10.4 11.1
%qoq_SA / %mom_SA -11.3 -3.0 9.4 7.1 -4.1 -3.4 -
ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ (%yoy) 8.3 -3.2 -2.4 -3.0 -2.9 -4.8 -5.8 -2.4 -4.2
%qoq_SA / %mom_SA -1.8 0.5 -2.2 -1.4 0.4 2.2 -
เครื่องชี้การลงทุนในเครื่องจักร
ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ (%yoy) -8.4 -26.8 -36.6 -30.6 -20.4 -15.8 -13.7 -9.6 -11.7
%qoq_SA / %mom_SA -15.6 -1.4 0.0 0.5 -9.2 -0.3 -
ปริมาณนำเข้าสินค้าทุน (%yoy) -5.9 -8.4 -14.1 -12.6 0.0 -3.1 3.4 5.9 4.6
%qoq_SA / %mom_SA -6.4 1.8 6.9 -5.4 -0.7 2.9
ปริมาณนำเข้าสินค้าทุนหักเครื่องบิน
เรือและรถไฟ (%yoy) -10.2 -5.7 -11.4 -4.4 -4.0 1.1 -4.5 10.2 2.3
%qoq_SA / %mom_SA -0.4 1.8 0.0 -0.4 -6.5 6.3
3. เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจไทยด้านการคลังในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 สะท้อนบทบาทนโยบายการคลังในการสนับสนุนเศรษฐกิจไทย ผ่านการขาดดุลงบประมาณโดยดุลงบประมาณในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ขาดดุลจำนวน -8.5 พันล้านบาท ทั้งนี้ ในการเบิกจ่ายงบประมาณ รัฐบาลสามารถเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ได้จำนวน 150.4 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -13.7 ต่อปี โดยรายจ่ายงบประมาณปีปัจจุบันสามารถเบิกจ่ายได้จำนวน 131.4 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -14.7 ต่อปี แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ 109.7 พันล้านบาท หดตัว ร้อยละ -22.7 ต่อปี และ (2) รายจ่ายลงทุน 21.8 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 78.4 ต่อปี สำหรับการจัดเก็บรายได้รัฐบาลพบว่า รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักการจัดสรรให้ อปท.) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ได้จำนวน 149.8 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.5 ต่อปี โดยมีรายการสำคัญ คือ (1) ภาษีฐานบริโภค (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) จัดเก็บได้ลดลงร้อยละ -2.7 ต่อปี จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าที่ลดลงร้อยละ -8.9 ต่อปี อย่างไรก็ดี การจัดภาษีมูลค่าเพิ่มจากการบริโภคภายในประเทศขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 1.6 ต่อปี สะท้อนการบริโภคที่ยังคงขยายตัวได้ดี และ (2) การจัดเก็บภาษีฐานรายได้ จัดเก็บได้ลดลงร้อยละ -0.8 ต่อปี โดยการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้ลดลงร้อยละ -2.1 ต่อปี ขณะที่ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ต่อปี
เครื่องชี้ภาคการคลัง
(พันล้านบาท) FY2557 FY2557 FY2558
Q1/
FY57 Q2/
FY57 Q3/
FY57 Q4/
FY57 กรอบวงเงิน
งบประมาณ Q1/
FY58 ม.ด. ก.พ. YTD
รายได้สุทธิของรัฐบาล
(หลังหักการจัดสรรให้ อปท.) 2,073.9 503.5 437.2 608.5 525.5 2,325.0 507.3 158.9 149.8 816.1
(%y-o-y) -4.1 -1.0 -6.9 -5.2 -3.0 2.2 0.8 1.8 0.5 0.9
รายจ่ายรัฐบาลรวม 2,460.0 831.1 553.0 514.7 561.2 2,575.0 844.1 215.7 150.4 1,210.3
(%y-o-y) 2.4 5.7 -5.6 6.8 2.2 2.0 1.6 1.2 -13.7 -0.7
ดุลเงินงบประมาณ -390.0 -334.7 -115.9 105.5 -44.9 -250.0 -346.8 -57.5 -8.5 -412.8
4. การส่งออกสินค้าในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 การส่งออกสินค้าของไทยในรูปดอลลาร์สหรัฐมีมูลค่า 17.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ -6.1 ต่อปี โดยการส่งออกที่ยังคงหดตัวต่อเนื่องมีปัจจัยหลักมาจากการส่งออกสินค้าในหมวดสินค้าเกษตร แร่และเชื้อเพลิง ยานยนต์ และอุตสาหกรรมเกษตร หดตัวร้อยละ -17.5-24.7 -1.7 และ -3.9 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ยังมีสินค้าส่งออกที่ยังขยายตัวได้ดี ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ที่ขยายตัวร้อยละ 0.4 และ 0.4 ต่อปี เป็นสำคัญ สำหรับตลาดส่งออกหลักที่หดตัวในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ได้แก่ ประเทศจีน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และอาเซียน-5 ที่หดตัวร้อยละ -15.1 -11.7 -4.7 และ -16.4 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐมีมูลค่า 16.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 1.5 ต่อปี ทั้งนี้ มูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐที่มีมูลค่าสูงกว่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ดุลการค้าระหว่างประเทศในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 เกินดุล 0.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ประเทศคู่ค้าหลัก
(สัดส่วนการส่งออกปี 56>>ปี 57) 2556 2557 2557 2558
Q1 Q2 Q3 Q4 ม.ค. ก.พ. YTD
ส่งออกไปทั้งโลก (%yoy) -0.3 -0.4 -1.4 0.0 -1.8 1.6 -3.5 -6.1 -4.8
%qoq_SA / %mom_SA -1.0 -0.8 -0.4 3.8 -5.5 -1.9 -
1.จีน (11.9%>>>11.0%) 1.4 -7.9 -4.5 -4.2 -6.3 -15.3 -19.7 -15.1 -17.4
2.สหรัฐฯ (10.0%>>>10.5%) 0.8 4.1 0.6 4.9 3.4 7.2 6.0 5.1 5.5
3.ญี่ปุ่น (9.7%>>>9.6%) -5.2 -1.9 0.7 -6.4 -1.0 -0.6 -7.5 -11.7 -9.6
4.สหภาพยุโรป (8.8%>>>9.2%) 2.7 4.7 4.8 10.9 2.0 1.7 -5.0 -4.7 -4.9
5.มาเลเซีย (5.7%>>>5.6%) 4.7 -1.9 -0.1 -1.4 -5.0 -1.0 -12.5 -19.3 -16.0
6.ฮ่องกง (5.8%>>>5.5%) 0.7 -4.4 -1.8 1.7 -13.5 -1.8 8.3 -1.2 3.1
PS.อาเซียน-9 (26.0%>>>26.1%) 5.0 0.2 -5.4 -0.1 1.1 5.2 -0.7 -8.3 -4.5
PS.อาเซียน-5 (17.6%>>>17.0%) 2.0 -3.9 -11.0 -4.1 -4.2 4.3 -4.8 -16.4 -10.7
PS.อินโดจีน-4 (8.3%>>>9.1%) 11.8 9.0 7.0 8.8 13.6 6.8 6.8 7.0 6.9
5. เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทานพบว่า ภาคการท่องเที่ยวต่างชาติที่สามารถขยายตัวในระดับสูง เป็นแรงสำคัญในการสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยที่ประกาศอย่างเป็นทางการในเดือนมกราคม 2558 มีจำนวนทั้งสิ้น 2.65 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 16.3 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวได้ร้อยละ 0.2 ต่อเดือน โดยนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีมาจากกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอาเซียน เป็นหลัก ซึ่งขยายตัวร้อยละ 39.5 และ 49.3 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่กลุ่มยุโรปและโอเชียเนียหดตัวร้อยละ -14.3 และ -6.4 ต่อปี อย่างไรก็ดี ข้อมูลเบื้องต้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 พบว่ามีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 2.69 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 29.6 ต่อปี และในช่วง 13 วันแรกของเดือนมีนาคม 2558 มีจำนวน 1.10 ล้านคน ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 27.6 ต่อปี สะท้อนการเติบโตที่แข็งแกร่งของภาคการท่องเที่ยวต่างประเทศ สำหรับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 กลับมาขยายตัวเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 22 เดือน ที่ร้อยละ 3.5 ต่อปี อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 อยู่ที่ระดับ 88.9 และถือเป็นการปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 จากความกังวลต่อสภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจในประเทศการชะลอการใช้จ่าย และคำสั่งซื้อภายในประเทศที่อ่อนแอโดยเฉพาะกำลังซื้อในภาคเกษตรจากราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง นอกจากนี้ ภาคเกษตรกรรมสะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 กลับมาหดตัวที่ร้อยละ -3.8 ต่อปี ตามการหดตัวของผลผลิตข้าวเปลือก ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นสำคัญ แต่ผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องจากการขยายตัวของผลผลิตสุกร ไก่เนื้อและไข่ไก่ เป็นสำคัญ
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทาน 2556 2557 2557 2558
Q1 Q2 Q3 Q4 ม.ค. ก.พ. YTD
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรม (%yoy) -2.2 0.5 1.1 6.6 2.3 -4.5 1.0 -3.8 -1.4
%qoq_SA / %mom_SA 5.3 -7.6 -0.2 -1.8 5.9 -1.3 -
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) -3.3 -4.6 -7.0 -4.8 -3.9 -2.4 -0.8 3.6* 1.4
%qoq_SA / %mom_SA -3.3 -2.5 -3.6 2.7 -1.7 3.2* -
นักท่องเที่ยวต่างชาติ (%yoy) 18.8 -6.7 -9.0 -15.9 -10.1 7.0 16.3 29.6* 22.6*
%qoq_SA / %mom_SA -11.1 -2.1 7.6 13.9 0.2 3.5* -
*ข้อมูลเบื้องต้น
6. ด้านเสถียรภาพในประเทศยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี ขณะที่เสถียรภาพต่างประเทศอยู่ในระดับมั่นคง โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -0.5 ต่อปี จากการลดลงของราคาสินค้าน้ำมันเชื้อเพลิง แต่เมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่าขยายตัวร้อยละ 0.12 ต่อเดือน จากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ราคาค่าโดยสารรถร่วมประจำทาง และราคาอาหารสำเร็จรูป เป็นปัจจัยหลัก ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ต่อปี สำหรับอัตราการว่างงานในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 อยู่ที่ร้อยละ 0.8 ของกำลังแรงงานรวม หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 3.16 แสนคน ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ล่าสุด ณ สิ้นเดือนมกราคม 2558 อยู่ที่ร้อยละ 46.5 ต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60.0 สำหรับเสถียรภาพภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับมั่นคงและสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ ซึ่งสะท้อนได้จากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ที่ยังคงอยู่ในระดับสูงที่ 156.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นประมาณ 2.7 เท่า
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ 2556 2557 2557 2558
Q1 Q2 Q3 Q4 ม.ค. ก.พ. YTD
ภายในประเทศ
เงินเฟ้อทั่วไป (%yoy) 2.2 1.9 2.0 2.5 2.0 1.1 -0.4 -0.5 -0.5
เงินเฟ้อพื้นฐาน (%yoy) 1.0 1.6 1.2 1.7 1.8 1.7 1.6 1.5 1.6
อัตราการว่างงาน (yoy%) 0.7 0.8 0.9 1.0 0.8 0.6 1.1 0.8 0.9
หนี้สาธารณะ/GDP 45.7 45.8 46.5 47.1 47.2 46.3 46.5 n.a. 46.5
ภายนอกประเทศ
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้าน $) -2.5 14.2 5.5 -0.6 -0.5 9.8 2.5 n.a. 2.5
ทุนสำรองทางการ (พันล้าน $) 167.2 157.1 167.9 168.9 161.6 157.1 155.4 156.9 156.9
ฐานะสุทธิ Forward (พันล้าน $) 23.0 23.1 23.2 23.7 24.7 23.1 22.8 20.8 20.8
ที่มา : กระทรวงการคลัง
ผู้นำเสนอ : กลุ่มสารนิเทศการคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง